[Guest Post] ทำไงดี!? พื้นที่ฟรี Google Photos จะไม่ฟรีแล้ว!

วันพุธที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา Google Photos ประกาศว่าจะหยุดให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลฟรีไม่จำกัด สำหรับรูปภาพ High Resolution ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2021 เป็นต้นไป รูปภาพที่อัปโหลดหลังจากวันนั้นจะถูกนับรวมในพื้นที่ฟรี 15GB และหากบัญชีของคุณไม่มีการเข้าใช้งานหรือจัดเก็บเกินขีดจำกัด 15GB เป็นเวลา 2 ปี คุณอาจถูก Google ลบรูปภาพหลังจากส่งคำเตือน คำถามคือถ้าคุณใช้งานพื้นที่ฟรีจนเต็มแล้วหละ?

คราวนี้ถึงเวลาที่คุณต้องเลือกว่าจะยอมจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือน หรือมองหาตัวตายตัวแทนระยะยาวอื่นๆ

เมื่อได้ยินข่าวนโยบายใหม่นี้ ไม่ใช่เพียงแค่คุณคนเดียว แต่ผู้ใช้มากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกคงเริ่มสงสัยว่าควรจะวางแผนจัดเก็บรูปภาพอย่างไรดี ทั้งรูปภาพเดิมที่เก็บไว้และรูปภาพอื่น ๆ ในอนาคต เราได้รวบรวมตัวเลือกในตลาด พร้อมสิ่งที่คุณต้องคำนึงถึงไว้แล้ว เรามาดูกัน!

คลาวด์สาธารณะอื่น? พื้นที่เก็บฟรีไม่จำกัด ไม่มีในโลก

หากคุณไม่อยากเสียเงินและเริ่มคิดจะย้ายไปเก็บที่คลาวด์ฟรีเจ้าอื่น คุณอาจต้องคิดใหม่เพราะแม้ผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ tier-1 ส่วนใหญ่ อย่าง OneDrive, Amazon Drive, Dropbox หรือ iCloud จะให้บริการพื้นที่เก็บฟรี แต่ก็ไม่มีเจ้าไหนที่ให้ขนาดพื้นที่จัดเก็บมากกว่า 15GB ของ Google ซึ่งหมายความว่าสุดท้ายแล้วไม่ว่าคุณจะโยกย้ายไปที่คลาวด์สาธารณะเจ้าไหน เมื่อถึงจุดหนึ่งคุณก็จำเป็นต้องเสียเงินอัปเกรดพื้นที่นั้นอยู่ดี
ทั้งนี้สำหรับ Google Drive เอง ดูเหมือนว่าจะมีการแผนอัปเกรดให้เลือกหลายแผน แต่ถ้าคุณใช้งาน Laptop ที่ใช้ SSD เช่น Macbook หรือสมาร์ทโฟนที่รองรับการจัดเก็บ 256GB แล้วนั้นก็เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 120 เหรียญสหรัฐต่อปี (~3,700 บาท) เพื่อจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของคุณบนคลาวด์ เมื่อคำนวณค่าธรรมเนียมสะสมรายปีแล้วนั้นก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง

กลับไปใช้ External Hard Drive? แต่ก็เสี่ยงและยุ่งยาก

หากคุณไม่อยากง้อคลาวด์สาธารณะที่มีค่าใช้จ่ายสะสมแล้ว คงหนีไม่พ้นวิธีการเก็บข้อมูลรูปแบบเดิม ๆ อย่าง External Hard Drive แต่เพราะความไม่สะดวกสบายหลาย ๆ อย่าง ทั้งข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลพร้อม ๆ กันเหมือนระบบคลาวด์ ความยากให้การค้นหาไฟล์ข้อมูลเมื่อต้องการ ความเสี่ยงของข้อมูลสูญหาย ทั้งต้องกังวลเรื่องไวรัสและอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากผู้ใช้งาน แถมการโยกย้ายรูปภาพทั้งหมดที่เก็บไว้บนระบบคลาวด์สาธารณะไปยัง External Hard Drive หลายๆ ตัวนั้นก็มีความยุ่งยากอยู่ไม่น้อยทีเดียว

รูปภาพเยอะ? NAS อาจเป็นทางออกในระยะยาวของคุณ

เพราะทั้ง 2 ทางเลือกข้างต้นอาจยังไม่ตอบโจทย์ในการจัดเก็บรูปภาพของคุณในระยะยาว การเป็นเจ้าของคลาวด์ส่วนตัวโดยการใช้ Network-Attached Storage (NAS) ก็เป็นอีกหนึ่งทางออกที่น่าสนใจ สิ่งนี้คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเทราไบต์ (TB) ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านหรือสำนักงานที่มีความปลอดภัยสูง เพราะคุณมีสิทธิ์ความเป็นเจ้าของข้อมูลของคุณ 100 เปอร์เซ็นต์ แถมมาพร้อมคุณสมบัติการปกป้องและกู้คืนข้อมูลในตัว และยังครอบคลุมของการเข้าถึงข้อมูลของคุณไม่ต่างจากคลาวด์สาธารณะที่คุณใช้อยู่ มาดู 3 เหตุผลหลักที่คุณควรมี NAS ในครอบครอง!

ข้อมูลปลอดภัย ด้วยฟีเจอร์การปกป้องและกู้คืนข้อมูลที่ยืดหยุ่น

คุณเคยเผลอลบไฟล์โดยไม่ตั้งใจ ฮาร์ดแวร์อยู่ ๆ ก็ล้มเหลว หรือโดนไวรัสโจมตีหรือไม่ หากคุณไม่อยากเสี่ยงให้รูปภาพที่เก็บไว้รั่วไหลเหมือนข่าวคนดัง หรือเป็นผู้โชคร้ายโดนแฮคข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะเหมือนข่าวครึกโครมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริการคลาวด์สาธารณะที่ปลอดภัยสูงนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด การหันมาใช้โซลูชันใหม่อย่าง NAS นั้นคือคำตอบของคุณ เพราะผู้ให้บริการ NAS หลายเจ้า เช่น Synology มีแอปพลิเคชันสำรองและกู้คืนข้อมูลที่ครอบคลุมแถมมาด้วย ซึ่งช่วยให้คุณสามารถตั้งค่าการปกป้องรูปภาพและข้อมูลต่าง ๆ ของคุณได้ตามต้องการ หมดกังวลเรื่องรูปภาพสูญหายหรือเสียหายไปได้เลย

ไม่ต้องจ่ายแพง ลงทุนครั้งเดียวไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

คำนวณคร่าว ๆ ว่าหากคุณต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล 2TB คุณอาจต้องเสียค่าใช้จ่าย 120 เหรียญสหรัฐต่อปี (~ 3,700 บาท) สำหรับแผนพื้นที่บน Google Drive 2 TB เพื่อความคุ้มค่าและรักษาคุณภาพของรูปภาพทั้งหมดของคุณ แต่ถ้าหากคำนวณค่าใช้จ่ายสะสมทั้งหมด 5 ปีเพื่อคงสภาพพื้นที่จัดเก็บของคุณแล้ว คุณอาจต้องจ่ายถึง 600 เหรียญสหรัฐ (~18,100 บาท) ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลย

แต่หากคุณเปลี่ยนมาใช้งาน NAS คุณเพียงลงทุนเพียงค่าฮาร์ดแวร์เริ่มต้นเท่านั้น โดยราคาของอุปกรณ์ NAS แบบ 2 ช่อง พร้อมไดร์ฟความจุ 2 TB อีก 2 ตัวเพื่อการทำ RAID (การป้องกันข้อมูลสูญหายด้วยไดร์ฟ) รวม ๆ กันแล้ว ราคาเพียงไม่ถึง 450 เหรียญสหรัฐ (~ 13,000 บาท) ซึ่งถือว่าถูกกว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียให้กับคลาวด์สาธารณะในระยะยาวอยู่มาก ไม่นับรวมกับการรับประกันของอุปกรณ์ NAS ที่แถมมา 2 ถึง 5 ปี ทำให้ NAS เป็นฮีโร่ที่น่าจับตามองและเป็นการลุงทุนที่คุ้มค่า

มาพร้อมฟีเจอร์การจัดการภาพถ่ายที่ครอบคลุม

ไม่ต่างจากคลาวด์สาธารณะอย่าง Google Photos เพราะผู้จำหน่าย NAS บางรายมีให้บริการแอพมือถือและอุปกรณ์จัดการรูปภาพที่ไม่เพียงช่วยให้คุณจัดการรูปภาพต่าง ๆ แต่ยังสามารถแชร์และเข้าถึงรูปภาพที่เก็บไว้ได้จากทุกที่ พร้อมกัน ๆ หลายคน สามารถเรียกดูและอัปโหลดรูปภาพในชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ NAS ยังมีฟีเจอร์จดจำภาพและการวิเคราะห์เชิงลึกที่ช่วยจัดกลุ่มรูปภาพของคุณตามหมวดหมู่และหัวข้อที่คล้ายคลึงกันได้

สรุปง่าย ๆ ได้ว่า อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ยืดหยุ่นปรับขนาดได้และมีประสิทธิภาพสูงอย่าง NAS นั้น ตอบโจทย์โซลูชันการจัดการภาพถ่ายทั้งหมดของคุณในเครื่องเดียว คุณไม่ต้องกังวลใจว่าผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะเจ้าไหนจะเริ่มเรียกเก็บเงินค่าบริการเพิ่มเติม หรือจะต้องโยกย้ายรูปภาพหรือข้อมูลของคุณไปที่อื่น รวมถึงปัญหายิบย่อยเรื่องรูปภาพสูญหายกระจัดกระจายหลายช่องทาง หรือค่าธรรมเนียมในระยะยาวอีกต่อไป

นอกจากประโยชน์ทั้งหมดข้างต้นแล้ว ผู้จำหน่าย NAS อย่าง Synology ได้พัฒนาและออกแบบระบบปฏิบัติการให้คุณสามารถใช้งานง่าย เช่นเดียวกับการใช้งานพีซีของคุณ ดังนั้นถึงเวลาบอกลากลลวงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลฟรี และสร้างที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ส่วนตัวของคุณเองด้วย NAS

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

F5 ประกาศเปิดตัว NGINX One รวมศูนย์การจัดการทุกความสามารถ

NGINX One เป็นการบูรณาการความสามารถ Load Balancing, API Gateway, Security และ ความสามารถด้านเว็ปแอปพลิเคชันเข้าด้วยกัน พูดง่ายๆคือตอนนี้ผู้ใช้สามารถจัดการ NGINX และ NGINX Open Source ในหน้าต่างเดียวกันได้แล้ว

Microsoft ประกาศพร้อมใช้งาน Windows App

Windows App เป็นแอปพลิเคชันที่จะช่วยให้สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันต่างๆของ Microsoft ได้ ซึ่งเป็นการรวมศูนย์การเข้าถึงให้ง่ายต่อการใช้และการจัดการ โดยมีแผนไปถึงการทดแทน Remote Desktop Client ด้วยที่แอดมินต้องเตรียมตัว