Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

[สัมภาษณ์] เจาะลึก Microsoft Dynamics 365: ให้ ERP และ CRM เป็นก้าวแรกของการนำ AI, Big Data และ IoT สู่องค์กร

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์คุณวชิราวุธ รัตติวรากร ผู้จัดการกลุ่มธุรกิจโซลูชั่นเพื่อภาคอุตสาหกรรม ไมโครซอฟท์ ไดนามิกส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ในประเด็นของบริการ Microsoft Dynamics 365 ซึ่งเป็นระบบ ERP และ CRM บน Cloud ที่ Microsoft ใช้เป็นกุญแจสำคัญในการช่วยพลิกองค์กรสู่การทำ Digital Transformation อย่างครบวงจร ซึ่งจากการพูดคุยนั้นสัมผัสได้ว่า Microsoft ทำการบ้านมาค่อนข้างดีทีเดียวกับผลิตภัณฑ์นี้ และการ Integrate ระบบยังทำได้ในรูปแบบที่น่าสนใจมาก (เช่น เปิดข้อมูล ERP ผ่านทาง Excel ได้, สร้าง Mobile Application ต่อกับ ERP สำหรับงานเฉพาะทางได้แบบไม่ต้องเขียนโค้ด และอื่นๆ) ดังนั้นหากใครอยู่ในวงการที่เกี่ยวข้องกับระบบ ERP และ CRM ก็อยากให้ลองอ่านบทความสรุปครั้งนี้เอาไว้เป็นแนวทางกัน ดังนี้ครับ

Credit: Microsoft

 

Microsoft Dynamics 365: ระบบ ERP และ CRM ถูกพัฒนาใหม่เป็นระบบเดียวกันแบบ Cloud-native และเปิดได้จากบนทุกอุปกรณ์

เมื่อก่อนหากใครเคยคลุกคลีกับผลิตภัณฑ์ตระกูล Dynamics ของ Microsoft นั้น ก็จะรู้ดีว่า Microsoft มีผลิตภัณฑ์แยกกันระหว่างระบบ ERP, CRM, Finance และอื่นๆ ซึ่งบางส่วนเกิดจากการเข้าซื้อกิจการมา ทำให้ระบบนั้นแยกขาดจากกัน และต้องมีชั้นของการ Integrate ระบบเหล่านี้เข้าหากันค่อนข้างมาก

Microsoft Dynamics 365 นี้จึงถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ภายใต้แนวคิดดังนี้

  • Mobile First เพื่อให้สามารถเปิดใช้งานบนอุปกรณ์พกพาและเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทุกประเภททุกขนาดหน้าจอผ่านทาง Web Browser ทำให้ไม่ต้องเสียทรัพยากรเพิ่มเติมในการทำให้ระบบ ERP รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเติมอีก
  • Cloud First ถูกออกแบบมาให้มีสถาปัตยกรรมแบบ Cloud-native บน Microsoft Azure ตั้งแต่แรก เพื่อให้รองรับการเริ่มต้นใช้งานได้อย่างง่ายดาย, การเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา และการเพิ่มขยายได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย ภายใต้การบริการดูแลจากทาง Microsoft ให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้

ส่วนในแง่การออกแบบในส่วนของ Application และ Business Logic ต่างๆ นั้นก็ถูกออกแบบภายใต้หลักการด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่

 

1. Purpose Built – รองรับการใช้งานเฉพาะทางได้หลากหลายรูปแบบ ตอบโจทย์ทุกแผนกได้ครบในระบบเดียว

Microsoft ตั้งใจพัฒนา Module แยกสำหรับใช้ตอบโจทย์เฉพาะทางในแผนกต่างๆ ของธุรกิจให้ได้ดีที่สุด เช่น Operation, Finance, Customer Service และอื่นๆ เพื่อให้องค์กรสามารถเริ่มต้นการทำ ERP ได้จากแผนกใดแผนกหนึ่งก่อน และค่อยๆ เพิ่มขยายแผนกอื่นๆ ในภายหลังจน Roll Out ได้ครบทุกแผนกในองค์กร โดยมีค่าใช้จ่ายนั้นก็จะคิดตามการใช้งานจริงสำหรับแต่ละ Module รวมถึงยังมีการพัฒนา Template สำเร็จรูปให้นำไปปรับแต่งรองรับ Business Process ย่อยต่างๆ และเลือกใช้งานแค่ Business Process นั้นๆ ไปก็ได้เช่นกัน ข้อดีของการทำแบบนี้ก็คือองค์กรนั้นสามารถค่อยๆ ทะยอยลงทุนกับระบบ ERP และใช้เวลาในการปรับแต่งการทำงานของแต่ละแผนกและระบบของแผนกนั้นๆ ให้ดีที่สุดได้ และเริ่มต้นการใช้งาน ERP ได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการลงทุนระบบใหญ่มารอแต่แรก เพราะการคิดค่าใช้จ่ายนั้นก็คิดตามการใช้งานสำหรับแต่ละ Module หรือ Business Process นั่นเอง

และเนื่องจากระบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมดภายใต้ Microsoft Dynamics 365 ดังนั้น User Interface (UI) ของทุกๆ Application นั้นจะคล้ายคลึงกันทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้งานไม่เกิดความสับสน และสามารถเรียนรู้การใช้งานระบบต่างๆ เพิ่มเติมได้ได้อย่างรวดเร็ว โดยในแต่ละ Application ภายใน Microsoft Dynamics 365 นั้นก็ได้ถูกทำการทดสอบร่วมกันระหว่าง Microsoft และธุรกิจต่างๆ ที่ได้นำไปใช้งานจริงก่อนแล้วถึง 1 ปี ทำให้ Application ที่มีให้พร้อมใช้นี้ถูกปรับแต่งจนสามารถใช้งานได้ง่ายและใช้งานได้จริงตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ

นอกจากนี้ เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนกับ Module ที่มีจำนวนมากมายหลากหลาย Microsoft Dynamics 365 จึงมีระบบ Workspace สำหรับผู้ใช้งานแต่ละคนให้สามารถมองเห็นและเข้าถึงได้เฉพาะ Module ที่เกี่ยวข้องกับงานของตนเท่านั้น เป็นประโยชน์ทั้งในแง่ของความง่ายในการทำงาน และความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลได้เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานแต่ละคน

 

2. Productivity – เข้าถึงทุกข้อมูลการทำงานได้จากเครื่องมือที่ถนัด เปลี่ยน Microsoft Office 365 และ Power BI ให้กลายเป็นอีกหน้าจอของระบบ ERP ได้ทันที

อีกความน่าสนใจของ Microsoft Dynamics 365 ที่ถือว่าโดดเด่นมากนี้ ก็คือการที่ข้อมูลบน Microsoft Dynamics 365 นั้นสามารถนำไปเปิดใช้งานได้บนระบบ Microsoft Office 365 และ Microsoft Power BI ได้ด้วย ทำให้รูปแบบการนำข้อมูลไปใช้งานนั้นมีความหลากหลายมากว่าการเข้าถึงได้จากทางเว็บเท่านั้น เช่น การเปิดข้อมูลยอดขายบน Microsoft Excel และทำการสร้างสูตรคำนวนเพิ่มเติมหรือสร้างกราฟเพื่อวิเคราะห์, การเปิดข้อมูลคลังสินค้าบน Microsoft Power BI เพื่อทำรายงาน หรือแม้แต่การเปิดข้อมูลที่ต้องการบน Microsoft PowerPoint เพื่อสร้างงานนำเสนอได้ทันที

แนวคิดนี้จะทำให้เหล่าผู้ใช้งานที่ไม่ใช่สาย IT นั้นสามารถนำข้อมูลไปใช้งานต่อยอดได้อย่างอิสระและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยทีมงานใดๆ ในการพัฒนาเครื่องมือเพิ่มเติมมาให้ และแต่ละคนก็สามารถเลือกใช้เครื่องมือที่ตนเองถนัดในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจได้เองตามต้องการ รวมถึงแต่ละแผนกหรือพนักงานแต่ละคนเองก็สามารถสร้าง Business Dashboard ขึ้นมาใช้งานได้โดยง่ายด้วย Microsoft Power BI และสามารถเจาะลึกข้อมูลที่สนใจต่อเองได้อย่างง่ายดาย ทั้งจากการเข้าถึงผ่านทาง PC หรือ Mobile Device และการใช้เสียงในการสั่งการก็ตาม ตอบรับต่อการทำ Self-service Analytics ได้อย่างเต็มตัว

 

Credit: Microsoft

 

3. Intelligence – ให้ ERP เป็นศูนย์กลางของทุกการทำงาน เชื่อมต่อ AI/Chatbot/IoT/3rd Party ได้ง่ายๆ ทันที

เพื่อตอบรับต่อแนวโน้มของการทำ Digital Transformation ทาง Microsoft นั้นได้วางให้ Microsoft Dynamics 365 เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับทุกๆ ธุรกิจในการนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการนำระบบ Artificial Intelligence (AI) จาก Microsoft Cortana เข้ามาเรียนรู้ข้อมูลที่อยู่ภายในระบบ Dynamics 365 และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistance) ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้จากการแชทหรือการพูด, การผนวกข้อมูลจาก Sensor ต่างๆ ภายในระบบ Internet of Things (IoT) เข้ากับฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมภายในระบบ ERP เพื่อทำการวิเคราะห์หรือตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ โดยอัตโนมัติ ไปจนถึงการเชื่อมต่อระบบหรือข้อมูลภายใน Microsoft Dynamics 365 เข้ากับ 3rd Party Application เพื่อให้ระบบสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน หรือแม้แต่ในอนาคตการนำ Augmented Reality (AR)/Virtual Reality (VR) นั้นก็จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจาก Microsoft Dynamics 365 เข้ากับวัตถุต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกจริงได้เช่นกัน

แน่นอนว่าหนึ่งในความสามารถที่แทบทุกองค์กรต้องใช้งานกันในทุกวันนี้อย่างการทำ Prediction และ Forecasting ด้วย Machine Learning นั้น ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากบน Microsoft Dynamics 365 ในการนำไปใช้งานจริง

 

4. Adaptable – ปรับแต่งสร้าง Application เสริมได้ง่าย ภายใต้แนวทาง Low Code Platform, สั่งซื้อ Module เสริมสำหรับธุรกิจเฉพาะทาง จากผู้พัฒนาทั่วโลกได้ทันที

Microsoft Dynamics 365 นี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถปรับแต่งระบบได้อย่างยืดหยุ่นสูงสุด โดยมีเครื่องมือต่างๆ สำหรับช่วยเหลือให้การปรับแต่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ได้แก่

  • Microsoft PowerApps ระบบสำหรับสร้าง Mobile/Web Application ใหม่ๆ ด้วยการเชื่อมต่อจากข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร และออกแบบหน้าจอการทำงานหรือลำดับการทำงานทั้งหมดได้ โดยไม่ต้องมีการเขียนโปรแกรมด้วยตัวเอง
  • Microsoft Flow ระบบสำหรับสร้าง Business Process Automation ให้การประมวลผลข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้งานต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติทั้งกับ Application ภายในระบบของ Microsoft เอง และ Application ภายนอกต่างๆ เกินกว่า 100 ระบบที่รองรับทั้งระบบ Marketing, Productivity App, Social Network และอื่นๆ อีกมากมาย
  • Microsoft AppSource ตลาด Online Market Place ที่เหล่านักพัฒนา Software สำหรับ B2B บน Platform ต่างๆ ของ Microsoft จะนำเทคโนโลยีที่ตนเองเคยพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างเฉพาะทางมาขายกันแบบ Online เพื่อให้ธุรกิจประเภทเดียวกันสามารถซื้อระบบเหล่านั้นไปใช้งานได้ ไม่ต้องเสียเวลาปรับแต่งเองตั้งแต่ต้น และสามารถทดสอบการใช้งานก่อนซื้อได้ทันที โดยปัจจุบันมีเกินกว่า 200 Application ให้เลือกซื้อมาใช้งานได้แล้ว

สำหรับบริษัท Systems Integrator (SI) ที่เคยมีประสบการณ์กับ Microsoft Dynamics รุ่นเก่าๆ อย่าง AX, NAV, CRM มาก่อนแล้ว ก็จะสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีของ Microsoft Dynamics 365 ได้อย่างง่ายดาย ในขณะที่สามารถต่อยอดไปพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับระบบงานอื่นๆ ในองค์กรได้มากขึ้น ขยายตลาดให้เติบโตได้มากขึ้นไปในเวลาเดียวกัน และหากมีการพัฒนา Module พิเศษสำหรับตอบโจทย์เฉพาะทางของธุรกิจองค์กรในอุตสาหกรรมต่างๆ ขึ้นมา ก็สามารถนำไปขายทั่วโลกผ่านทาง Microsoft AppSource ได้อีกด้วย

 

 

Common Data Model: สาเหตุสำคัญที่ Microsoft ต้องพัฒนา Dynamics ใหม่ทั้งหมด

เมื่อข้อมูลกลายเป็นศูนย์กลางและหัวใจในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน Microsoft ก็ได้เล็งเห็นว่าประเด็นที่สำคัญที่สุดในการทำ Digital Transformation ได้สำเร็จนั้นก็คือการจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้งานข้ามระบบต่างๆ ให้ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วที่สุด และได้ออกแบบระบบ Common Data Model เพื่อให้ทุกๆ Module ภายใน Microsoft Dynamics 365 นี้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ และสามารถเข้าถึงข้อมูลระหว่างกันได้โดยไม่เกิดความสับสน

ไม่เพียงแต่ Common Data Model นี้จะง่ายต่อการทำให้ทุกๆ ระบบบริหารจัดการธุรกิจจะเชื่อมต่อกันได้เท่านั้น แต่การนำข้อมูลเหล่านี้ไป Integrate กับระบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น AI, Big Data Analytics, Chatbot, IoT หรือแม้แต่ 3rd Party ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ซึ่งความง่ายและความเร็วเหล่านี้เองที่จะกลายเป็นข้อได้เปรียบอย่างมหาศาลสำหรับเหล่าองค์กรในอนาคต ที่จะต้องคอยปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ ให้เหมาะสมต่อสภาพตลาดและการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

แนวทางนี้ถือเป็นแนวทางที่ต่างจากคู่แข่งมากพอสมควร เพราะ Microsoft เลือกที่จะพัฒนาระบบใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ข้อมูลของทุกระบบธุรกิจองค์กรสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างง่ายดาย ในขณะที่คู่แข่งของ Microsoft นั้นมักจะใช้วิธีการเข้าซื้อกิจการต่างๆ เข้ามา และค่อยทำการ Integrate ระบบภายหลัง ทำให้ในระยะยาวเมื่อองค์กรต้องเริ่มมีการขยายระบบไปใช้งานในแผนกต่างๆ มากขึ้น ก็จะยิ่งต้องใช้เวลามากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นทุกครั้งที่มีการปรับแต่งใดๆ

 

Behind the Cloud: ไม่ได้เป็นแค่ Cloud ทั่วไป แต่เป็นบริการ Managed Cloud Service ที่องค์กรควบคุมได้อย่างเต็มที่

ที่ผ่านมาเรามักเห็นข้อถกเถียงกันในประเด็นที่ว่า “จะนำข้อมูลสำคัญของธุรกิจองค์กรไปฝากไว้บนบริการ Cloud ในต่างประเทศได้อย่างไร?” ทั้งในแง่ของความเป็นส่วนตัวของข้อมูล, ในแง่ความปลอดภัยของข้อมูล หรือแม้แต่ในแง่ของการควบคุมระบบและการทำ Change Management ในภาพรวมก็ตามที

Microsoft ได้ทำการตีโจทย์ข้อนี้ด้วยแนวทางหลักๆ ได้แก่

  • การแยกการจัดเก็บข้อมูลออกเป็น Single Tenant สำหรับลูกค้าองค์กรแต่ละราย ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลของแต่ละองค์กรจะไม่ปะปนกันทั้งในเชิงของ Logical และ Physical ในขณะที่การทำ High Availability (HA) และ Replication ก็ยังอยู่อย่างครบถ้วน
  • การเปิดให้องค์กรมีสิทธิ์ตัดสินใจว่าจะอัปเกรดระบบ Cloud ที่ต้นใช้งานสำหรับ Microsoft Dynamics 365 หรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการทำ Change Management และ Risk Management ของแต่ละองค์กร ตอบสนองต่อการทำ Compliance ที่องค์กรต้องทำ
  • การให้บริการแบบ Managed Service อย่างเต็มตัว มีทีมวิศวกรคอยดูแล แก้ไขปัญหา และทำงานร่วมกับองค์กรเสมือนเป็นทีมงานเดียวกัน ทำให้องค์กรมีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในการควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบของธุรกิจของตนเอง
  • Data Center ของบริการ Microsoft Dynamics 365 นี้ใช้ Infrastructure ของ Microsoft Azure ซึ่งมีการทำตามมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยต่างๆ ที่หลากหลาย ผู้ที่สนใจรายละเอียดเชิงลึกสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Microsoft Trust Center
  • ทีมงานของ Microsoft นั้นถึงแม้จะมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการระบบต่างๆ ให้สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของแต่ละองค์กรที่ทำการดูแลอยู่ เนื่องจากข้อมูลของแต่ละองค์กรนั้นถูกเข้ารหัสด้วยกุญแจที่แตกต่างกัน และพนักงานของ Microsoft เองก็ไม่ได้มีสิทธิ์ในการเข้าถึงกุญแจเหล่านั้นแต่อย่างใด

ด้วยแนวทางเหล่านี้จะเห็นได้ว่า Microsoft นั้นได้ออกแบบระบบทั้งในเชิงของเทคโนโลยีและกระบวนการมาให้เหมาะสมต่อความต้องการในระดับองค์กรได้อย่างน่าสนใจไม่น้อย อีกทั้งในอนาคต Microsoft เองก็มีแผนจะทำให้ Microsoft Dynamics 365 นี้รองรับการทำงานได้แบบ Hybrid Cloud ด้วยการออกแบบระบบ Database ให้รองรับการกระจายตัวได้ตั้งแต่ต้นแล้ว

 

Credit: Microsoft

 

ตัวอย่างที่น่าสนใจของการ Integrate ระบบ Microsoft Dynamics 365 เข้ากับระบบอื่นๆ และผลลัพธ์ในเชิงธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง

ที่ผ่านมาได้มีองค์กรชั้นนำทั่วโลกต่างๆ นำเทคโนโลยีของ Microsoft Dynamics 365 ไปใช้สร้างนวัตกรรมและทำ Digital Transformation เกิดเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาแล้วมากมาย โดยกรณีหนึ่งที่น่าหยิบยกขึ้นมาเล่านั้นก็คือกรณีของ Rolls-Royce ที่ได้ทำการผสาน Internet of Things (IoT) เข้ากับ Microsoft Dynamics 365 พบข้อมูลที่น่าสนใจจนเกิดเป็นธุรกิจใหม่

ธุรกิจชิ้นส่วนของ Rolls-Royce นั้นได้ผสานเทคโนโลยี IoT โดยฝังชิปเข้าไปในเครื่องจักรแต่ละชิ้นเพื่อตรวจสอบสถิติการใช้งานและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น มาผนวกเข้ากับระบบ Microsoft Dynamics 365 เพื่อให้ Rolls-Royce นั้นสามารถทำการแจ้งเตือนลูกค้าและเปลี่ยนเครื่องจักรที่มีความผิดปกติได้ก่อนที่จะเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นได้

แต่เมื่อระบบนี้ถูกนำไปใช้งานได้ระยะหนึ่ง ก็พบว่าข้อมูลที่ทำการติดตามการใช้งานมานั้น เมื่อนำไปวิเคราะห์ร่วมกับอัตราการใช้พลังงานของเครื่องบิน ก็ทำให้ Rolls-Royce ได้รับความรู้ใหม่ว่ามีรูปแบบของการขับเครื่องบินที่จะช่วยให้สายการบินสามารถประหยัดค่าเชื้อเพลิงไปได้ และเกิดเป็นโรงเรียนสอนการขับเครื่องบินแบบประหยัดพลังงานโดยเฉพาะ กลายเป็นธุรกิจใหม่ของ Rolls-Royce ขึ้นมา

สำหรับกรณีศึกษาและข่าวสารอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Microsoft Dynamics 365 สามารถติดตามได้ที่ https://explore.dynamics.com/ เลยนะครับ

 

Microsoft Thailand พร้อมให้บริการ Microsoft Dynamics 365 แก่กลุ่มลูกค้าองค์กรและธุรกิจทุกขนาดในประเทศไทยแล้ว

แน่นอนว่าการที่ Microsoft Thailand ได้นำเทคโนโลยีของ Microsoft Dynamics 365 มาพูดคุยในประเทศไทยนี้ ก็หมายถึงความพร้อมในการให้บริการแก่ลูกค้าในประเทศไทยด้วย โดยทาง Microsoft มีทีมที่จะคอยให้คำปรึกษาทางด้านระบบ ERP ได้อย่างครอบคลุม พร้อมทั้งสามารถเปิดให้ผู้ที่สนใจได้ทดสอบการใช้งาน Microsoft Dynamics 365 ได้แล้ว โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อทีมงาน Microsoft Thailand ได้ทันที รวมถึงสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Microsoft Dynamics 365 ได้ที่ https://www.microsoft.com/en-us/dynamics365/ ครับ

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs [PR]

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs ขับเคลื่อน ด้วยขุมพลัง AI ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อม การทำงานแบบไฮบริด

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย