นักวิจัยเตือน พบการฝัง Keylogger ดักข้อมูล Username และ Password ใน WordPress 2,000 เว็บเป็นอย่างน้อย

Sucuri บริษัทผู้วิจัยด้าน Security ได้ออกมาเปิดเผยถึงการค้นพบเว็บไซต์ WordPress อย่างน้อย 2,000 แห่งที่ถูกฝัง Keylogger เพื่อดักขโมยข้อมูลการ Login และฝังโค้ด Coinhive เพื่อขุดเหรียญ Cryptocurrency อย่าง Monero ไปพร้อมๆ กัน

Credit: WordPress

 

การโจมตีในครั้งนี้อาศัยการเจาะช่องโหว่ของเว็บไซต์ WordPress ที่ไม่ได้มีการอัปเดตเป็นรุ่นล่าสุด หรือใช้ Plugin หรือ Theme เก่าๆ ที่มีช่องโหว่เป็นหลัก ก่อนจะทำการฝังโค้ดเข้าไปโจมตีต่อเนื่อง

การโจมตีลักษณะนี้ถูกพบตั้งแต่ปี 2017 แล้วและมีเว็บไซต์ WordPress ตกเป็นหยื่อกว่า 5,500 รายก่อนที่การโจมตีจะหยุดลงด้วยการสั่งปิด Domain ชื่อ cloudflare.solutions ที่ใช้ในการแพร่กระจายการโจมตี แต่จากรายงานล่าสุดนี้พบว่าการโจมตีในลักษณะเดียวกันนี้กลับมาใหม่แล้วด้วยการใช้ Domain 3 ชื่อ ได้แก่ cdjs.online, cdns.ws และ msdns.online โดยพบเว็บไซต์ WordPress ที่ตกเป็นเหยื่อในครั้งนี้แล้วกว่า 2,000 ราย

ดังนั้นเหล่าผู้ใช้ WordPress ก็ควรตรวจสอบให้ดีครับว่าเว็บไซต์ของตนเองโดนแอบฝังโค้ดอะไรที่ผิดปกติหรือแก้ไขไฟล์ต่างๆ หรือไม่ และทำการอัปเดต WordPress, Theme และ Plugin ต่างๆ ให้เป็นรุ่นล่าสุด รวมถึงตรวจสอบการทำงานของ Script ต่างๆ ทั้งในหน้า Login และหน้าการใช้งานทั่วๆ ไปให้ดี

 

ที่มา: https://www.bleepingcomputer.com/news/security/keylogger-campaign-hits-over-2-000-wordpress-sites/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

NB-IoT คืออะไร?

NB-IoT คงเป็นศัพท์ที่หลายท่านได้เห็นในทางเลือกของการเชื่อมต่อระยะไกลของอุปกรณ์ IoT และเชื่อว่าหลายคนก็ยังไม่เข้าใจเช่นกันว่า เหตุใดการโปรโมตบริการ NB-IoT จึงผ่านมาทางผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ ในบทความนี้เราจะมาอธิบายความหมายของ Narrowband IoT ให้รู้จักกันชัดๆ

Veeam แก้ไขช่องโหว่ RCE ที่อันตรายบน Backup & Replication

Veeam ปล่อยแพตช์แก้ไขช่องโหว่ Remote Code Execution ที่มีความรุนแรงระดับ Critical ใน Backup & Replication ซึ่งกลุ่มแรนซัมแวร์มักใช้เป็นเป้าหมายโจมตีในการขโมยข้อมูลและลบไฟล์สำรอง