Spotify จับมือ Google Cloud Platform ให้บริการ Stream เพลงจาก Cloud ของ Google

ก่อนหน้านี้ Spotify บริการ Music Streaming ชื่อดังได้ทำการบริหารจัดการ Hardware และ Cloud จากผู้ให้บริการค่ายต่างๆ ด้วยตัวเอง รวมถึง Amazon AWS ด้วย แต่วันนี้ Spotify ได้ออกมาสประกาศถึงการจับมือกับ Google Cloud Platform เพื่อย้ายบริการของ Spotify ทั้งหมดที่เคยมีอยู่ทั่วโลกไปอยู่บน Cloud ของ Googlespotify_google_banner

หลังจากที่ Spotify เคยตัดสินใจทำทุกอย่างในส่วนของ Data Center ด้วยตัวเองทั้งหมดเพราะไม่เชื่อมั่นในคุณภาพของบริการ Cloud มาโดยตลอดนั้น วันนี้ Spotify เปลี่ยนการตัดสินใจนั้นเพราะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพของเหล่าผู้ให้บริการ Cloud และจากประสบการณ์การใช้งาน Google Cloud Platform นั้นก็ทำให้ Spotify ตัดสินใจเลือกใช้งาน Google เพราะความเหมาะสมในหลายๆ ประการ

สิ่งที่ Spotify ให้ความสำคัญมากบน Google Cloud Platform นั้นก็คือระบบ Data Platform และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้ Spotify ทำงานได้ง่ายขึ้นนั่นเอง โดยเฉพาะบริการทางด้าน Big Data เช่น https://cloud.google.com/products/#big-data ที่ช่วยให้การพัฒนาบริการต่อยอดในอนาคตนั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

สาเหตุที่ทางทีมงาน TechTalkThai หยิบยกข่าวนี้มานำเสนอนั้นมีด้วยกันสองประการ ประการแรกคือในต่างประเทศนั้น Google Cloud Platform เองก็ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง เลยคิดว่าควรจะอยู่ใน Radar ของเหล่านักพัฒนาชาวไทยด้วย ในขณะเดียวกันการตัดสินใจของ Spotify เองที่ถือว่าน่าจะคิดมาค่อนข้างดีแล้วเกี่ยวกับการย้ายขึ้นมาใช้ Cloud ล้วนๆ จากผู้ผลิตเพียงรายเดียวก็ถือเป็นก้าวที่ค่อนข้างสำคัญ สำหรับธุรกิจที่อิงกับ Internet มากระดับนี้เลยทีเดียว

ที่มา: http://techcrunch.com/2016/02/23/spotify-announces-google-cloud-platform-partnership/?ncid=rss , https://news.spotify.com/us/2016/02/23/announcing-spotify-infrastructures-googley-future/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

[Black Hat Asia 2023] ทำลายห่วงโซ่: มุมมองของคนวงในเกี่ยวกับช่องโหว่ของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์

ยินดีต้อนรับสู่มุมมองของคนวงในเกี่ยวกับช่องโหว่ของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์ หัวข้อนี้ถูกนำเสนอโดยนักวิจัยด้านความปลอดภัยชื่อ Yakir Kadkoda และ Ilay Goldman จาก Aqua Security ซึ่งมีประสบการณ์มากมายในงานด้าน Red Team พวกเขาให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับช่องโหว่ที่แฝงตัวอยู่ในช่วงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่เผยถึงความเสี่ยงที่องค์กรต้องเผชิญในการรักษาความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์

[Black Hat Asia 2023] สรุป Keynote วันที่ 1 เรื่อง “เตรียมตัวสำหรับการเดินทางอันยาวนานเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล”

ข้อมูลถือเป็นปัจจัยที่ 5 ของการผลิต และความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ก็ได้รับการจัดอันดับให้มีความสำคัญสูงสุดโดยรัฐบาลทั่วโลก ในประเทศจีน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยข้อมูล เช่น “กฎหมายความปลอดภัยของข้อมูล” และ “กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ได้รับการประกาศใช้และมีผลบังคับใช้ในปี 2565 …