Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

MFEC: พลิกโฉมการจัดการ Infrastructure ตอบโจทย์ Modernize Application ด้วย VMware Tanzu

แนวคิดการยกเครื่องแอปพลิเคชันเดิมสู่บริบทของการทำงานสมัยใหม่หรือที่เรียกว่า Modernization นั้นเริ่มกลายเป็นนโยบายหลักขององค์กร เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยี Container นั้นได้สนับสนุนให้แนวคิดนี้ทำได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้แอปพลิเคชันสามารถนำพลังจากเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ดูแลระบบไอทีขององค์กรกลับกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย ซึ่ง VMware Tanzu คือแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายของการทำ Modernization ประสบความสำเร็จได้ โดยที่ยังรักษาระบบการทำงานแบบเดิม แต่ให้ความยืดหยุ่นแก่ธุรกิจได้มากขึ้น

Application Modernization คืออะไร

หากพิจารณาถึงแอปพลิเคชันที่ล้าสมัยมักอ้างถึงสถาปัตยกรรมและวิธีการที่นำมาใช้ไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีหรือวิธีการสมัยใหม่ โดยในแนวทางของแอปพลิเคชันสิ่งที่เกิดขึ้นมาในอดีตก็คือเรื่องของ Monoliths ที่รวบทุกอย่างไว้ในไฟล์ปฏิบัติการเดียวทั้งบริการและฟีเจอร์ต่างๆ ด้วยเหตุนี้เองความไม่คล่องตัวทำให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทำได้ยากเพราะไร้อิสระต่อกัน อีกทั้งเมื่อธุรกิจต้องการขยายตัวแอปพลิเคชันที่ใช้โครงสร้างเหล่านี้ก็ไม่สามารถขยายตัวตามไปได้เนื่องด้วยข้อจำกัดที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาแต่แรก

ด้วยเหตุนี้เองการมาถึงของเทคโนโลยีใหม่ๆได้เปิดช่องทางให้การทำ Application Modernization กลายเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยอาศัยกลยุทธ์ในการปฏิบัติการมี 3 แนวทางคือ

1.) Lift & Shift – เป็นวิธีการที่แตะส่วนของโค้ดให้น้อยที่สุด เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนระบบ Infrastructure เช่น การย้ายจากเซิร์ฟเวอร์ On-premise ไปสู่ Public Cloud ซึ่งการทำเช่นนี้ยังไม่ช่วยให้แอปพลิเคชันก้าวข้ามขีดจำกัดแบบเดิม

2.) Replatform: Cloud Migration – เป็นวิธีการที่ไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อโค้ดเช่นกัน แต่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงโค้ดบ้างเล็กน้อย เช่น การย้ายหรือแก้ไขฐานข้อมูลหลังบ้านให้สามารถใช้ประโยชน์จากคลาวด์ให้ได้มากที่สุด

3.) Refactor: Monolith to microservices – เป็นวิธีการที่กระทบกับโค้ดของแอปพลิเคชัน โดยสำหรับแอปเก่าอาจต้องถูกรื้อเพิ่มวางรากฐานและเขียนขึ้นมาใหม่ด้วยสถาปัตยกรรมการทำงานใหม่ที่เรียกว่า microservices ซึ่งส่งนำไปสู่ประโยชน์มากมายที่จะได้กล่าวถึงในส่วนถัดไป อย่างไรก็ดีต้องระลึกไว้เสมอว่า แนวทางนี้อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะกับทุกแอปพลิเคชัน

Microservices หรือสถาปัตยกรรมในการออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์ มีประโยชน์ต่อการปรับตัวสู่โลก Cloud native โดยอาศัยเทคโนโลยีของ Cloud, Container และ Kubernetesที่สนับสนุนต่อการทำ microservices เพราะความคล่องตัวของเลเยอร์ที่เล็กลงกว่า VM แบบเดิม โดยทรัพยากรของระบบปฏิบัติการได้ถูกแบ่งให้แก่ Container ต่างๆ การสร้าง ลบ จึงเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดีเมื่อพูดถึงเรื่องการขยายตัวหรือกลุ่มของ Container จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยกำกับควบคุมการทำงานแบบรวมศูนย์ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือยอดนิยมก็คือ Kubernetes กลายเป็นบริการพื้นฐานบน Public Cloud ต่างๆไม่เพียงแค่การใช้งานภายในขององค์กร ด้วยเหตุนี้เองจึงนำไปสู่ความซับซ้อนลึกลงไป ทำให้ VMware Tanzu ก้าวเข้ามาช่วยให้องค์กรเอาชนะความท้าทายเหล่านี้

เริ่มต้น Kubernetes ได้อย่างง่ายผ่าน VMware vSphere

การทำ Modernization ได้นำองค์กรไปสู่ความท้าทายใหม่ เนื่องจากการเพิ่มเข้ามาของ Kubernetes ที่ผู้ดูแลระบบเดิมไม่คุ้นเคย อีกทั้งการทำงานยังไม่ได้จำกัดแค่การใช้ภายในองค์กร แต่ยังข้ามไปถึงบริการ Kubernetes บน Public Cloud เช่นกัน นั่นหมายถึงผู้ดูแลระบบขององค์กรต้องมีทักษะในเรื่องของการทำงานกับ Cloud และ Kubernetes ไปพร้อมๆกันด้วย แน่นอนว่าเป็นเรื่องไม่ง่ายเลยในตลาดไอที

ยิ่งไปกว่านั้นในบางองค์กร หน้าที่การดูแล Infrastructure อาจตกเป็นหน้าที่ของนักพัฒนาแทน ที่ต้องเข้ามาศึกษาเกี่ยวกับ Infrastructure ไปโดยปริยาย แทนที่จะโฟกัสกับงานพัฒนาโค้ดที่ตนถนัด กลายเป็นเรื่องที่ถ่วงให้การเข้าสู่ตลาดของธุรกิจช้าลง และด้วยสภาพแวดล้อมที่มากขึ้นนี้ยังทำให้การดูแลเรื่อง Compliance และ Security เป็นไปได้อย่างยากลำบากด้วย แต่เรื่องเหล่านี้จะหมดไปด้วย VMware Tanzu ซึ่งทำงานได้ผ่านเครื่องมือที่ท่านคุ้นเคยอย่าง vSphere

VMware Tanzu เป็นเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการ Container โดยภายใต้แพลตฟอร์มมีเครื่องมือสำหรับการปฏิบัติงานขององค์กรอย่างครบครันไม่ว่าจะเป็น ส่วน Runtime, Networking, Registry, Service Mesh ตลอดจนเครื่องมือการทำ Security และ Compliance ที่สำคัญยังสามารถจัดการ Kubernetes ใน Public Cloud ได้เช่น AWS EKS และอื่นๆ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า VMware Tanzu คือเครื่องมือที่ตอบโจทย์การจัดการ Container ได้อย่างครบวงจรและครอบคลุมในทุกสภาพแวดล้อม ที่มาพร้อมกับเครื่องมือช่วยเหลืออย่างครบครัน 

ในแง่ของการใช้งานไม่ว่าเครื่องมือจะดีสักเพียงใดแต่หากขัดแย้งกับความคุ้นชินของผู้ใช้แล้ว คงยากที่ผู้ปฏิบัติงานจะยอมรับโดยง่าย ซึ่ง VMware เองได้ผนวกเอา Tanzu ไว้ภายในการดูแลของแอดมินที่คุ้นเคยดีกับเครื่องมือ vSphere ที่ใช้กันมานาน

ข้อดี ประการแรก ผู้ดูแลระบบขององค์กรไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ ลดต้นทุนแรงงานคนที่ตลาดไอทีขาดแคลนมากอยู่แล้ว

ประการที่สอง นักพัฒนาสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่ผู้ดูแลมอบหมายมาให้ได้เอง ด้วยคำสั่งมาตรฐานเฉกเช่นเดียวกับ Kubernetes ปกติ สามารถทุ่มความสนใจไปกับการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ตนถนัด ในมุมกลับกันฝ่ายผู้ดูแลก็ยังสามารถช่วยเหลือ บังคับและควบคุมทรัพยากรขององค์กรได้เช่นเดิม

ประการที่สาม องค์กรสามารถดูแลทรัพยากร VM แบบเดิมและ Container ได้ด้วยเครื่องมือเดียวกัน ภารใต้การแชร์ทรัพยากรที่มี ไม่ต้องสร้างระบบใหม่เพื่อ Container โดยเฉพาะ อีกนัยหนึ่งองค์กรยังบังคับใช้ Policy และ Compliance ได้จากศูนย์กลาง

ประการสุดท้าย VMware เป็นส่วนหนึ่งของ Kubernetes Community ดังนั้นจึงมั่นใจได้เลยว่าความสามารถของซอฟต์แวร์จะมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆเติบโตไปพร้อมกันกับ Community เพียงแต่ว่าการเป็นลูกค้า VMware ท่านจะได้ความมั่นใจในโซลูชันระดับองค์กรที่ทั่วโลกให้การยอมรับ อีกทั้งยังมีพาร์ทเนอร์มากมายพร้อมให้บริการ หนึ่งในนั้นก็ต้องมีชื่อของ MFEC รวมอยู่ด้วยแน่นอน

ก้าวสู่ Kubernetes ผ่าน VMware Tanzu ในมือของผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์จาก MFEC

จากข้างต้นท่านคงทราบดีแล้วว่า microservices คือแนวทางที่องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่เมื่อย้อนกลับมาสู่ภาพความเป็นจริง คำถามแรกเมื่อองค์กรตัดสินใจสู่ก้าวแรกคือ แอปพลิเคชันใดที่ควรริเริ่มสู่ microservices ซึ่ง ณ จุดนี้ต้องมีการวางแผนจัดลำดับความสำคัญว่าแอปใดส่งผลต่อการให้บริการทางธุรกิจ และหากเปลี่ยนรูปแบบสู่ microservices จริงๆอาจมีการกระทบต่อการทำงานแน่อย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นองค์กรควรวางแผนอย่างรัดกุมว่าการเปลี่ยนนี้คุ้มค่ามากเพียงใด โดยทาง MFEC มีทีมงานและประสบการณ์มากมาย จากการเข้าไปให้บริการแก่องค์กรต่างๆมายาวนานในประเทศไทย จึงสามารถให้คำแนะนำได้ว่าจุดเริ่มต้นใดที่เหมาะสมกับท่าน

นอกจากนี้ความเชี่ยวชาญในโซลูชันก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง MFEC มีทีมงานที่ประสบการณ์กับ VMware การันตีได้จาก Certified ที่ได้รับ อนึ่งกุญแจสำคัญที่สุดคือ MFEC พร้อมที่จะดูแลลูกค้าด้วยความใส่ใจตั้งแต่การเข้าไปนำเสนอเพื่อให้ความรู้ เก็บข้อมูลมาออกแบบระบบให้ตรงความต้องการ และดำเนินงานตาม Best Practice โดยเมื่อระบบพร้อมใช้งานแล้ว ท่านยังมั่นใจได้กับบริการดูแลหลังการขายของ MFEC ที่พร้อมช่วยเหลือท่านเสมอทั้ง Remote และ On-site 

สนใจบริการของ VMware Tanzu หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆจาก VMware

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทีมงาน MFEC ได้ที่

บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) : email channel@mfec.co.th

อ้างอิง

  1. https://tanzu.vmware.com/what-is-application-modernization

2. https://www.vmware.com/products/vsphere/vsphere-with-tanzu.html

3. https://tanzu.vmware.com/kubernetes-operations

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

ผสาน Automation และ Intelligence เข้าไปยังความสามารถของงานด้านการผลิต โดย Infor

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้งานในธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และแต่ละอุตสาหกรรมก็มีความท้าทายเฉพาะตัวที่ต้องเผชิญหน้า ในอุตสาหกรรมการผลิตเองก็เช่นกันที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า Supply Chain และอื่นๆ 

Cisco ปิดดีลเข้าซื้อ Splunk มูลค่า 1 ล้านล้านบาท

หลังจากผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจนได้รับอนุมัติเรียบร้อย ล่าสุดทาง Cisco ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ Splunk ที่มูลค่า 28,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1 ล้านล้านบาทอย่างเป็นทางการแล้ว