Nvidia ประกาศขยายโซลูชัน ‘AI on 5G’ ให้พร้อมรับทั้ง x86 และ ARM

Nvidia ได้ประกาศว่าโซลูชันที่ผสมผสานระหว่าง 5G และ AI ของตนจะสามารถรองรับชิป ARM ได้ในอนาคตนอกจาก x86

credit : nvidia

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง Nvidia เพิ่งจะประกาศรุกตลาด 5G ด้วยการสร้างความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์หลายรายเช่น Fujitsu, Google Cloud, Mavenir, Radisys และอื่นๆ เพื่อพัฒนาโซลูชัน ‘AI on 5G’ โดยมีองค์ประกอบด้านล่างคือ EGX Platform, Aerial SDK  (เครื่องมือพัฒนาสำหรับด้าน Software-defined 5G vRAN) และส่วนประกอบเพื่อการพัฒนา AI อื่นๆ

ทั้งนี้แผนล่าสุดของ Nvidia คือการรองรับชิป ARM (กำลังอยู่ในขั้นตอนเข้าซื้อ https://www.techtalkthai.com/nvidia-to-acquire-arm-about-40-billions-from-softbank/) ด้วยสาเหตุว่าคุณสมบัติเรื่องการประหยัดพลังงาน และประสิทธิภาพที่เหมาะสมอยู่แล้ว ทั้งนี้ตามแผนของบริษัทในช่วงปีนี้จะอยู่ในส่วนของ ‘AI on 5G on a Server’ ที่ประกอบด้วย Nvidia A100 GPU, BlueField 2 DPU และชิปจาก ARM หรือ x86 ก็ได้ โดยทั้งหมดจะรันอยู่บนซอฟต์แวร์ Aerial A100 สำหรับ 5G Network พร้อมสนับสนุนด้วยไลบรารี AI เช่น CuDNN เป็นต้น

ในแผนขั้นถัดไปราวปี 2022 คือ ‘AI on 5G on a Card’ จะผสาน A100, BlueField 3 DPU และ ARM A-78 ไปอยู่บนการ์ดเดียวกันเพื่อสามารถเสียบเข้าออกได้ และสุดท้ายปี 2024 จะทำให้ GPU, DPU และ ARM อยู่บน Die เดียวกันให้ได้เรียกว่า ‘AI on 5G on a Chip โดย Nvidia เชื่อว่าการผนวก AI เข้าไปยัง 5G RAN (Radio Access Network) เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อให้แอปพลิเคชันที่ทำงานบน 5G ได้รับความสามารถการประมวลผลด้าน AI ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ที่มา : https://www.zdnet.com/article/nvidia-extends-5g-server-support-to-arm/


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน