Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

[PR] ช่องโหว่ Meltdown และ Spectre ในชิปอาจทำให้ข้อมูลในหน่วยความจำรั่วไหล ส่งผลกระทบต่อโปรเซสเซอร์ส่วนใหญ่บนทุกระบบปฏิบัติการ

16 มกราคม 2561 – ไซแมนเทคเปิดเผยรายงานการตรวจพบดังต่อไปนี้สำหรับการพยายามใช้ช่องโหว่เพื่อเจาะข้อมูลบนฮาร์ดแวร์ของซีพียู (CVE-2017-5753/Spectre):

ช่องโหว่ที่เพิ่งค้นพบส่งผลกระทบต่อโปรเซสเซอร์ และอาจเปิดโอกาสให้ผู้โจมตีเข้าถึงหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต  ช่องโหว่ดังกล่าวซึ่งมีชื่อว่า Meltdown และ Spectre ส่งผลกระทบต่อโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่เกือบทั้งหมด และสามารถแก้ไขได้ด้วยการติดตั้งแพตช์ของระบบปฏิบัติการเท่านั้น

1 ในบรรดาช่องโหว่ทั้งสองนี้ Meltdown นับเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุด เพราะใช้งานง่าย และส่งผลกระทบต่อคอมพิวเตอร์ทุกประเภท รวมถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเวอร์ช่วลแมชชีน (Virtual Machine) ในระบบคลาวด์  แต่เท่าที่ไซแมนเทครับรู้ ช่องโหว่ทั้งสองยังไม่ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย

ช่องโหว่เหล่านี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะอาจเปิดโอกาสให้คนร้ายเข้าถึงข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน  อย่างไรก็ตาม ในการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ที่มีช่องโหว่ คนร้ายจะต้องเข้าถึงคอมพิวเตอร์เป้าหมายผ่านขั้นตอนเบื้องต้น นั่นคือ จะต้องรันโปรแกรมอันตรายบนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น โดยใช้คำสั่ง JavaScript ที่เรียกใช้โปรแกรมดังกล่าวเพื่อให้รันเป็นโค้ดแบบเนทีฟ หรือรัน JavaScript เพื่อเชื่อมโยงเคอร์เนล  ผลิตภัณฑ์ของไซแมนเทคสามารถสกัดกั้นกิจกรรมอันตรายทั้งหมดนี้  อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ผู้ใช้ติดตั้งแพตช์ของระบบปฏิบัติการโดยเร็วที่สุด

ทั้ง Meltdown และ Spectre ใช้จุดบกพร่องในโปรเซสเซอร์เพื่อหลบเลี่ยงการแยกหน่วยความจำในระบบปฏิบัติการ  ทั้งนี้ระบบปฏิบัติการถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้โปรแกรมหนึ่งเข้าถึงหน่วยความจำที่กำลังถูกใช้งานโดยอีกโปรแกรมหนึ่ง  ถ้าหากการแยกหน่วยความจำไม่ทำงาน โปรแกรมอันตรายก็จะสามารถขโมยข้อมูลจากหน่วยความจำที่กำลังถูกใช้งานโดยโปรแกรมอื่นๆ

“ช่องโหว่ #Meltdown และ #Spectre อาจนำไปสู่การโจมตีที่อันตรายที่สุดต่อบริการ #คลาวด์ symc.ly/2E6O73U

คลิกเพื่อทวีต

Meltdown คืออะไร

Meltdown (CVE-2017-5754) ใช้ประโยชน์จากจุดบกพร่องในการทำงานแบบไม่เรียงลำดับ (out-of-order execution) ซึ่งเป็นฟีเจอร์ด้านประสิทธิภาพที่พบในโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่จำนวนมาก  กลุ่มนักวิจัยที่ค้นพบช่องโหว่นี้ยืนยันว่า Meltdown ส่งผลกระทบต่อโปรเซสเซอร์ทั้งหมดของ Intel ที่วางจำหน่ายตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา (ยกเว้นโปรเซสเซอร์ Intel Itanium และ Intel Atom รุ่นก่อนปี 2556)  อย่างไรก็ดี ยังไม่ชัดเจนว่าโปรเซสเซอร์ ARM และ AMD ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ดังกล่าวด้วยหรือไม่

หากใช้ช่องโหว่ดังกล่าวได้สำเร็จ ผู้โจมตีก็จะสามารถคัดลอกตำแหน่งพื้นที่เคอร์เนลทั้งหมด รวมถึงหน่วยความจำทางกายภาพที่ถูกแม็ปเข้าด้วยกัน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ในหน่วยความจำในขณะที่ทำการโจมตี

ทั้งนี้ สามารถใช้ Meltdown ได้ไม่ว่าคอมพิวเตอร์จะใช้ระบบปฏิบัติการอะไรก็ตาม โดยส่งผลกระทบทั้งต่อคอมพิวเตอร์ทั่วไปและคอมพิวเตอร์ที่โฮสต์บริการคลาวด์ ซึ่งนั่นหมายความว่าการโจมตีเซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่องอาจส่งผลกระทบต่อ Virtual Machine หลายเครื่องที่รันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าว

การโจมตีบริการคลาวด์น่าจะเป็นกรณีที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะ Meltdown สามารถใช้เจาะระบบ Virtual Machine เพื่อเข้าถึงหน่วยความจำจากเครื่องโฮสต์  ผู้โจมตีอาจซื้อพื้นที่บนบริการคลาวด์ที่มีช่องโหว่ และใช้เป็นฐานสำหรับโจมตีลูกค้ารายอื่นๆ บนโฮสต์เครื่องเดียวกัน

Spectre คืออะไร

Spectre (CVE-2017-5753 และ CVE-2017-5715) ให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน แต่ทำงานในลักษณะที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดยใช้ประโยชน์จากจุดบกพร่องในการออกแบบโปรเซสเซอร์ เพื่อล่อหลอกโปรแกรมให้ปล่อยข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในหน่วยความจำ

ทีมงานที่ค้นพบ Spectre ระบุว่า โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ทั้งหมดได้รับผลกระทบจากช่องโหว่นี้ รวมถึงโปรเซสเซอร์ของ Intel, AMD และ ARM ไม่ว่าจะทำงานกับระบบปฏิบัติการชนิดใดก็ตาม

การแก้ปัญหา

ขอแนะนำให้ผู้ใช้ติดตั้งแพตช์สำหรับระบบปฏิบัติการในทันที โดยมีการเผยแพร่แพตช์แล้วสำหรับ Microsoft WindowsApple macOS และ Linux เพื่อแก้ไขช่องโหว่ Meltdown  ส่วนช่องโหว่ Spectre นั้น มีรายงานว่าแก้ไขได้ยากกว่า แต่ก็โจมตีได้ยากกว่าเช่นกัน และกำลังมีการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับซอฟต์แวร์และป้องกันการโจมตี

ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการได้แจ้งเตือนว่า การติดตั้งแพตช์อาจส่งผลกระทบด้านประสิทธิภาพต่อคอมพิวเตอร์  ทั้งนี้ Microsoft ระบุว่าผลกระทบมีน้อยมากจนอาจไม่สังเกตเห็นบนอุปกรณ์ของผู้ใช้ทั่วไป แต่ผลกระทบที่เฉพาะเจาะจง “จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรุ่นของฮาร์ดแวร์ และการติดตั้งโดยผู้ผลิตชิป”  นักพัฒนาแพตช์ Linux ระบุว่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอาจลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็พบกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ด้วยเช่นกัน

###

About TechTalkThai PR 2

Check Also

Zyxel Networks เปิดตัว Access Point WiFi 7 BE11000 เสริมขุมพลังให้กับที่ทำงานสมัยใหม่ [PR]

Zyxel Networks ผู้นำด้านการให้บริการโซลูชันเครือข่ายผ่านระบบคลาวด์ที่มั่นคงและปลอดภัย พร้อมเปิดตัว  NWA130BE – BE11000 WiFi 7 Triple-Radio NebulaFlex Access Point พร้อมรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ WiFi …

ซิสโก้เผยโฉมนวัตกรรม AI พร้อมประกาศความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ ที่งาน Cisco Live Amsterdam [PR]

โซลูชั่นใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ครอบคลุมระบบเครือข่าย ระบบรักษาความปลอดภัย การทำงานร่วมกัน และการตรวจสอบ ตอกย้ำความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของซิสโก้ในการพัฒนานวัตกรรม AI