สำหรับผู้ที่พลาดงานสัมมนาอัพเดททิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางฟินเทค ครั้งใหญ่จาก IDC Financial Insights ภายใต้ชื่อ IDC FinTech Innovation Summit 2018 โดยมี TCC Technology ร่วมเป็น Supporting Partner ซึ่งจัดขึ้นไปเมื่อเร็วๆ นี้ สามารถอ่านบทความสรุปงานสัมมนาฯ ที่จัดทำโดย OPEN-TEC.COM ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform)
Content Highlight :
Part 1: Regulator Perspective
นายบัญชา มนูญกุลชัย ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมเผย 6 เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนและสร้างความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินดังนี้:
ธุรกิจประกันภัยในยุคดิจิทัล
ดร.อายุศรี คำบันลือ ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายด้านความมั่นคงทางการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กล่าวถึงแนวทางของคปภ. และ 6 ประเด็นสำคัญที่บริษัทประกันภัยในยุคดิจิทัลจะต้องคำนึงถึง:
Part 2: Innovation in Practice
การสร้างนวัตกรรมในภาคปฏิบัติ: ปฏิบัติการการสร้างเทคโนโลยีเพื่ออนาคต
นายธนา โพธิกำจร Head of Digital Banking. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดประเด็นว่าด้วยเรื่องของการสร้างนวัตกรรม “ใน 5 ปีที่ผ่านมา ใคร ๆ ได้พูดถึงคำว่า ‘นวัตกรรม’ โดยเฉพาะในวงการธนาคาร เราจะเห็นว่า เราทำมาแทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งแล็บนวัตกรรม การจัดตั้งทีมนวัตกรรม การแต่งตั้งตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนวัตกรรม คือเราทำมาแทบทุกอย่างที่จะทำได้ เพราะฉะนั้นในวันนี้ ผมจะมาเล่าถึงทั้งความล้มเหลว และความสำเร็จของเรา”
การทำงานร่วมกับ FinTech
Sui-Jon Ho, Research Manager จาก IDC Financial Insights APAC เผยถึงสถิติในปัจจุบันที่ระบุว่า 27% ของการลงทุนในด้าน IT เป็นการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในขณะเดียวกัน เราเริ่มจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของบริษัททางการเงินที่เริ่มที่จะก้าวสู่การลงมือร่วมกันสร้างธุรกิจเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจจริงมากขึ้น จากเดิมที่ยังอยู่ในช่วงสำรวจถึงความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้น เราจึงเห็นได้ชัดว่าสัดส่วนการลงทุนทางด้าน IT เริ่มขยายไปถึงการลงทุนกับธุรกิจรูปแบบใหม่เพิ่มมากขึ้นเฉลี่ย 16% ในทุก ๆ ปี Sui-Jon Ho ยังเผยอีกว่าปัจจุบันมีธนาคารกว่า 61% ที่เริ่มจับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัท FinTech และ 90% ของธนาคารทั้งหมดล้วนมีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านนวัตกรรม และ 70% ของธนาคารทั้งหมดมีการแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าหน้าที่นวัตกรรม แต่การทำงานร่วมกับ FinTech ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยง และมีเพียง 1 ใน 35 เท่านั้นที่สามารถที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน
Part 3: Fintech Strategy
ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “Open Banking”
นายไมเคิล อะราเน็ตตา Associate Vice President, Head of Research & Consulting จาก IDC Financial Insights APAC กลับขึ้นมาบนเวทีอีกครั้งว่าด้วยเรื่องของ Open Banking ที่เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ซึ่งในภูมิภาคยุโรปได้มีการส่งเสริมระบบ “Open Banking Framework” อย่างแพร่หลาย ในประเทศไทยเอง ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการพัฒนา API เป็นอย่างมาก หัวข้อ Open Banking เริ่มเป็นที่กล่าวถึงในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของธุรกิจประกันภัย การจัดการการเงิน การจัดการกองทุน หรือแม้กระทั่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งนี่เป็นนิมิตรหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อวงการธุรกิจเหล่านี้ในอนาคต
3 ปัจจัยหลักเมื่อกล่าวถึง Open Banking
- การที่สถาบันทางการเงินสามารถทำความเข้าใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
- การแยกส่วนธุรกิจ
- การเชื่อมโยงธุรกิจกับบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้ – ในส่วนนี้คือส่วนที่นโยบายทางด้าน Open API จะมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก
ปิดท้ายงาน IDC FinTech Innovation Summit 2018 ด้วยกลไกแห่งความสำเร็จของสถาบันการเงินในประเทศไทย โดยนายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บมจ. หลักทรัพย์ บัวหลวง แสดงความคิดเห็นในมุมมองของบริษัทหลักทรัพย์ ที่เห็นบทบาทของ FinTech เพิ่มสูงขึ้น จากการพัฒนาเครื่องมือในการลงทุน การให้ความรู้ด้านการลงทุนตลอดจนระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า การพัฒนาทางเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการสร้างประโยชน์ให้วงการการให้บริการทางการเงินอย่างมาก ดังนั้นนโยบายด้านการส่งเสริม FinTech จึงนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถาบันการเงินและการธนาคาร
หมายเหตุ : อ่านข้อมูลฉบับสมบูรณ์ได้ที่
- http://www.open-tec.com/th/idc-fintech-innovation-summit-full-content-recap-1-th/
- http://www.open-tec.com/th/idc-fintech-innovation-summit-full-content-recap-2-th/
- http://www.open-tec.com/th/idc-fintech-innovation-summit-full-content-recap-3-th/
ที่มา: www.open-tec.com