อยากมี Data Center แบบ Facebook? OCP เปิด Marketplace ขาย Hardware ที่ออกแบบตาม OCP แล้ว

โครงการ Open Compute Project (OCP) ที่เหล่าบริษัท IT รายใหญ่อย่าง Facebook, Google, Microsoft, IBM และอื่นๆ ได้มาร่วมกันพัฒนา Open Source Hardware สำหรับ Data Center โดยนำการออกแบบเทคโนโลยีที่ใช้งานอยู่จริงของตนออกมาเปิด Open Source ให้ผู้ผลิตทั่วโลกนำไปผลิตและพัฒนาต่อยอดได้ ได้เปิด Marketplace ให้เราเข้าไปเลือกซื้อ Hardware ที่ออกแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการ OCP กันได้แล้ว

Credit: Wiwynn

 

ในหน้า OCP Marketplace ปัจจุบันนี้จะแบ่ง Hardware ออกเป็นหลายหมวดหมู่ด้วยกัน ได้แก่ Rack & Power, Network, Integrated Solution, Storage และ Server ส่วนบรรดาผู้ผลิตที่เริ่มนำ Hardware มาขายกันแล้วก็ได้แก่ Dell, Edgecore Networks, HPE, Penguin Computing, QCT และ Wiwynn ซึ่งแต่ละเครื่องนั้นก็จะมีระบุคร่าวๆ ว่าเหมาะกับการนำไปใช้ในงานประเภทใดเป็นพิเศษ และใช้การออกแบบตามแบบของผู้ผลิตรายใด

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดู Data Center Hardware ต่างๆ ที่ออกแบบตาม OCP และวางจำหน่ายอยู่ใน Marketplace ได้ที่ http://www.opencompute.org/products/ เลยครับ แต่เตือนเล็กน้อยว่าดูแล้วอาจเกิดกิเลสที่ระงับได้ยากนะครับ

 

ที่มา: http://www.datacenterknowledge.com/archives/2017/03/08/ocp-launches-open-source-data-center-hardware-marketplace/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

GIGABYTE ขยายพอร์ต Accelerated Computing ด้วยเซิร์ฟเวอร์ใหม่ที่ใช้ NVIDIA HGX B200 – ร่วมกับ NVIDIA GB200 NVL72 สำหรับการคำนวณระดับ Exascale [Guest Post]

GIGABYTE นำเสนอโซลูชันซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพิ่มเติมด้วยสถาปัตยกรรม NVIDIA Blackwell Giga Computing ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ GIGABYTE และผู้นำในอุตสาหกรรมเซิร์ฟเวอร์ Generative AI และเทคโนโลยีการระบายความร้อนขั้นสูง ประกาศเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ GIGABYTE ซีรีส์ …

Blaize สตาร์ทอัพชิป AI เข้าตลาดผ่านการควบรวม SPAC มูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์

Blaize Holdings สตาร์ทอัพพัฒนาชิปประมวลผล AI ประหยัดพลังงาน ประกาศว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq โดยดำเนินการในรูปแบบการควบรวม SPAC (Special-Purpose Acquisition Company) ซึ่งเป็นกระบวนการที่นักลงทุนสร้างบริษัทเฉพาะกิจและนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ จากนั้นจึงใช้บริษัทดังกล่าวควบรวมกับสตาร์ทอัพที่ยังไม่ได้เข้าตลาด ทำให้สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงตลาดทุนได้โดยไม่ต้องใช้วิธี …