NASA วางแผนใช้เลเซอร์ส่งอินเทอร์เน็ตความเร็ว 1 Gbps ไปบนอวกาศ

NASA วางแผนส่งข้อมูลระหว่างโลกและสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ด้วยความเร็ว 1 Gbps ให้ได้ภายในปี 2021 ด้วยการยิงลำแสงเลเซอร์ที่เกิดจากการ encode packet ข้อมูลไปบนอวกาศ

แนวคิดในการใช้เลเซอร์นี้มีต้นกำเนิดมาจาก mission Laser Communications Relay Demonstration (LCRD) ที่ใช้เลเซอร์เป็นตัวกลางในการส่งและรับข้อมูลได้เร็วกว่าระบบวิทยุที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน 10-100 เท่าตัว และมีอุปกรณ์ที่กะทัดรัดกว่า นาซ่าออกแถลงเมื่อวันพุธที่ผ่านมาถึงความเป็นไปได้ในการใช้ LCRD เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนอวกาศ

เพื่อติดตั้งระบบนี้ นาซ่าจะส่งอุปกรณ์ LCRD ขึ้นไปบนวงโคจรค้างฟ้า (geosynchronous orbit) เพื่อทำหน้าที่ในการใช้แสงเลเซอร์ส่งข้อมูลไปยังและรับข้อมูลจาก optical terminal 2 ชิ้นในการสื่อสารระหว่างตัวอุปกรณ์กับระบบบนภาคพื้นของโลกตามตำแหน่งตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งในช่วงทดลองสถานีภาคพื้นจะตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียและฮาวาย

ปัจจุบันระบบ LCRD ดังกล่าวนั้นยังคงอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ตามกำหนดการณ์ของนาซ่า ฮาร์ดแวร์ prototype จะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2019 และจะส่ง laser terminal ขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติได้ในปี 2021

หากโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ NASA จะมีระบบการสื่อสารระหว่างภาคพื้นและอวกาศที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์มากต่อปฏิบัติการณ์ทางอวกาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสำรวจในพื้นที่ที่ห่างไกลจากโลกมาก เช่นดาวอังคาร เป็นต้น

 

ที่มา: https://www.theregister.co.uk/2017/03/23/nasa_laser_internet/

Check Also

สิริซอฟต์ คว้ารางวัลระดับอาเซียน “Top Systems Integration Partner” ในงาน 2025 Elastic ASEAN Partner Awards [PR]

สิริซอฟต์ (Sirisoft) ผู้ให้คำปรึกษาและบริการโซลูชันเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศไทยที่เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Optimization) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) และการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล (Digital Transformation) ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านที่ปรึกษาไอทีที่ครบวงจรของไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน “Top Systems Integration Partner” ในงาน 2025 Elastic ASEAN Partner Awards

Goodfire ระดมทุน 50 ล้านดอลลาร์ ช่วยนักพัฒนาเข้าใจ AI มากขึ้น

Goodfire AI ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเข้าใจวิธีการทำงานของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ระดมทุนได้จำนวน 50 ล้านดอลลาร์ในรอบ Series A ที่นำโดย Menlo Ventures เพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยต่าง ๆ