Red Hat ปล่อยอัพเดต Red Hat Enterprise Virtualization 3.6

red_hat_banner

Red Hat เปิดตัว Red Hat Enterprise Virtualization (RHEV) เวอร์ชัน 3.6 ปรับปรุงประสิทธิภาพ, ความปลอดภัยและรองรับการขยายระบบได้ดีขึ้น

Red Hat Enterprise Virtualization ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก KVM Hypervisor ในเวอร์ชัน 3.6 นี้มีการปรับปรุง User Interface ใหม่และเพิ่มเครื่องมือช่วยในการ Migrate Virtual Machine มาจาก VMware ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องพึ่ง Third-party อีกต่อไป และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อรองรับกับ Workload ขนาดใหญ่ เช่น SAP หรือ Oracle โดยมีประสิทธิภาพดีกว่า Virtualization เจ้าอื่นๆ ถึง 36% (ผลทดสอบจาก SPECvirt 2013)

ฟีเจอร์เด่นที่เพิ่มขึ้นมาใน RHEV 3.6 มีดังนี้

  • Hotplug memory support: รองรับการเพิ่มหน่วยความจำแบบ Dynamic ซึ่งสามารถเพิ่มหน่วยความจำให้ VM ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องปิด VM ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อแอพพลิเคชันที่ทำงานอยู่
  • PCI device assignment: รองรับการเชื่อมต่อ Physical Adaptor หรือ Physical Device ไปยัง VM โดยตรง ช่วยให้สามารถดึงความสามารถของการ์ด PCI ต่างๆ เช่น Graphic Card, Network Card ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้ความเร็วใกล้เคียง Bare-metal System
  • Hot Update Manager: ช่วยในการอัพเดต Patch ต่างๆได้ง่ายขึ้น รองรับการเชื่อมต่อกับ Red Hat Satellite ซึ่งเป็นระบบช่วยบริหารจัดการของ Red Hat ได้
  • Object Health Status: สามารถแสดงผลสถานะของ External System ได้ เช่น Storage, CPU, Server หรือ Hard-drive ว่าเกิดปัญหาจากจุดใด
  • Virtual machine-to-virtual machine (Virt-v2v) Integration: รองรับการ Migrate Virtual Machine จาก VMware ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับ vCenter ของ VMware และทำการ Migrate ได้ทันที

ที่มา : http://www.redhat.com/en/about/press-releases/red-hat-enterprise-virtualization-36-offers-improved-performance-scale-and-security-high-performance-linux-based-workloads

About เด็กฝึกงาน TechTalkThai หมายเลข 1

นักเขียนผู้มีความสนใจใน Enterprise IT ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีในไทย ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ที่ Cupertino, CA แต่ยังคงมุ่งมั่นในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีให้กับทุกคน

Check Also

เจาะลึกเครื่องมือการโจมตีแบบร้ายแรง Web DDoS “MegaMedusa” โดยกลุ่มก่อการร้ายทางโลกไซเบอร์ “RipperSec”

RipperSec เป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวจากมาเลเซียหรือที่ถูกจัดประเภทว่าเป็นแฮ็กเกอร์ประเภท Hacktivism ทั้งนี้มีแรงจูงใจมาจากความขัดแย้งระหว่างอิสลาเอลและชาติมุสลิม โดยคนร้ายมีการใช้เครื่องมือเพื่อทำ We DDoS ที่ชื่อว่า MegaMedusa โดยในบทความนี้ Radware จะชวนทุกท่านมาติดตามการดำเนินงานและกลยุทธ์ของเครื่องมือดังกล่าว โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้

Microsoft เปิดตัว Office LTSC 2024 สำหรับใช้ในองค์กร

Microsoft ประกาศเปิดตัว Microsoft Office LTSC 2024 ไม่มี Subscription สำหรับใช้งานในองค์กรเท่านั้น