หลายปีที่ผ่านมาเราได้เห็นรูปแบบการทำงานที่เกิดขึ้นนอกออฟฟิศร่วมกับการทำงานในออฟฟิศที่เรียกว่า Hybrid work หรือ Work Anywhere ที่เปิดกว้างในการทำงานมากขึ้น และการทำงานในลักษณะนี้ก็ดูเหมือนว่าจะคงอยู่คู่กับโลกแห่งการทำงานไปอีกยาวนาน
ย้อนกลับมาที่ฝ่ายไอทีขององค์กรต่างเผชิญความเสี่ยงจากอุปกรณ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะพยายามอย่างมากในการจัดหาช่องทางที่ปลอดภัยสำหรับการทำงานไม่ว่าจะเป็น Virtual Desktop Infrastructure(VDI), VPN หรือ ZTNA แต่ทั้งหมดคือการควบคุมส่วนหนึ่งเท่ากัน แต่ยังอุปกรณ์ที่เข้าใช้ยังคงมีความเสี่ยงต่อการโจมตีอยู่ดี
ด้วยเหตุนี้เองโซลูชัน Mobile Device Management(MDM) จึงเป็นอีกหนึ่งโซลูชันสำคัญที่จำเป็นต่อองค์กร และจะดีกว่าไหมถ้าหากคุณสามารถใช้โซลูชันเดียวเพื่อบริหารจัดการการใช้งานได้ตั้งแต่ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์เครือข่าย
ในบทความนี้เราขอพาทุกท่านไปรู้จักกับความสามารถ Mobile Device Management(MDM) ซึ่งเป็นฟีเจอร์ล่าสุดจากแพลตฟอร์มของ ninjaOne โซลูชัน Remote Monitoring and Management(RMM)
Mobile Device Management(MDM) คืออะไร
Mobile Device Management(MDM) ไม่ใช่โซลูชันใหม่สำหรับปี 2024 แต่ที่ผ่านมาแพลตฟอร์มเหล่านี้มักถูกแยกแพลตฟอร์มกับส่วนของ Endpoint ทั้งๆที่โดยปกติแล้วพนักงานหนึ่งคนมักมีการใช้งานทั้งจากคอมพิวเตอร์ของบริษัทร่วมกับอุปกรณ์มือถือหรือแท็บเล็ต โดยเฉพาะนโยบายการทำงานจากนอกออฟฟิศ
MDM คือซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยในการบริหารจัดการอุปกรณ์ Mobile ทั้งมือถือ แท็บแล็ต และแล็บท็อป โดยอาศัย Agent ในการติดตั้งเพื่อส่งข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ และจุดนั้นเองผู้ดูแลระบบสามารถสร้าง Policy เพื่อกำกับดูแลอุปกรณ์เพื่อมั่นใจได้ว่าการตั้งค่าของอุปกรณ์นั้นมั่นคงปลอดภัยเพียงพอ มีซอฟต์แวร์เวอร์ชันล่าสุด หรือสอดคล้องกับ compliance
ประโยชน์ของ MDM ต่อการทำงานระดับองค์กร
เมื่อพูดถึงนโยบายที่เปิดกว้างให้พนักงานนำอุปกรณ์ส่วนตัวเข้าถึงทรัพยากรขององค์กรหรือที่เรียกว่า Bring your own device (BYOD) แอดมินหลายท่านอาจต้องกุมขมับเพราะไม่รู้ว่าจะควบคุมเครื่องของผู้ใช้ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับได้อย่างไร บ้างก็ไม่เปิดฟังก์ชันด้านความมั่นคงปลอดภัย บ้างก็ขาดการอัปเดตแอปพลิเคชันหรือระบบปฏิบัติการมายาวนาน
MDM คือโอกาสสำคัญที่ทำให้นโยบายนี้เป็นไปได้ ซึ่ง MDM คืออีกหนึ่งเลเยอร์สำหรับการป้องกันบนตัวอุปกรณ์เคลื่อนที่และข้อมูลที่อยู่บนอุปกรณ์นั้น ทั้งนี้ผู้ดูแลขององค์กรสามารถมอนิเตอร์กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนอุปกรณ์และการตั้งค่าต่างๆได้จากศูนย์กลาง งานที่เคยยุ่งยากในการกำกับดูแลด้วยแรงงานก็สามารถทำได้อย่างอัตโนมัติเพียงแค่สร้าง Policy และประกาศบังคับใช้
ความเป็นมาตรฐานเหล่านี้ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างกรอบการทำงานพื้นฐานให้อุปกรณ์ที่มีความหลากหลายเหล่านั้นได้ ทั้งยังสามารถตอบโจทย์ระเบียบข้อบังคับที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมได้ เช่น HIPAA ที่มีข้อเรียกร้องด้านข้อมูลใน Healthcare หรือภาครัฐที่มีความเสี่ยงสูงทั้งจากข้อมูลรั่วไหล การใช้งานที่ละเมิดต่อ Policy ด้านข้อมูล
โดยทั่วไปแล้ว MDM มีหน้าที่หลักๆคือการดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัย แต่แน่นอนว่าโซลูชันไม่ได้จำกัดแค่เพียงในมุมมองนี้ เพราะยังช่วยในด้านการดูแลปัญหาทางเทคนิคได้ ดังนี้
- ช่วยแก้ปัญหาทางเทคนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบสนองปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
- ควบคุมการเข้าถึงระบบ IT ตามตัวตนของผู้ใช้ตาม Policy
- ควบคุมความมั่นคงปลอดภัยของอุปกรณ์และแอปพลิเคชันซึ่งอาจเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กร
- ป้องกันความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลไม่ให้ถูกทำลาย ขโมย หรือสูญเสีย
- ติดตามอุปกรณ์ป้องกันการถูกขโมย สูญหาย หรือออกนอกพื้นที่ที่กำหนด
- อัปเดตอุปกรณ์ให้ได้รับแพตช์ล่าสุดเสมอจึงมีฟังก์ชันใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่า
- ช่วยดูแลอุปกรณ์อย่างอัตโนมัติลดเวลาของคนที่ต้องใช้ในการดูแลอุปกรณ์
ความสามารถของ ninjaOne MDM
ninjaOne MDM มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจหลายด้านแต่สิ่งที่ทำให้พวกเขาแตกต่างกับโซลูชันอื่นในท้องตลาดอย่างเห็นได้ชัดเจนมีอยู่ 3 ข้อ
1.) รองรับครอบคลุมทุกอุปกรณ์ในองค์กร
พื้นฐานเดิมของแพลตฟอร์มของ ninjaOne คือโซลูชันที่สามารถบริหารจัดการอุปกรณ์ Endpoint เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โดยสามารถเข้าบริหารจัดการ Windows, macOS, Linux, Hyper-V, VMware, Server และอุปกรณ์เครือข่ายผ่านทาง SNMP รวมถึงเครื่องบนคลาวด์ได้
โดยโมดูลของ MDM ได้เข้ามาเติมเต็มแพลตฟอร์ม ninjaOne สามารถดูแลอุปกรณ์แทบทุกประเภทในองค์กรหนึ่งๆ ได้นั่นเอง นี่ถือเป็นเรื่องที่โดดเด่นเพราะนอกจากจะเพิ่มอำนาจการดูแลให้แอดมินได้แล้ว ยังไม่เพิ่มความซับซ้อนทางด้านเครื่องมือที่เป็นการเพิ่มภาระงานให้แอดมินด้วย
2.) ฟีเจอร์ครบครันแต่เข้าใจได้ทันที ที่มาพร้อมบริการดูแลฟรี
แม้ว่า ninjaOne จะมีประสิทธิภาพสูงพร้อมฟีเจอร์มากมายในด้านการบริหารจัดการอุปกรณ์ Mobile แต่โซลูชันกลับถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้ง่ายๆ คือเห็นเมนูแล้วพอจะเริ่มต้นเข้าใจได้ทันที อย่างไรก็ตามในกรณีที่องค์กรยังต้องคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน สิ่งที่พิเศษกว่าคือข้อเสนอในการเทรนผู้ใช้และการแก้ปัญหาแบบฟรีๆ ซึ่งโซลูชันส่วนใหญ่ในท้องตลาดมักแยกส่วนนี้เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่าย
3.) ครบเครื่องทุกฟังก์ชัน MDM
โซลูชัน ninjaOne MDM มีฟังก์ชันตามสเป็คของ MDM ครบทุกด้าน ดังนี้
- ติดตามพิกัดของอุปกรณ์ที่ลงทะเบียน ซึ่งช่วยให้ทราบเมื่อสูญหาย หรือส่งคำสั่งควบคุมบางอย่างเมื่ออุปกรณ์ออกนอกขอบเขตที่กำหนด เช่น การลบข้อมูล หรือบล็อกการเข้า เป็นต้น
- บริการจัดการแอปพลิเคชันด้วยการอนุมัติ ติดตั้ง และบล็อกการใช้งานได้
- สามารถกำหนดการเข้าถึงแอปพลิเคชันได้มากกว่าหนึ่งตัวโหมด Kiosk สำหรับบางธุรกิจที่มีกรอบการทำงานด้วยแอปพลิเคชันสำหรับหน้างาน
- การ deploy ใช้งานอุปกรณ์สามารถเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องตั้งค่ามากมายลดแรงงานในการติดตั้ง
- แอดมินขององค์กรสามารถสร้าง Policy ที่บังคับใช้กับอุปกรณ์จำนวนมากได้พร้อมกัน สร้างประสบการณ์การใช้งานให้ผู้ใช้ได้อย่างสอดคล้องกัน
- ลดความเสี่ยงจากการเกิดเหตุของข้อมูลรั่วไหล ด้วยความสามารถ เช่น สั่งลบข้อมูล รีเซ็ตรหัสผ่าน ตั้งค่าด้านความมั่นคงปลอดภัย
- ช่วยให้แอดมินสามารถควบคุมอุปกรณ์ได้แบบรีโมต พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยไม่ต้องพบหน้าด้วยการรีโมตหน้าจอ
- รองรับ Mobile device ได้ทั้ง Windows, AppleOS, iPadOS, iOS, android และ Linux
อันที่จริงแล้วแม้ MDM อาจจะมีอำนาจในการดูแลอุปกรณ์ได้แต่ความสามารถเหล่านั้นก็มีขอบเขตพอสมควรที่เดียว โดยข้อมูลที่ MDM มองเห็นประกอบด้วย เวอร์ชันของระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ ข้อมูลพื้นฐานของอุปกรณ์อย่างพื้นที่จัดเก็บ แบตเตอรี่ พิกัดอุปกรณ์ ข้อมูลเครือข่าย และ Log การใช้งานผู้ใช้ แต่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญเฉพาะผู้ใช้ได้เช่น ข้อความ อีเมล ไฟล์อีเมล รูปถ่าย บัญชีใช้งานอุปกรณ์และแอปพลิเคชัน ตลอดจนรายชื่อผู้ติดต่อและข้อมูลการเงินต่างๆ
“MDM ให้ประโยชน์แก่องค์กรและเจ้าของอุปกรณ์ร่วมกัน ด้วยการให้อำนาจในการควบคุมอุปกรณ์แก่องค์กร โดยไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้“
การันตีความเป็นหนึ่งโดยการจัดอันดับของ G2
การที่จะเลือกหาซอฟต์แวร์ใดๆเข้ามาใช้งานในองค์กร ช่องทางหนึ่งที่สามารถสะท้อนถึงคุณภาพของซอฟต์แวร์นั้นได้เป็นอย่างดีก็คือรีวิวการใช้งานที่โหวตโดยกลุ่มผู้ใช้งานจริง ซึ่ง ninjaOne คือซอฟต์แวร์ที่ได้รับการยกย่องจากผู้ใช้ในหลายหมวดของการใช้งาน
โดยเนื่องจาก ninjaOne มีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย ทำให้สามารถแข่งขันได้ในหลายๆมุมมอง แต่ไฮไลต์สำคัญคือจากผลการจัดอันดับของ G2 พบว่า ninjaOne ทำผลงานได้เป็นอย่างดีในหลายสาขา โดยในปี 2024 พวกเขารั้งกลุ่มผู้นำในความสามารถด้าน Remote Monitoring Management(RMM), Endpoint Management, Patch Management, IT Asset Management, Network Monitoring, Remote Support, PC Backup และ Unified Endpoint Management
ผลการจัดอับดับของปีล่าสุดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่กล่าวได้ว่าเป็นการรักษาตำแหน่งผู้นำไว้จากหลายปีก่อนหน้า นั่นแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือได้ว่า ninjaOne คือสุดยอดซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์การใช้งานจริง โดยมีลูกค้าแล้วกว่า 17,000 รายทั่วโลก
สนใจโซลูชัน MDM หรือโซลูชันอื่นจาก ninjaOne ติดต่อ Crayon ซึ่งเป็น distributor รายเดียวในประเทศไทย ได้ที่
Crayon (Thailand) Co., Ltd.
88 The Parq Building, 7th Floor Room No.07-133 (WeWork)
Ratchadaphisek Road, Klongtoey Sub-district,
Klongtoey District, Bangkok 10110
Email: contacts.th@crayon.com
Tel: +66 2 156 0303