Socket รับเงินทุน 40 ล้านดอลลาร์ เสริมแกร่งความปลอดภัยซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส

สตาร์ทอัพด้านความปลอดภัยในซัพพลายเชน Socket ระดมทุนได้ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเร่งภารกิจในการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สให้ทันสมัย รวมถึงขยายทีมทั้งในด้านวิศวกรรม ผลิตภัณฑ์ และการออกแบบ

Credit: Socket

Socket ก่อตั้งขึ้นในปี 2020 ให้บริการแพลตฟอร์มความปลอดภัยที่เน้นนักพัฒนาเป็นหลักและปกป้องโค้ดจาก dependency ที่เป็นอันตรายหรือมีช่องโหว่ โดยการตรวจสอบแพ็คเกจโอเพ่นซอร์สอย่างต่อเนื่องแบบเรียลไทม์เพื่อตรวจจับภัยคุกคาม เช่น malware, backdoors และ typo-squatting ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบ นอกจากนี้ยังใช้ฟีเจอร์ AI เช่น การวิเคราะห์ dependency เพื่อช่วยให้สามารถตรวจจับภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ แพลตฟอร์มรองรับภาษาโปรแกรม 6 ภาษา รวมถึง Java และ Ruby ซึ่งเพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาไม่นานนี้ รวมถึงการจัดการกรณีสำคัญ เช่น การบังคับใช้ไลเซนส์และการวิเคราะห์ความสามารถในการเข้าถึง ส่งผลให้ Socket เป็นตัวเลือกที่ครบครันกว่าเครื่องมือแบบดั้งเดิม

Socket มีลูกค้าองค์กรชื่อดังหลายราย เช่น Replit, Figma, Athropic, Vercel, Brave Software, SymphonyAI และ Metamask โดย Amjad Masad ซีอีโอของ Replit ยังชื่นชมวิธีป้องกันเชิงรุกของ Socket ด้วยว่าสามารถจับภัยคุกคามได้ก่อนที่จะเกิดความเสียหายกับองค์กร ส่งผลให้นักพัฒนาสามารถมุ่งเน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมได้

รอบการระดมทุน Series B มูลค่า 40 ล้านดอลลาร์นี้นำโดย Abstract Ventures ร่วมด้วย Elad Gil, Andreessen Horowitz และนักลงทุนอิสระอีกจำนวนหนึ่งซึ่งรวมถึง Bret Taylor ผู้ร่วมก่อตั้ง Sierra Technologies และประธาน OpenAI, Phil Venables จาก Google, Scott Johnston จาก Docker, Christina Cacioppo จาก Vanta, Ann Mather สมาชิกคณะกรรมการบริษัท Alphabet และ Tobias Lütke จาก Shopify

ที่มา: https://siliconangle.com/2024/10/22/socket-secures-40m-strengthen-open-source-software-security/

About นักเขียนฝึกหัดหมายเลขเก้า

Check Also

Veeam เตือนพบช่องโหว่ร้ายแรงใน Service Provider Console เสี่ยงถูกโจมตี

Veeam ออกอัปเดตความปลอดภัยแก้ไขช่องโหว่ร้ายแรงใน Service Provider Console ที่อาจถูกใช้โจมตีแบบ Remote Code Execution (RCE)

IBM Storage DS8000 คำตอบเดียวที่ใช่ เพื่อข้อมูลสำคัญขององค์กร

ภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน แม้ว่าองค์กรจะพยายามล้อมกรอบป้องกันด้วยมาตรการที่รัดกุมเพียงใด แต่ก็ไม่มีทางการันตีได้ว่าระบบจะมั่นคงปลอดภัย 100% นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราคงได้ยินคำว่า Cyber Resiliency ซึ่งต้องทำให้องค์กรกลับมาให้บริการได้เร็วที่สุด แน่นอนว่าคำว่า ‘เร็ว’ ไม่ได้ ‘ง่าย’ อย่างที่คิด แต่ต้องเริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบฮาร์ดแวร์ไปจนถึงการมีเครื่องมือช่วยเหลือที่ครอบคลุมทุกขั้นตอน โดย …