สรุปงาน Microsoft Envision Summit : AI is a game changer

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมาทางทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนาใหญ่ประจำปี 2019 ของไมโครซอฟท์ภายใต้ชื่อ “Microsoft Envision Summit” ซึ่งงานครั้งนี้มาพร้อมธีม ‘AI is a game changer’ ที่มีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 2,000 คนเลยทีเดียว! โดยได้รับความสนใจจากทั้งจากองค์กรภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักพัฒนา เราจึงขอสรุปสาระสำคัญมาให้ทุกท่านได้ติดตามกันครับ

คุณธนวัตน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทไมโครซอฟท์(ประเทศไทย) จำกัด

AI is a game changer

คุณธนวัตน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทไมโครซอฟท์(ประเทศไทย) จำกัด ได้นำเสนอคอนเซปต์ “AI is a game changer” โดยมีใจความหลักๆ คือการที่ AI จะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจใน 4 ด้านสำคัญคือ

  • Engage 
  • Innovate
  • Work
  • Solve

การที่ AI จะเกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ก้าวแรกที่องค์กรจะต้องทำคือการได้มาซึ่ง Data ก้าวที่สองคือ AI ควรจะเข้าไปอยู่ในทุกแอปพลิเคชันซึ่งจะเข้ามาปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เช่น Chatbot ที่ช่วยลดงานและทำงานได้ไม่มีพักเป็นต้น และก้าวที่สาม AI จะช่วยให้องค์กรสามารถ Predict หรือคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ล่วงหน้าได้ และลำดับสุดท้ายคือสามารถช่วยแนะนำการตัดสินใจที่เหมาะสมได้ (Recommendation) โดยจากที่กล่าวมาข้างต้น AI จะเปลี่ยนวิธีการที่เราจะเข้าใจเข้าถึงลูกค้าได้ (Engagement)

นอกจากการผันตัวเป็น Data-driven Organization เพื่อรับข้อมูลสู่ AI แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถละเลยได้คือเรื่องพนักงานในองค์กร โดยผู้นำองค์กรจะต้องหาวิธีเพื่อ Empower วิธีการทำงานของคนเหล่านั้น (Work) และสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือเรื่องของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและทำงานร่วมกันซึ่งสำคัญอย่างยิ่งในยุคนี้ ด้วยเหตุนี้เองไมโครซอฟท์จึงส่ง Microsoft Teams เข้ามาตอบโจทย์ ซึ่งภายใน Teams จะมีระบบ AI ที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นจุดเชื่อมต่อให้เกิดการบูรณาการทางข้อมูลอีกด้วย

AI สามารถเข้าไปช่วยริเริ่มสิ่งใหม่ในองค์กร (Innovation) ซึ่งคุณธนวัฒน์ได้ยกตัวอย่างที่ไมโครซอฟท์ไปช่วยให้ลูกค้าสามารถดูแลพฤติกรรมของบุคคลากรในฟาร์มหมูเพื่อให้อยู่ในพื้นที่ของตัวเองไม่ให้เกิดการติดเชื้อข้ามระหว่างคนกับสัตว์ได้ ซึ่งสิ่งเบื้องหลังเหล่านี้ก็คือเทคโนโลยี AI ที่เข้าไปตรวจจับการทำงาน รวมถึงประมวลผลจากการข้อมูลอย่างไม่ลำเอียงนั่นเอง ทั้งนี้สิ่งที่ไมโครซอฟท์ไม่ได้ละเลยในการใช้งาน AI เสมอมาก็คือเรื่องของจริยธรรมและความรับผิดชอบ (Ethics) ซึ่งเป็นเรื่องที่บริษัทมีนโยบายชัดเจนและให้ความสำคัญควบคู่ไปการพัฒนานวัตกรรมด้าน AI

อย่างไรก็ดีสังคมทุกวันนี้มีปัญหามากมายที่รอการแก้ไขอยู่ แต่โชคดีที่หลายปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยี โดยคุณธนวัฒน์จึงนำเสนอการแก้ปัญหาทางสังคมต่างๆ ด้วย AI ใน 4 มุมมอง คือ AI for Accessibility, AI for Earth, AI for Humanitarian และ AI for Culture Heritage ที่เป็นการประยุกต์ใช้ AI เพื่อแก้ปัญหาในระดับสังคม ประเทศ มนุษยชาติ และนั่นคือภารกิจของไมโครซอฟท์ที่ยืดหยัดเคียงข้างประเทศไทยเพื่อคนไทย

Lesson Learned

ในช่วงเสวนานี้มีแขกรับเชิญพิเศษจากภาคธุรกิจต่างๆ ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากคือการเสวนาของ CEO จาก SCG, Giffarine, Annanda และ MFEC ที่เข้ามาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับผลกระทบของ Disruption และแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงฝากข้อคิดให้ผู้ประกอบการธุรกิจสมัยใหม่ไว้ดังนี้

  • SCG – บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านก่อสร้างแห่งนี้ได้มองหาธุรกิจใหม่ๆ อยู่เสมอซึ่งวันหนึ่งได้พบกับการเติบโตของบริษัท Startup ทางเทคโนโลยีเข้าซึ่งเติบโตมากกว่า 200% ต่อปี จนเมื่อศึกษาดีแล้วจึงปรับกลยุทธ์ภายในเพื่อรับกับการ Disrupt ทางเทคโนโลยี ด้วยการลงทุนใน Startup และการผลิต Internal Startup ของตนเองเพื่อหาไอเดียใหม่มาแก้ปัญหาทางธุรกิจ นอกจากนี้ยังได้นำเทคโนโลยีด้าน Analytics มาใช้อย่างจริงจังด้วย และสุดท้ายยังฝากถึงทุกท่านว่าการปรับตัวไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเกิดจากตัวองค์กรเองเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วคือเรื่องของการปรับ Mindset ให้พนักงานรับกับเทคโนโลยีต่างหาก
  • Giffarine – หนึ่งในแบรนด์เครื่องสำอางค์ไทยขายตรงที่เคยประสบภาวะการเติบโตคงที่ด้วยเหตุจากการ Disrupt ทางเทคโนโลยีเช่นกัน ซึ่งจากเดิมที่เคยขายตรงแบบบอกต่อกลายเป็นว่าต้องยกระดับนักขายของตัวเองสู่ช่องทางออนไลน์และยังต้องเผชิญกับปัญหา Mindset ของพนักงานและ CEO ท่านอื่นเช่นกัน แต่ก็ผ่านมาได้จนกระทั่งยอดขายกลับมาเติบโตสวนกระแสอย่างทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามยังชี้ว่าต่อไปนี้เทคโนโลยีจะไม่มีวันหยุดทุกองค์กรจึงต้องพร้อมเรียนรู้ตลอด รวมถึงเรายังอยู่ในยุคที่ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ดังนั้นต้องทำธุรกิจอย่างโปร่งใสน่าเชื่อถือ มีจริยธรรมธุรกิจจึงจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน 
  • Ananda – บริษัทด้านอสังหาชื่อดังมีการปรับตัวกับการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อใช้แก้ไข Pain points ให้แก่ลูกค้าได้อย่างตรงจุด โดยยกตัวอย่างว่าเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาปัจจัยเดิมๆอาจจะไม่ได้มีบทบาทมากอย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป ในอนาคตมูลค่าของอสังหาอาจไม่ได้แปรผันโลเคชันเพราะการเข้าถึงของเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น โดรนอาจจะมาแก้ไขปัญหาพื้นที่ที่เข้าถึงยาก โดยคนที่ซื้อบ้านอยู่เขาใหญ่อาจต้องการความสงบแต่กังวลเรื่องความปลอดภัยจะสามารถขออนุญาตโดรนบินลาดตระเวน ส่งของหรือสื่อสารได้ ทำให้มูลค่าอาจเกิดขึ้นจากคุณสมบัติอื่นๆก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามนโยบายที่บริษัททำมาตลอดคือไม่หยุดที่จะค้นหาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเสมอ โดยการริเริ่มลงทุนจากเล็กน้อยก่อนเพื่อให้ทราบความเป็นไปได้ ที่สำคัญคือต้องมี Roadmap ชัดเจนและเตรียมตัวให้พร้อม
  • MFEC – สำหรับคนไอทีคงเคยได้ยินชื่อบริษัท SI ยักษ์ใหญ่นี้แน่นอน แต่ขนาดผู้คร่ำหวอดในวงการเทคโนโลยียังยอมรับว่าปัจจุบันนี้แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะคาดการณ์เทรนด์ของเทคโนโลยีไปไกลๆ อย่างไรก็ดีแนะนำว่าหากมีเทคโนโลยีกำเนิดใหม่ให้รีบเข้าไปลอง แต่หากผิดพลาดก็ต้องลุกให้เร็วและเจ็บตัวน้อยที่สุด นอกจากนี้บริษัทต่างๆ ควรปรับเปลี่ยนพนักงานให้ออกจาก Comfort Zone สู่ Survivor mode ให้ได้ มิเช่นนั้นแม้จะมีเทคโนโลยีดีแค่ไหนก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ที่ https://aka.ms/ContactMSFTTH


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

NVIDIA มีมูลค่าบริษัทแตะ 1 ล้านล้านเหรียญแล้ว

NVIDIA มีมูลค่าบริษัทแตะ 1 ล้านล้านเหรียญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากการเติบโตของ AI

CDNetworks เปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมรุกตลาดประเทศไทยในฐานะผู้ให้บริการ Content Delivery Network (CDN) , Media Solution & Security ในงานสัมมนาที่ผ่านมา[Guest Post]

CDNetworks ผู้ให้บริการเครือข่าย Edge as a Service ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการและพร้อมให้บริการแพลตฟอร์มเต็มรูปในประเทศไทยทั้งด้าน CDN, Media Solution ครอบคลุมถึงบริการด้าน Cyber Security ในงาน …