ที่ผ่านมาการทำ Smart Farming หรือเกษตรอัจฉริยะนั้นอาจเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย มีค่าใช้จ่ายที่สูง และมีความท้าทายเชิงเทคโนโลยีที่หลากหลาย
แต่วันนี้ภาพนั้นจะเปลี่ยนไป ด้วยการมาของ AIS iFarm ระบบ Platform สำหรับการทำ Smart Farming ด้วยราคาเริ่มต้นเพียงแค่หลักพันบาทต่อปี ก็พร้อมให้นำอุปกรณ์ IoT ภายในฟาร์มมาเชื่อมต่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อยอด และทำการเกษตรแบบอัตโนมัติได้แล้ว
ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ AIS iFarm พร้อมความสามารถและโอกาสต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรไทยจากเทคโนโลยีดังกล่าวนี้กันครับ
คลุกคลีจนเข้าใจถึงอุปสรรคของเกษตรกรไทย
ที่ผ่านมา AIS นั้นมีโครงการ Digital for Thai ที่ได้มีการนำเทคโนโลยีและความรู้เข้าไปเสริมให้กับอุตสาหกรรมภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรกรไทยเป็นอย่างมากมาโดยตลอด
ด้วยเหตุนี้ทาง AIS จึงได้มีการทำงานร่วมกับเกษตรกรและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับช่วยเหลือเกษตรกรในลักษณะของ Corporate Social Responsibility (CSR) มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการทำ Mobile Application อย่างร้านฟาร์มสุข สำหรับเป็นอีกช่องทางในการกระจายสินค้าเกษตร, วิสาหกิจชุมชน และ OTOP บนโลกออนไลน์ รวมถึงการแบ่งปันความรู้กันระหว่างเกษตรกรด้วยกัน
ทั้งนี้สำหรับ Application ร้านฟาร์มสุข ทาง AIS ได้ส่งต่อเทคโนโลยีให้หน่วยงานรัฐ นำไปพัฒนายกระดับเกษตรกรเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งความริเริ่มดังกล่าวนี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการช่วยแก้ไขปัญหาของเกษตรกรซึ่งยังมีปัญหาในส่วนอื่นๆ ที่ต้องจัดการอีกมากมาย ทำให้ AIS ยังคงเดินหน้าค้นหา พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ พร้อมกับหาพันธมิตรทำงานร่วมกันทั้งผู้นำเกษตรกร และเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตร เปิดให้เกษตรกรเข้าศึกษาดูงาน เช่นศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ สงขลา, ไพรวัลย์ฟาร์ม หาดใหญ่ และฟาร์มลุงรีย์ กรุงเทพ
การเข้าไปคลุกคลีทำงานร่วมกับเกษตรกรอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้ทีมงาน AIS ได้เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นหลากหลายมิติในอุตสาหกรรมดังกล่าว และพบว่าหนึ่งในปัญหาที่ยากและท้าทายที่สุดซึ่งเกษตรกรทุกรายต้องเผชิญนั้นก็คือการดูแลและการเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่ต้องมีการบริหารจัดการนานที่สุดและส่งผลต่อต้นทุนหรือรายได้ของเกษตรกรโดยตรง
ด้วยเหตุนี้เอง ทีมงาน AIS จึงมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและการทำงานของเกษตรกรไทยด้วยการนำเทคโนโลยีหลากหลายที่ AIS มีอยู่เข้าไปสนับสนุน จนเกิด AIS iFarm ขึ้นมานั่นเอง
AIS iFarm: ปรับการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมสู่ Smart Farming ผสานเทคโนโลยี 4G/5G, IoT, Data และ Cloud ด้วย Platform จาก AIS
แนวคิดของ AIS iFarm นั้นก็คือการพัฒนา Platform กลางบน Cloud เพื่อทำการรวบรวมข้อมูล, วิเคราะห์ และสั่งการอุปกรณ์ IoT ได้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้เกษตรกรที่ต้องการปรับให้พื้นที่เพาะปลูกของตนเองกลายเป็น Smart Farming นั้นสามารถทำได้โดยการติดตั้ง Sensor และตั้งค่าเบื้องต้นเท่านั้น โดยไม่ต้องมีการพัฒนาโปรแกรมใดๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งาน และลดเวลาที่เหล่าเกษตรกรต้องใช้เรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีลง มุ่งเน้นต่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุงการเพาะปลูกให้ดีที่สุดได้เป็นหลัก
ในช่วงแรกเริ่ม AIS iFarm นั้นเป็นหนึ่งในโครงการเชิงงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงยังเป็น CSR ด้วยส่วนหนึ่ง แต่เมื่อเทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาจนมีความพร้อม ทาง AIS ก็ได้นำ AIS iFarm มาเปิดให้บริการแบบสาธารณะในราคาเริ่มต้นเพียงแค่ 2,500 บาท เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในส่วนนี้ได้โดยง่าย และเกิดการใช้งานอย่างแพร่หลาย ให้เกษตรกรได้ก้าวสู่โลกของ Smart Farming และเร่งสร้างนวัตกรรมทางการเกษตรใหม่ๆ มาสนับสนุนเกษตรกรชาวไทยให้เร็วที่สุด
สำหรับความสามารถที่โดดเด่นของ AIS iFarm นั้นมีดังต่อไปนี้
1. ใช้งานได้จากทุกที่ทุกบนทุกอุปกรณ์เวลาผ่าน Cloud
เนื่องจากระบบของ AIS iFarm นี้อยู่บน Cloud จึงสามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างง่ายดายผ่านทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์, Smartphone, Tablet และอุปกรณ์อื่นๆ
2. รองรับการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ IoT ที่หลากหลายด้วยมาตรฐานกลาง พร้อมบันทึกข้อมูลผลผลิตและกิจกรรมในการเพาะปลูก
ระบบของ AIS iFarm มีการพัฒนาให้รองรับการเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลร่วมกับอุปกรณ์ IoT ได้ด้วยมาตรฐานที่หลากหลาย ทำให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IoT ทางด้านการเกษตรได้หลายรูปแบบ เช่น
- Smart Sensor อุปกรณ์ Sensor สำหรับวัดค่าต่างๆ เช่น Weather Station สำหรับวัดสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ, IP Camera สำหรับการเชื่อมต่อกล้องวงจรปิด และ Sensor อื่นๆ ได้ตามต้องการ โดย AIS iFarm สามารถทำการรวบรวมและบันทึกข้อมูลจาก Sensor เหล่านี้เอาไว้ได้บน Cloud
- Smart Control อุปกรณ์ควบคุมเครื่องจักรทางด้านการเกษตร เช่น ระบบระบายอากาศ, ระบบไฟและแสงสว่าง, ระบบปั๊มน้ำ, ระบบวาล์ว และระบบจ่ายปุ๋ย เป็นต้น โดย AIS iFarm สามารถทำการควบคุมสั่งการอุปกรณ์เหล่านี้ได้จากบน Cloud โดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
ด้วยความสามารถดังกล่าว AIS iFarm ก็สามารถตอบโจทย์การก้าวสู่การทำ Smart Farming เบื้องต้นได้แล้ว แต่จากประสบการณ์ของทีมงาน AIS iFarm เอง อีกปัจจัยที่สำคัญมากที่จะทำให้เหล่าเกษตรกรสามารถมีข้อมูลที่เหมาะสมต่อการนำไปปรับปรุงด้านการเพาะปลูกนั้น ก็คือการรับข้อมูลผลผลิตและกิจกรรมในการเพาะปลูก เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลสภาพแวดล้อมที่ได้รับจาก Smart Sensor และกิจกรรมจาก Smart Control ทำให้เกษตรกรมีข้อมูลที่ครบถ้วน ว่าในการเพาะปลูกแต่ละรอบภายในไร่หรือฟาร์มของเกษตรกรนั้น มีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมอย่างไร และได้ผลผลิตมากน้อยแค่ไหน เกิดเป็น Yield เท่าไหร่ และนำข้อมูลเหล่านี้ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเพาะปลูกรอบถัดๆ ไปได้
นอกจากนี้ ข้อมูลแวดล้อมจากภายนอกเองก็สำคัญเช่นกัน ภายในระบบจึงมีการเชื่อมต่อข้อมูลสภาพอากาศจากภายนอกเข้ามาด้วย และเปิดให้มีการเชื่อมต่อนำข้อมูลอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเข้ามาเพิ่มเติมได้ภายหลังผ่านทาง API
3. รองรับทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลการเกษตรและการจัดการฟาร์มแบบอัตโนมัติ
ข้อมูลและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ทั้งหมดจะถูกนำมารวบรวมให้เข้าถึงและใช้งานได้ผ่านระบบ AIS iFarm ที่อยู่บน Cloud โดยมีความสามารถด้วยกัน 3 ส่วน ได้แก่
- Dashboard หน้าจอแสดงผลภาพรวมข้อมูลการเพาะปลูก สามารถแสดงข้อมูลจากไร่สวนหลายแห่งร่วมกันได้ และสามารถเจาะลึกข้อมูลในแต่ละส่วนได้อย่างง่ายดาย
- Automation ระบบควบคุม Smart Control ให้ทำงานต่างๆ โดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่กำหนด พร้อมติดตามการทำงานที่เกิดขึ้นของเครื่องจักรอัตโนมัติเหล่านี้
- Data Visualization ระบบวิเคราะห์แสดงผลข้อมูลเชิงลึกสำหรับเจาะลึกข้อมูลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไร่สวนแต่ละแห่ง โดยมีการแสดงสถานะของการเพาะปลูกในแต่ละไร่จากการวัดค่าส่วนต่างๆ มาตัดเป็นเกณฑ์และให้คะแนน เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปวิเคราะห์และปรับปรุง
ด้วยหน้าจอบริหารจัดการเหล่านี้ เกษตรกรจึงสามารถติดตามสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในไร่สวนทุกๆ แห่งได้จากหน้าจอเดียวในทุกที่ทุกเวลา เกิดเป็นภาพของการทำ Remote Farming ที่มีการบริหารจัดการฟาร์มจากระยะไกลได้ รวมถึงยังรองรับการเกษตรแบบผสมผสานที่มีการเพาะปลูกพืชหลายชนิดในแต่ละพื้นที่ ช่วยให้การบริหารจัดการการเพาะปลูกเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. ใช้งานได้ตั้งแต่สวนครัวหลังบ้าน ไปจนถึงสหกรณ์และ Contract Farming
ระบบบริหารจัดการของ iFarm นี้สามารถใช้งานได้ทั้งสำหรับการเพาะปลูกพืชสวนครัวในบ้าน, การจัดการแปลงขนาดเล็ก, การจัดการแปลงขนาดใหญ่, การจัดการโรงเรือนอัจฉริยะ ไปจนถึงการเลี้ยงปลาอัจฉริยะ โดยความสามารถหนึ่งที่ถูกออกแบบเอาไว้บน AIS iFarm ก็คือการกำหนดระดับสิทธิ์ของผู้ใช้งานให้แตกต่างกันได้เป็นลำดับชั้น
ด้วยความสามารถดังกล่าว เกษตรกรจึงสามารถรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ โดยเกษตรกรแต่ละรายก็สามารถเข้ามาใช้งานระบบ iFarm โดยเข้าถึงและจัดการข้อมูลได้เฉพาะในส่วนของไร่สวนของตนเอง ในขณะที่ผู้ดูแลสหกรณ์ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลของไร่สวนทุกๆ แห่งที่เป็นของสมาชิกเพื่อช่วยติดตามและดูแลในภาพรวมได้
แนวทางเดียวกันนี้ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับ Contract Farming ได้ด้วยเช่นกัน และจะทำให้ข้อมูล, ขั้นตอน, กระบวนการต่างๆ ในการควบคุมคุณภาพของการเพาะปลูกมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น และง่ายต่อการติดตาม
5. เริ่มต้นใช้งานได้ทันที ในราคาเริ่มต้นเพียงหลักพันต่อปี
AIS iFarm นี้ถูกออกแบบมาให้เกษตรกรในประเทศไทยสามารถเข้าถึงได้ ซึ่ง AIS ได้นำเสนอการใช้งานใน 2 แพ็กเกจได้แก่ Smart iFarm และ Business iFarm โดยมีราคาเริ่มต้นแสนย่อมเยาเพียงเพียง 2,500 บาท ต่อปี (ไม่รวม VAT) โดยทั้ง 2 แพ็คเกจดังกล่าวนี้ จะมีการแถม 4G IoT SIM สำหรับเชื่อมต่อ Smart Sensor & Controller เพื่อรับส่งข้อมูลได้อย่างไม่จำกัดตลอดระยะเวลา 1 ปี
ในกรณีที่ลูกค้ามีความประสงค์ต้องการติดตั้งอุปกรณ์ Smart Farm ร่วมด้วย AIS ยังมี Business Partners ผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายกรณีศึกษา ไม่ว่าจะเป็นระบบปลูกแบบปิด, ระบบปลูกในโรงเรือน, ระบบปลูกแบบแปลงเปิด หรือสถานีวัดสภาพอากาศ โดยท่านสามารถติดต่อผ่าน AIS Business เพื่อขอคำปรึกษาและช่วยเหลือด้านการออกแบบและคัดเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานได้ทันที
นอกจากบริการในส่วนของ Platform ที่อยู่บน Cloud แล้ว ทางทีมงาน AIS ก็พร้อมเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบและนำเสนอโซลูชันด้านระบบ Smart Farm อย่างครบวงจรด้วย เพื่อให้ธุรกิจและเกษตรกรที่ต้องการลงทุนสร้าง Smart Farm อย่างรวดเร็วโดยทีมงานมืออาชีพได้เข้าไปทำการศึกษาและนำเสนอโครงการ
ทั้งนี้สำหรับธุรกิจองค์กรหรือสถาบันการศึกษาใดที่ต้องการนำ AIS iFarm ไปใช้งานภายในองค์กร ระบบก็รองรับการทำ White Label เปลี่ยนโลโก้และธีมของระบบให้สอดคล้องต่อแบรนด์ได้เช่นกัน
กรณีศึกษา: โครงการวานิลลาผาหมี กับการพัฒนาระบบฟาร์มอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ
หนึ่งในกรณีการใช้งานของ AIS iFarm ที่เกิดขึ้นจริงนั้นก็คือโครงการวานิลลาผาหมี ซึ่งเป็นความร่วมมือกับบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เพื่อจัดทำแปลงสาธิตปลูกต้นวานิลลาซึ่งเป็นพืชที่มีมูลค่าสูง ในพื้นที่ 7 ไร่ โดยใช้ 5G และเทคโนโลยี IoT เข้าไปใช้ในการติดตามและการเพาะปลูกแบบอัตโนมัติ
ความท้าทายของโครงการดังกล่าวก็คือการที่พื้นที่เพาะปลูกนั้นอยู่บนดอยซึ่งเดินทางเข้าถึงได้ยาก อีกทั้งด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ ก็ทำให้เกษตรกรทำการดูแลรักษารดน้ำให้ครบทุกจุดในเวลาอันจำกัดได้ยาก ซึ่งเดิมทีหากประเมินแล้ว ก็อาจต้องใช้เวลาถึง 7 วันในการรดน้ำต้นไม้ให้ครบทุกจุดเลยทีเดียว
ในโครงการนี้ได้มีการตั้งเสาสัญญาณ 5G ในพื้นที่ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ซึ่งเป็นระบบ Smart Sensor และ Smart Control ในทุกพื้นที่ เพื่อทำการติดตามและวัดค่าสภาพแวดล้อมตั้งแต่ความชื้น, ความเข้มแสง, อุณหภูมิ และอื่นๆ รวมถึงทำการผสมปุ๋ยและรดน้ำต้นไม้โดยอัตโนมัติอย่างสม่ำเสมอในเวลาที่ต้องการ พร้อมควบคุมระบบพัดลมและระบบระบายอากาศในโรงเรือน EVAP ได้อย่างครบวงจร
นอกจากนี้ ภายในโครงการก็ยังมีการพัฒนา Mobile Application เพื่อให้เกษตรกรสามารถเดินตรวจสอบ และถ่ายรูปของผลผลิต หรือรายงานปัญหาต่างๆ ได้ด้วยการถ่ายรูปโดยตรง ทำให้ง่ายต่อการนำภาพไปวิเคราะห์แก้ไขปัญหา และสะดวกกับเกษตรกรกว่าการที่ต้องเขียนลงกระดาษแบบดั้งเดิม
การเพาะปลูกแบบอัตโนมัติโดยมีการจัดเก็บข้อมูลบที่ชัดเจนนี้ทำให้มีประสิทธิภาพในการเพาะปลูกที่สูง มี Yield ที่ดีขึ้นกว่าการเพาะปลูกโดยเกษตรกรเอง ในขณะที่เกษตรกรเองก็สามารถนำเวลาที่มีไปทำงานที่สร้างคุณค่าที่สูงขึ้นได้ ไม่ต้องเสียเวลากับงานแรงงานอย่างเช่นการผสมปุ๋ยหรือการรดน้ำต้นไม้ด้วยตัวเอง และยังลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงานลงไปได้ด้วยเช่นกัน
ผนึกกำลังทุกภาคอุตสาหกรรม พาประเทศไทยสู่วิสัยทัศน์ 5G อย่างเต็มตัว
AIS iFarm นี้เป็นเพียงหนึ่งในความพยายามของ AIS ในการผลักดันวิสัยทัศน์ 5G สู่ภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม เพื่อให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และการเชื่อมต่อ 5G เข้าไปผสานภายในธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อมูลประกอบทุกการตัดสินใจ และใช้ระบบอัตโนมัติในการทำงานได้อย่างคล่องตัว ดังกลยุทธ์ 5 ประการทางด้าน 5G ที่ AIS ได้ประกาศเอาไว้ในปี 2022 ได้แก่
- เชื่อมต่อ 5G Ecosystem เพื่อการทำงานของภาคธุรกิจอย่างรอบด้าน
- ยกระดับการทำงานของโครงข่ายด้วย Intelligent Network
- มุ่งเสริมความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและแพลตฟอร์ม
- เสริมอาวุธด้านการตลาด และเพิ่มโอกาสการเติบโตด้วย Business Big Data
- ส่งมอบบริการด้วยทีมงานมืออาชีพ
สำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมใดๆ ที่ต้องการนำ 5G ไปใช้ผลักดันและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ สามารถติดต่อกับทางทีมงาน AIS Business เพื่อพูดคุยถึงความร่วมมือและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ได้ทันที
สนใจเทคโนโลยี AIS iFarm ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที
AIS Business พาร์ทเนอร์ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกเรื่อง ICT & Digital ที่คุณมั่นใจ
“Your Trusted Smart Digital Partner”
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th