หลายบริษัทเปิดหน้าเว็บไซต์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท แต่ในการเปลี่ยนผ่านจากธุรกิจแบบออฟไลน์สู่ออนไลน์ก็มีบริษัทอีกไม่น้อยอาศัยหน้าเว็บเป็นช่องทางให้บริการลูกค้า พร้อมแสดงข้อมูลสินค้า แต่ไม่ว่าธุรกิจจะใช้หน้าเว็บอย่างไรก็ตาม ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้องค์กรส่วนใหญ่ต้องมีการบริหารจัดการเว็บไซต์ภายในและภายนอกเป็นจำนวนมาก อนึ่งแต่ละเว็บไซต์อาจใช้แพลตฟอร์มพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากมีจุดเด่นที่ตอบโจทย์ต่างวัตถุประสงค์กัน แต่เครื่องมือหลายตัวอาจไม่เปิดให้ปรับแต่งความต้องการได้โดยง่าย
การจัดตั้งเว็บไซต์นั้นเป็นไปได้หลายช่องทาง โดยท่านจะเขียนขึ้นมาเองทั้งหมดก็ได้ หรืออาจจะเริ่มต้นแบบรวดเร็วกับเครื่องมือ Content Management System (CMS) ในบทความนี้เราจะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับเครื่องมือ CMS ที่ชื่อว่า Acquia Drupal ที่จะช่วยบูรณาการทุกเว็บไซต์ของท่านไม่ว่าจุดประสงค์ใด ให้เกิดขึ้นได้อย่างมืออาชีพด้วยแพลตฟอร์ม Drupal นอกจากนี้ยังสามารถรวบรวมการติดต่อทุกช่องทางขององค์กรเข้าด้วยกันได้

พัฒนาการของ CMS
ย้อนกลับไปเมื่อกว่า 10 ปีก่อนเครื่องมือ CMS ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อให้การสร้างสรรค์เว็บเป็นเรื่องง่ายที่ใครก็เข้าถึงได้ ทำให้การนำเสนอข้อมูลโบรชัวร์ต่างๆก็ขึ้นมาอยู่บนเว็บไซต์แทน อย่างไรก็ดีข้อจำกัดก็คือระบบยังเน้นไปที่เว็บไซต์สำหรับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไม่บ่อยนัก (Static) ด้วยเหตุนี้เองในช่วงเวลาต่อมาโลกก็ได้เข้าสู่สถานะของการถือกำเนิด CMS ยุคที่ 2 ที่ตอบโจทย์ให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างหน้า Portal ได้เองเช่น ธนาคาร การขายของออนไลน์ แต่ก็ยังคงรับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่ๆได้ไม่ทันอยู่ดี
ความต้องการของเว็บไซต์ก้าวกระโดดอย่างมากไม่กี่ปีมานี้ ลองคิดดูว่าผู้พัฒนาและดูแลเว็บต้องเจอกับเนื้อหาอย่างหลากหลายทั้ง รูป ข้อความ วีดีโอ รวมถึงยังต้องรองรับการเข้าถึงได้ทุกแพลตฟอร์มท้้งมือถือ แท็ปเล็ต โน๊ตบุ๊ค

ไม่เพียงเท่านั้นจุดประสงค์ของธุรกิจที่ตั้งธงให้แต่ละเว็บของตนก็ต่างกันไปเช่น บล็อก เว็บไซต์ภายใน ช่องทางการดูแลลูกค้า การซื้อขาย ลองจินตนาการถึงองค์กรขนาดใหญ่ว่าจะมีเว็บไซต์เกิดขึ้นมากมายสักเพียงใด ซึ่งเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปว่าในบางครั้งองค์กรเลือกใช้ CMS ค่าย A เพื่อทำหน้าเว็บสำหรับแคมเปญโฆษณา และใช้ CMS ค่าย B เพื่อการสร้างบล็อกให้ความรู้ใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้เองผู้ดูแลระบบจึงเผชิญปัญหาที่วุ่นวายไม่น้อยเลยทีเดียว แล้วเหตุใดเราถึงไม่ใช้เครื่องมือที่ออกแบบมาให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้ทั้งหมด?
พัฒนาระบบเว็บไซต์ระดับองค์กรด้วย Drupal
จากข้อมูลข้างต้นท่านจะเห็นได้ว่าองค์กรกำลังเผชิญความท้าทายของความหลากหลายทั้งด้านแพลตฟอร์ม วัตถุประสงค์และรูปแบบข้อมูล ด้วยเหตุนี้เอง Drupal จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมให้กับการพัฒนาเว็บไซต์ระดับองค์กร มาดูกันว่าประโยชน์ที่ Drupal สามารถมอบให้แก่ธุรกิจได้มีอะไรบ้าง
1.) Drupal เป็นโอเพ่นซอร์ส หมายความว่าการเริ่มต้นสามารถทำได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ท่านสามารถนำส่วนต่างนี้ไปมุ่งพัฒนาระบบด้านอื่นแทนให้เว็บไซต์ใช้ง่าย สวยงาม สเถียร และประสิทธิภาพสูง
2.) เครื่องโอเพ่นซอร์สต่างกับเครื่องมือทางการค้าที่ท่านมักจะไม่สามารถทดลองการใช้งานไปเรื่อยๆด้วยข้อจำกัดด้านระยะเวลาในการให้ทดสอบ หรือบางเจ้าอาจจะไม่ให้ทดลอง
3.) เครื่องมือโอเพ่นซอร์สถูกพัฒนาโดยผู้สนใจจากทั่วโลก ทำให้ฟีเจอร์ใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตอบสนองโจทย์ของธุรกิจอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับความมั่งคงปลอดภัยของโค้ดก็ถูกตรวจสอบจากผู้คนมากมายแล้วเช่นกัน ต่างกับสินค้าที่พัฒนาแบบปิดมักล่าช้าและพบบั๊กให้น่ากังวลภายหลัง
4.) Drupal มีช่องทางให้สามารถปรับปรุงส่วนเสริมไปเชื่อมต่อกับโซลูชันระดับองค์กรอื่นได้ไม่ว่าจะเป็น CRM, Web Analytics และวีดีโอ ซึ่งเมื่อข้อมูลถูกบูรณาการกันแล้วท่านก็สามารถยกระดับการให้บริการสู่ประสบการณ์แบบ Personalize หรือการนำเสนอเรื่องราวตามความสนใจในแต่ละบุคคลสร้าง Customer Experience ที่ดีขึ้น
5.) Drupal รองรับการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม Social Media ได้ทุกช่องทางอย่างไร้รอยต่อ ทำให้สามารถบูรณาการการสื่อสารเหล่านี้ด้วยเครื่องมือเดียว รวมถึงสามารถแสดงผลแบบความละเอียดสูงได้ด้วย
6.) ในด้าน Security เครื่องมือ Drupal มีความโดดเด่นมาก เนื่องจากสามารถบริหารจัดการสิทธิ์ได้หลายระดับตามความต้องการ จึงยิ่งตอบโจทย์องค์กรที่มีเว็บไซต์จำนวนมาก
Drupal เป็นเครื่องมือพัฒนาและบริหารจัดการเว็บไซต์ระดับองค์กร ที่ออกแบบมาให้รองรับการก้าวกระโดดของนวัตกรรมให้ธุรกิจทุกขนาดสามารถแข่งขันในตลาดได้ ด้วยความยืดหยุ่นที่เหลือเชื่อ ทำให้องค์กรสามารถเร่งความเร็วและโฉมหน้าเว็บได้ในทุกส่วน ทุกวัตถุประสงค์ทั้ง ‘Content, Community และ Commerce’
เริ่มต้นเว็บไซต์ Drupal ขององค์กรด้วย Acquia Cloud

โอเพ่นซอร์สมีประโยชน์มากมายทั้งในด้านของความยืดหยุ่น และฟีเจอร์ใหม่ อย่างไรก็ดีการปรับแต่งเครื่องมือให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรนั้นก็เป็นความท้าทายไม่น้อย ท่านจึงจะเห็นได้ว่าวงการโอเพ่นซอร์สต่างมีการนำไปพัฒนาต่อยอดให้ตอบโจทย์เฉพาะทางมากขึ้นและนำมาให้บริการ ในมุมของ Acquia Drupal เองก็ไม่ต่างกัน โดยองค์กรจะได้ใช้บริการ Drupal ในเวอร์ชันที่มีความสามารถมากกว่าตัวโอเพ่นซอร์ส
อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้ก็คือการออกแบบเรื่อง Availability ขององค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะหากมีจำนวนเว็บไซต์หลายเว็บ การจัดตั้งเซิร์ฟเวอร์ก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายแฝงมากมาย ด้วยเหตุนี้เอง Acquia จึงก้าวเข้ามาตอบโจทย์เป็นบริการพิเศษสำหรับเว็บไซต์ Drupal อย่างครบวงจรตั้งแต่การสร้างและโฮสต์เว็บ บวกกับบริการอีกมากมายดังนี้

- Acquia CMS บริการหลักสำหรับการสร้างและบริหารจัดการเว็บไซต์ โดยมีอินเทอร์เฟสแบบลากวาง มีโมดูลเสริมพิเศษ และฟีเจอร์ด้านความมั่นคงปลอดภัย พร้อมกับความสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องมือด้านการตลาด
- Acquia Cloud บริการคลาวด์สำหรับฝากเว็บไซต์ขององค์กรแบบ Managed Service กล่าวคือเป็นการโฮสต์เว็บไซต์ให้พร้อมดูแลเรื่องประสิทธิภาพ SLA รองรับการขยายตัว ลดภาระการดูแลโครงสร้างเรื่องฮาร์ดแวร์ และเปิดช่องทางให้ลูกค้าสามารถมอนิเตอร์ประสิทธิภาพการทำงานและปัญหาได้ พร้อมแจ้งเตือนเหตุการต่างๆ
- Migration Service เป็นบริการย้ายแพลตฟอร์มเดิมของลูกค้า โดย Accelerate หมายถึงการอัปเกรดเวอร์ชันหากท่านใช้ Drupal อยู่เดิมแต่เป็นเวอร์ชันเก่า ทีมงาน Acquia สามารถให้คำปรึกษาและช่วยอัปเกรตไปสู่ Drupal เวอร์ชันล่าสุด (ณ ขณะนี้คือเวอร์ชัน 9) อีกส่วนคือการ replatform เป็นกรณีที่ท่านใช้ CMS ค่ายอื่นและต้องการย้ายมาเริ่มต้นกับ Drupal บน Acquia บริการนี้จะช่วยให้คำปรึกษาออกแบบให้ท่านเริ่มต้นใหม่ได้อย่างไร้รอยต่อ
- Site Studio เครื่องมือช่วยสร้างเว็บไซต์ของท่านได้แบบ Low-code กล่าวคือไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจัดการเพจ ตั้งแต่การสร้างหรืออัปเดตเนื้อหา การให้สิทธิ์ในแต่ละเพจ อย่างไรก็ดีภายใน Site Studio มีฟีเจอร์ที่เตรียมความพร้อมไว้แล้วกว่า 70 รูปแบบ แต่ก็เปิดให้นักพัฒนาสามารถปรับแต่งขั้นสูงได้เช่นกัน
- Code Studio เป็นเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาแบบ CI/CD โดยจัดการโค้ดได้ผ่าน GitLab และมีเครื่องมือสำหรับทำ Pipeline ตั้งแต่เริ่มเขียนโค้ด การทดสอบ Deploy ใช้งานและอัปเดตอัตโนมัติ ในขั้นตอนการเขียนโค้ด Acquia ได้นำเสนอ Cloud IDE หรือเครื่องมือเขียนโค้ดบนคลาวด์ทำให้ท่านสามารถเขียนโค้ดได้ผ่าน Web-based หากนักพัฒนาอยากลองเริ่มต้นทดลอง
- Site Factory คือเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการภาพรวมของทุกเว็บไซต์ เช่น โคลนเว็บไซต์ จัดการสิทธิ์และหน้าที่ให้เว็บไซต์ว่าเข้าถึงอะไรได้บ้างฟังก์ชันใดตอบโจทย์ด้านความมั่นคงปลอดภัย ปรับแต่งโมดูลและอื่นๆ
- Content Hub ไอเดียคือการบริหารจัดการเก็บเนื้อหาในเว็บไซต์ ให้เกิดการเชื่อมต่อกัน รวมถึงมีช่องทางให้ไปทำงานติดต่อกับแอปพลิเคชันได้ด้วย API
นอกจากนี้ยังมี Acquia Lightning ซึ่งก็คือ Drupal ดิสโทรหนึ่งที่ถูก Acquia นำไปเพิ่มโมดูล ธีม และไลบรารี พร้อมคอนฟิคบางอย่าง ทำให้นักพัฒนานำไปใช้ได้ทันที แต่หากใครต้องการบริการสำเร็จรูปที่มากกว่านั้นก็สามารถไปใช้ความสามารถของ Acquia Cloud ได้
อันที่จริงแล้ว Acquia มีความเชี่ยวชาญกับ Drupal อย่างยิ่งเพราะผู้ก่อตั้งก็คือคุณ Dries Buytaert หรือผู้คิดค้น Drupal นั่นเอง แต่ส่งมอบโปรเจ็คให้เป็นโอเพ่นซอร์ส และจากนั้นเขาจึงได้ก่อตั้งบริษัท Acquia ขึ้นเพื่อให้บริการครบวงจรเกี่ยวกับ Drupal ในระดับองค์กร และยังมีการทำงานร่วมกับ Community ของโอเพ่นซอร์สอยู่เรื่อยมา ดังนั้นกล่าวได้ว่าทีมงานของ Acquia ย่อมมีความเชี่ยวชาญระดับลึกซึ้งกับ Drupal อย่างแยกไม่ออก
กรณีศึกษา Centara on Acquia

ในเหตุการณ์แพร่ระบาดปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจการให้บริการอย่างโรงแรมคือผู้ได้รับผลกระทบอันดับหนึ่ง เช่นกัน Centara ก็เป็นอีกผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเครือการให้บริการนี้มีอาณาจักรไม่ใช่แค่ในประเทศไทยแต่ยังขยายไปยังประเทศอื่นๆเช่น มัลดีฟ ศรีลังกา เวียดนาม ลาว จีน โอมาน การ์ต้า และสหรัฐอาหรับเอมิเรต
แต่เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสได้ส่งผลกระทบเข้าอย่างจังกับธุรกิจ ทำให้ Centara ต้องหาทางปรับปรุงแคมเปญประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ให้เข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง Acquia Drupal จึงก้าวเข้ามามีบทบาทให้ Centara สามารถทำแคมเปญที่ชื่อว่า ‘Centara at Home’ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเปิดให้ลูกค้าเลือกแผนการจองห้องพักได้อย่างยืดหยุ่น ผลก็คือยอดจองห้องพักเพิ่มสวนกับสถานการณ์อย่างน่าตกใจ และจิ๊กซอว์สำคัญก็คือ Acquia Site Factory ที่ทำให้ Centara สามารถบริการจัดการ Content ได้อย่างมีประสิทธิภาพเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายที่วางไว้
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.acquia.com/resources/case-studies/centara-hotels-resorts-covid-19-response
อย่างไรก็ดี Centara ไม่ใช่เพียงกรณีศึกษาเดียวที่เกิดขึ้นจาก Acquia แต่อันที่จริงแล้ว Acquia ยังมี Template ที่ช่วยให้ธุรกิจในแต่ละประเภทสามารถเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็วด้วยไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและธุรกิจใดๆ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.acquia.com/resources/case-studies
มาถึงตรงนี้ท่านใดที่สนใจอยากลองทดสอบหรือต้องการข้อมูลของ Acquia Cloud มากขึ้นหรือใช้ Drupal อยู่แล้วอยากเพิ่มความสามารถผ่าน Acquia Cloud ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.acquia.com/ หรือ คุณ Junyi Lim เบอร์ติดต่อ +65 93373791 อีเมล junyi.lim@acquia.com