SCB จับมือ Databricks เชิงกลยุทธ์ ยกเครื่องแพลตฟอร์มข้อมูลให้รวมศูนย์ พร้อมหนุน AI เหนือไปอีกขั้น

จากงาน Databricks Data + AI World Tour 2024 Bangkok เมื่อวานนี้ ในเซสชันของ SCB บรรยายโดย ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking ได้มีการประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ระหว่าง SCB และ Databricks ในการพัฒนา “Unified Data Platform (UDP)” เพื่อยกเครื่องเรื่อง Data ภายในธนาคาร SCB 

Databricks คือผู้สร้างและผู้บุกเบิกแพลตฟอร์ม Data Lakehouse ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Data Intelligence Platform ที่มีความพร้อมสนับสนุนทั้งในส่วนการจัดการข้อมูล (Data Management) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ภายในแพลตฟอร์มเดียว 

โดย Databricks ได้จัดงาน Data + AI World Tour 2024 ซึ่งเมื่อวานนี้ก็ได้วนมาถึงกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ซึ่งบรรยากาศงานนั้นมีผู้เข้าร่วมงานเต็มแน่นทั้งงาน โดยมีทั้งเซสชันบรรยาย และบูธนิทรรศการเพื่อนำเสนอโซลูชันของ Databricks ร่วมกับพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ

โดยช่วงเริ่มต้นงาน คุณ Cecily Ng รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Databricks (ASEAN และ Greater China) ได้ขึ้นมากล่าวต้อนรับ พร้อมกับบอกเล่าถึงเทรนด์ที่ Databricks มองเห็น ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ Modernisation, AI/GenAI และ Operating Model หากแต่ทั้งหมดนั้นจะต้องเริ่มที่ “การมีข้อมูลที่ดี”

คุณ Cecily Ng รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Databricks (ASEAN และ Greater China)

“Databricks ได้ว่าเป็นแพลตฟอร์ม Data Lakehouse ชั้นนำที่ทั้ง Forrester Wave และ Gartner ได้จัดลำดับให้ Databricks อยู่ในฐานะผู้นำทั้งในส่วนของ Data และ AI” คุณ Cecily Ng รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Databricks (ASEAN และ Greater China) กล่าว “ไทยเป็นตลาดที่สำคัญ และเป็นหลักในภูมิภาคอาเซียนนี้ เราจะพยายามสร้างความแข็งแกร่ง ทำระบบนิเวศให้แข็งแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ” 

อีกหนึ่งสิ่งที่มีการประกาศภายในเซสชันการบรรยายเมื่อวานนี้ คือความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่าง SCB และ Databricks ที่จะเตรียมการยกเครื่องเรื่องข้อมูล (Data) ภายในเครื่องธนาคาร ให้สามารถบริหารจัดการได้ดีขึ้น และสามารถต่อยอด AI ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา 

ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking

“Data สะสมไปเรื่อย ๆ และจะมากขึ้นเรื่อย ๆ พอนานไปกลับมาดูถึงจะรู้ว่ามีข้อมูลนี้ด้วย ดังนั้น ถ้าไม่ได้บริหารจัดการเอาข้อมูลกลับมาใช้งานให้ดี ข้อมูลก็จะเยอะและหายาก” ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking กล่าว

โดยก่อนหน้านี้ SCB ได้เลือกใช้ Databricks มากสักพักใหญ่ ๆ แล้ว และได้มีการปรับใช้ในส่วนประมวลผลของ Databricks หากแต่ด้วยความร่วมมือที่เกิดขึ้นเพื่อสร้าง Unified Data Platform (UDP) ของธนาคารอันเป็นการใช้ประโยชน์ทั้งส่วน Storage และ Compute จะทำให้ธนาคารสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งยังสามารถบริหารจัดการเรื่องข้อมูล ที่ทำให้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผล ใช้ต่อยอดวิเคราะห์ข้อมูลได้เกือบ Real-Time เร็วกว่าที่ผ่านมา

“Databricks เป็นเหมือนระบบบริหารจัดการ เพื่อให้ AI นำไปใช้ต่อยอดอีกที” ดร.ชาลี กล่าวเสริม “ความคาดหวังในการสร้าง UDP คือเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ SCB ทั้งเรื่อง Speed ที่ข้อมูลไม่ต้อง Delay ราว 2-3 วัน ควรจะต้องสามารถทำงานได้แบบเกือบ Real-Time เรื่อง Cost ที่ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อีก ลด TCO ได้อีกราว 40-50% เรื่อง Security ที่จะควบคุมการเข้าถึงได้ดีมากขึ้น และเรื่อง Accessibility ที่จะทำให้ Gen AI มาเข้าถึงส่วนนี้ได้เลย”

ด้วยเป้าหมาย Digital 25 ของธนาคาร หรือการทำให้ธนาคารมีรายได้จากดิจิทัลเป็น 25% ภายในปี 2025 ที่จะดำเนินการผ่าน 6 แกนนั้น จะเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จำเป็นจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ดังนั้น การร่วมมือระหว่าง SCB กับ Databricks ในการสร้าง Unified Data Platform (UDP) ของธนาคาร จะยิ่งเสริมให้การจัดการข้อมูลของธนาคารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของธนาคารในอนาคต ก็จะยิ่งมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

About chatchai

Tech Writer แห่ง TechTalk Thai ที่สนใจในทุกนวัตกรรมและเทคโนโลยี

Check Also

ต่อยอดระบบ SAP เดิมสู่การใช้ SAP S/4HANA Cloud อย่างเต็มศักยภาพที่มาพร้อมกับ AI ด้วยโซลูชั่น RISE with SAP จาก NDBS Thailand

สำหรับธุรกิจองค์กรที่มีการใช้งาน SAP ECC 6.0 หรือ SAP S/4HANA มาอย่างยาวนานในอดีต อาจต้องเร่งขบคิดถึงแนวทางการอัปเกรดระบบ SAP สู่ S/4HANA Cloud รุ่นใหม่เพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์การใช้งานระบบ ERP …

[Video Webinar] เผยจุดบอด ลดความหัวร้อน ด้วย Deep Observability จาก Gigamon

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย “เผยจุดบอด ลดความหัวร้อน ด้วย Deep Observability” พร้อมเรียนรู้กลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติในการตรวจจับภัยไซเบอร์บน East-West Traffic บนระบบ Hybrid Cloud ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ