Black Hat Asia 2023

10 อันดับ Supercomputers ที่แรงที่สุดในโลกประจำปี 2018

สัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์ Top500 ได้มีการประกาศผล Supercomputers ที่แรงที่สุดในโลกประจำปี 2018 บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 อันดับแรกมาแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักกันครับ

อันดับ 10: Cori

Cori โดย Cray เป็น Supercomputer ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ตั้งอยู่ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Lawrence Berkeley ใช้ Intel Xeon Phi Processors มากถึง 9,152 หน่วย รวม 622,336 Cores สามารถประมวลผลได้เร็วถึง 14.01 Petaflops และสูงสุดถึง 27.88 Peteflops โดย Cori เริ่มเข้ามาติดอันดับ Top500 ในเดือนพฤษจิกายน 2016 ซึ่งขณะนั้นได้อันดับที่ 5

อันดับที่ 9: Trinity

Trinity อยู่ภายใต้การดูแลของห้องปฏิบัติการวิจัยแห่งชาติ Los Alamos ใน New Mexico สหรัฐอเมริกา เริ่มเข้าสู่ Top500 ในอันดับที่ 6 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2015 ด้วย Intel Xeon E5 16-Core Processors มากถึง 18,816 หน่วย จากนั้นได้หลุดจาก 10 อันดับแรกไป จนเมื่อกลางปี 2017 ที่ผ่านมาได้ทำการอัปเกรดหน่วยประมวล Intel Xeon Pho 68-Core Processors เพิ่มอีก 9,984 หน่วย จึงกลับเข้ามายังอันดับที่ 9 ในปีนี้ โดยรวมแล้วมีจำนวนคอร์ 979,968 Cores และประมวลผลได้เร็วถึง 14.14 Petaflops

อันดับที่ 8: Sequoia

Sequoia เป็น Supercomputer ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลกเมื่อปี 2012 ถูกพัฒนาโดย IBM และอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ Sequoia ใช้ IBM 16-core Power BQC Processors จำนวน 98,304 หน่วย รวมทั้งสิ้น 1,572,864 Cores พร้อมกับ RAM ขนาด 1 GB สำหรับแต่ละคอร์ โดยรวมแล้วสามารถรประมวลผลได้เร็ว 17.17 Petaflops

อันดับที่ 7: Titan

Titan เป็น Supercomputer ประจำสถาบันวิจัยแห่งชาติ Oak Ridge ภายใต้กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ เป็นอดีตแชมป์ที่เคยเขี่ย Sequoia ตกบัลลังก์ในปี 2012 ถูกสร้างขึ้นโดย Cray และใช้ Advanced Micro Devices 16-core Opteron จำนวน 6,274 หน่วยพร้อมด้วย Nvidia Telsa Accelerators มีจำนวนคอร์รวมทั้งสิ้น 560,640 Cores และมีขุมพลังการประมวลผลที่ 17.59 Petaflops

อันดับที่ 6: Piz Daint

Piz Daint เป็น Supercomputer ที่ใช้ชื่อเรียกตามเทือกเขาอัลไพน์ อยู่ภายใต้การดูแลของ Swiss National Supercomputing Center ถูกสร้างขึ้นโดย Cray และได้มีการอัปเกรดหลายครั้ง ส่งผลให้ Piz Daint วนเวียนอยู่ใน 10 อันดับแรกเรื่อยมา ปัจจุบันนี้ใช้ Intel Xeon E5-2690v3 ซึ่งมี 12 Cores ต่อ CPU ร่วมกับ Nvidia Tesla P100 Accelerators รวมทั้งสิ้น 361,760 Cores ซึ่งใช้กำลังประมวลผลสูงถึง 19.59 Petaflops

อันดับที่ 5: AI Bridging Cloud Infrastructure (ABCI)

ABCI เป็น Supercomputer ของสถาบันแห่งชาติ Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาติดอันดับ Top500 เป็นครั้งแรกในปีนี้ ถูกพัฒนาโดย Fujitsu โดยใช้ Primergy CX2550 Server ร่วมกับ Intel Xeon Gold Processors และ Nvidia Tesla V100 Accelerators สามารถประมวลผลได้เร็วถึง 19.88 Petaflops และเป็น Supercomputer ที่ประหยัดพลังงานมากที่สุดในปีนี้ โดยบริโภคพลังงานที่ 12.05 Gigaflops/watt

อันดับที่ 4: Tianhe-2 (MilkyWay-2)

Tianhe-2 (MilkyWay-2) เป็น Supercomputer ของ National Supercomputing Center ในเมืองกวางโจว ประเทศจีน เคยเป็นแชมป์อันดับหนึ่งถึง 4 ปีซ้อน ตั้งแต่ 2013 – 2016 ก่อนที่จะถูกล้มด้วย Supercomputer สัญชาติจีนอีกระบบหนึ่ง Tianhe-2 ได้ทำการอัปเกรดใหญ่เมื่อปลายปี 2017 และเปลี่ยนชื่อเป็น Tianhe-2A ปัจจุบันใช้ Intel Xeon E5-2692v2 และ Matrix-2000 Processors มีจำนวนคอร์รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 5 ล้าน Cores และมีความเร็วในการประมวลผลสูงถึง 61.44 Petaflops

อันดับที่ 3: Sierra

Sierra เป็น Supercomputer ที่พัฒนาโดย IBM โดยตั้งอยู่คู่กับ Sequoia ในห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Oak Lawrence Livermore ภายในประกอบด้วย IBM Power9 Processors รวม 1,5722,480 Cores คู่กับ Nvidia Volta GV100 Accelerators อีก 1,382,400 Cores ให้กำลังประมวลผลที่ 71.61 Petaflops

อันดับที่ 2: Sunway Taihulight

หลังจากที่ครองบัลลังก์มาได้ 2 ปี ในที่สุด Sunway Taihulight ของจีนก็ตกมาเป็นอันดับที่ 2 Supercomputer ระบบนี้ถูกสร้างขึ้นที่ National Supercomputing Center ในเมืองวูซี เป็น Supercomputer ที่ไม่มีชิป Accelerator ปัจจุบันใช้ CPU Sunway 26010 จำนวน 40,960 หน่วย แต่ละหน่วยมี 260 Cores สามารถประมวลผลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 93.01 Petaflops

อันดับที่ 1: Summit

Supercomputer จาก IBM ถูกสร้างขึ้นที่ห้องปฎิบัติการแห่งชาติ Oak Ridge ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ Summit ใช้ Processors และ Accelerators เช่นเดียวกับ Siearra แต่มีจำนวนที่เยอะกว่า คือ 2,282,544 Power9 Cores และ 2,090,880 Nvidia Volta GV100 Cores ตามลำดับ ทำให้มีขุมพลังในการประมวลผลสูงถึง 122.3 Petaflops และมีกำลังสูงสุดถึง 187.66 Petaflops

ที่มาและเครดิตรูปภาพ: https://www.networkworld.com/article/3236875/servers/embargo-10-of-the-worlds-fastest-supercomputers.html


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

พลิกมุมคิดการจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ตฉบับวีเอ็มแวร์ [Guest Post]

แม้คลาวด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตไปสู่การสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจหรือกลยุทธ์การแข่งขันใหม่ ด้วยคุณลักษณะที่คล่องตัว (Agility) ในการปรับความต้องการใช้งานโดยอัตโนมัติ (Auto-Scaling) ได้ด้วยตัวเอง (Self-Services) ทว่าหลายองค์กรซึ่งเลือกปฏิวัติระบบธุรกิจขึ้นสู่คลาวด์กลับประสบปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ยิบย่อยบนคลาวด์ไม่ไหว แถมหัวจะปวดกับภัยคุกคามที่ยุ่งยากในการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

เสริมแกร่งความมั่นคงปลอดภัยในที่ทำงานด้วยบริการไอทีฉลาดล้ำกว่าเคย

บทความโดย คุณธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอินโดจีน เลอโนโว ด้วยรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดและยืดหยุ่นในองค์กรหลายแห่ง บริษัทหลายแห่งต่างกำลังพยายามตอบสนองต่อความคาดหวังและลำดับความสำคัญของพนักงาน ฝั่งทีมไอทีเองก็ต้องรักษามาตรฐานการให้บริการจากทางไกลในระดับสูงเพื่อสนับสนุนให้พนักงานยังคงสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง การทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น บริษัทจะต้องสร้างระบบไอทีที่แข็งแกร่งทนทานยิ่งขึ้นพร้อมกับคงไว้ซึ่งแนวทางใหม่ในการทำงาน  อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือ สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดในทุกวันนี้ทำให้การจัดการจากระยะไกลนั้นซับซ้อนยุ่งยาก ระบบการจัดการทรัพยากรรุ่นเก่ายิ่งทำให้ผู้ดูแลระบบไอทีจัดการงานและภัยคุกคามเชิงรุกได้ยากกว่าเดิม …