พลาด !! Let’s Encrypt เผลอหลุดกว่า 7,600 Emails รั่วไหลสู่ภายนอก

lets_encrypt_logo

Let’s Encrypt ผู้ให้บริการ Certificate Authority (CA) แบบไม่แสวงหาผลกำไร เผลอหลุดอีเมลของผู้ใช้กว่า 7,618 รายการออกสู่ผู้ใช้บริการคนอื่น หลังจากเกิดบั๊คบนการส่งอีเมลเพื่ออัพเดทข้อตกลงของผู้ใช้งาน (Subscriber Agreement)

Let’s Encrypt เขียนจดหมายเปิดผนึกเพื่อกล่าวขออภัยผู้ใช้บริการเกี่ยวกับข้อผิดพลาดดังกล่าว โดยระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด มีข้อมูลอีเมลเพียง 1.9% ของผู้ใช้บริการทั้งหมดกว่า 383,000 รายชื่อเท่านั้นที่รั่วไหลไปสู่ภายนอก

จดหมายเปิดผนึกนี้อธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า เกิดจากบั๊คบนระบบอัตโนมัติที่มีการเพิ่มย่อหน้าที่ระบุอีเมลของผู้ใช้บริการคนที่เพิ่งส่งไปก่อนหน้านี้ ลงไปในเนื้อหาของอีเมลด้านบน นั่นหมายความว่า ผู้ใช้บริการคนที่ 2 ที่ได้รับอีเมลจะเห็นอีเมลของผู้ใช้บริการคนแรก ผู้ใช้บริการคนที่ 3 จะเห็นอีเมลของผู้ใช้บริการคนที่ 1 และ 2 และสุดท้าย ผู้ใช้บริการคนที่ 7,618 จะเห็นอีเมล์ของผู้ใช้ก่อนหน้านี้ทั้ง 7,617 คนทั้งหมด

lets_encrypt_faulty_email

อย่างไรก็ตาม ทาง Let’s Encrypt ได้แจ้งไปยังผู้รับอีเมลทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากความผิดพลาดนี้ ว่าให้ช่วยปกปิดรายชื่ออีเมลเป็นความลับ ไม่เปิดเผยสู่สาธารณะ และจะรีบอัพเดทข้อมูลถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้ เรียกได้ว่าเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่กระทบต่อธุรกิจของ Let’s Encrypt ที่เพิ่งเปิดตัวให้บริการเมื่อปลายปี 2015 ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดพลาดที่รุนแรงที่สุดที่เกิดกับผู้ให้บริการ CA

ที่มา: http://www.theregister.co.uk/2016/06/13/lets_encrypt_spaffs_7600_email_addresses/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

NB-IoT คืออะไร?

NB-IoT คงเป็นศัพท์ที่หลายท่านได้เห็นในทางเลือกของการเชื่อมต่อระยะไกลของอุปกรณ์ IoT และเชื่อว่าหลายคนก็ยังไม่เข้าใจเช่นกันว่า เหตุใดการโปรโมตบริการ NB-IoT จึงผ่านมาทางผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ ในบทความนี้เราจะมาอธิบายความหมายของ Narrowband IoT ให้รู้จักกันชัดๆ

Veeam แก้ไขช่องโหว่ RCE ที่อันตรายบน Backup & Replication

Veeam ปล่อยแพตช์แก้ไขช่องโหว่ Remote Code Execution ที่มีความรุนแรงระดับ Critical ใน Backup & Replication ซึ่งกลุ่มแรนซัมแวร์มักใช้เป็นเป้าหมายโจมตีในการขโมยข้อมูลและลบไฟล์สำรอง