อินเทลโชว์ขุมพลัง โปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 พร้อม Intel® Xeon® เจนเนอเรชั่น 4 ตอบโจทย์ผู้ใช้และองค์กรธุรกิจในไทย [Guest Post]

เตรียมสัมผัสศักยภาพเหนือชั้นของโปรเซสเซอร์โมบายล์ที่เร็วแรงที่สุดในโลก
และโปรเซสเซอร์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ผ่านการผลิตที่ยั่งยืนมากที่สุดของอินเทล ได้แล้ววันนี้!

กรุงเทพฯ 28 กุมภาพันธ์ 2566 — อินเทล ประเทศไทย ประกาศเปิดตัวโปรเซสเซอร์โมบายล์  Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ได้ผสานประสิทธิภาพและประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่าเข้าไว้ด้วยกันในแพลตฟอร์มสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ พร้อมนำเสนอ Intel® Arc™ จีพียูแบบใช้งานแยก นอกจากนี้ ยังเปิดตัวโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 (โค้ดเนม Sapphire Rapids) ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) คลาวด์ เครือข่ายและเอดจ์ และซูเปอร์คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ  

โปรเซสเซอร์ตระกูล Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13

 

  • โปรเซสเซอร์เดสก์ท็อป Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 ตอกย้ำความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในตระกูล: อินเทลได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์ตระกูล Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 ไปเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งเปิดตัวโปรเซสเซอร์เดสก์ท็อป K-ซีรีส์ ที่งาน Thailand Game Show ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงโปรเซสเซอร์เดสก์ท็อปที่เร็วแรงที่สุดในโลกในตอนนี้[1] อย่าง Intel®Core™ i9-13900K เจนเนอเรชั่น 13 โดยโปรเซสเซอร์เดสก์ท็อปตัวใหม่นี้ใช้พลังงานระดับ 35 วัตต์ และ 65 วัตต์ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้อุปกรณ์พีซีทั่วไปมีทางเลือกในการประหยัดพลังงานเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงส่งมอบประสิทธิภาพที่น่าทึ่งสำหรับการเล่นเกม การสร้างสรรค์เนื้อหา และการทำงานทั่วไปได้อย่างลงตัว
  • โปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ H-ซีรีส์ เจนเนอเรชั่น 13 โดดเด่นด้วยประสิทธิภาพเทคโนโลยีโมบายล์ชั้นนำในอุตสาหกรรม: อินเทลยังคงเดินหน้าก้าวข้ามขีดจำกัด พร้อมขยายขุมพลังประสิทธิภาพและศักยภาพแห่งการประมวลผลเพื่อเหล่าเกมเมอร์และนักสร้างสรรค์เนื้อหาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดตัวโปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ H-ซีรีส์ เจนเนอเรชั่น 13 รวมถึงโปรเซสเซอร์ตัวแรกที่มีจำนวนคอร์ถึง 24 คอร์สำหรับการใช้งานกับแล็ปท็อป ซึ่งถือเป็นโปรเซสเซอร์โมบายล์ที่เร็วแรงที่สุดในโลกในตอนนี้[2] เมื่อผสานเข้ากับฟีเจอร์ที่โดดเด่นอย่างเครื่องมือรองรับหน่วยความจำ DDR4 และ DDR5 ฟังก์ชันการเชื่อมต่อที่เหนือชั้นและรองรับการใช้งาน PCIe Gen 5 จึงทำให้โปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ HX เจนเนอเรชั่น 13 กลายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับโมบายล์เกมที่ดีที่สุดในโลกในตอนนี้[3] ด้วยขุมพลังประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 ที่ให้ความเร็วแรงมากกว่าเจนเนอเรชั่น 12 ถึง 5 เท่า ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้แล็ปท็อปที่ใช้โปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ HX กว่า 60 รุ่น ในการสตรีม สร้างสรรค์ผลงาน หรือเล่นเกมได้เป็นอย่างดีและราบรื่นตามกำลังสูงสุด
  • โปรเซสเซอร์ Intel® Core™ P-ซีรีส์ และ U-ซีรีส์ เจนเนอเรชั่น 13 เพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้แล็ปท็อปดีไซน์บาง-น้ำหนักเบา: อินเทลยังเปิดตัวโปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ P-ซีรีส์ และ U-ซีรีส์ เจนเนอเรชั่น 13 ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ที่มองหาแล็ปท็อปที่มีประสิทธิภาพการใช้งานสูงพร้อมดีไซน์บางเฉียบให้สร้างสรรค์งานหรือเล่นเกมได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่แล็ปท็อปที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 จะมาพร้อมกับฟีเจอร์อย่างหน่วยประมวลผลวิสัยทัศน์ Intel® Movidius vision processing unit (VPU) ซึ่งเป็นผลจากการประสานงานด้านวิศวกรรมร่วมกับบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) ในโหมด Window Studio Effects ใหม่ล่าสุด หน่วย VPU ใหม่นี้สามารถช่วยในการประมวลผลที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อการทำงานร่วมกันของระบบและการสตรีมระดับมืออาชีพโดยเฉพาะ ทำให้หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) และหน่วยประมวลผลภาพกราฟิก (Graphics Processing Unit: GPU) มีพื้นที่ว่างสำหรับเวิร์กโหลดอื่นๆ หรือการทำงานแบบมัลติทาสกิ้งอื่น ๆ

โปรเซสเซอร์โมบายล์  Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 ใหม่ล่าสุดนี้ช่วยยกระดับประสิทธิภาพของแล็ปท็อปรุ่นใหม่ให้ทำงานได้ราบรื่นกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปที่มีดีไซน์บางเฉียบและน้ำหนักเบาแต่ประสิทธิภาพสูง หรืออุปกรณ์ 2-in-1 แบบพับได้ และฟอร์มแฟคเตอร์อื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับ IoT edge นั้น โปรเซสเซอร์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 มีฟีเจอร์รูปแบบใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติตอบโจทย์การใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย รวมถึงระบบปฏิบัติการที่ควบคุมอุณหภูมิของอุปกรณ์ให้ทำงานได้ต่อเนื่องยาวนานมากขึ้น และ CPU ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมความสามารถด้านกราฟิกและประสิทธิภาพ AI ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ถือว่าเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมค้าปลีก การศึกษา การดูแลสุขภาพ การบินและอวกาศ อุตสาหกรรม และเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยโปรเซสเซอร์ตัวใหม่นี้จะเพิ่มประสิทธิภาพการผสานรวมเวิร์กโหลดที่ดีขึ้นด้วยคอร์และเธรดที่มากขึ้น ส่งผลให้แอปพลิเคชันสามารถทำงานบนอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในเครื่องเดียว     

แล็ปท็อปรุ่นใหม่ที่ผสานพลัง Intel Evo มาพร้อมแบตเตอรี่ใช้งานได้นานขึ้น และประสบการณ์การใช้งานที่เหนือชั้น

อินเทลยังคงเดินหน้าในการยกระดับมาตรฐานแล็ปท็อปและอุปกรณ์แบบพกพาอื่น ๆ ตามมาตรฐานสัญลักษณ์ Intel® Evo™ ภายใต้ข้อกำหนดใหม่นี้ แล็ปท็อปมาตรฐาน Intel Evo ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 จะมอบประสบการณ์การใช้งานที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่

  • ประสิทธิภาพการทำงานที่เหนือชั้นและราบรื่นไม่มีสะดุด: ได้รับการรับรองถึงประสิทธิภาพความรวดเร็วในการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอแม้ในขณะที่ไม่ได้เสียบปลั๊ก อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้นานขึ้น รวมไปถึงการเปิดเครื่องแล้วใช้งานได้ทันที และการชาร์จเร็ว
  • การทำงานร่วมกันอย่างชาญฉลาด: ด้วยการยกระดับการประชุมทางวิดีโอ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เช่น Intel® Connectivity Performance Suite และ Intel® Bluetooth® LE Audio[4]
  • Intel® Unison™ ที่พร้อมใช้งานบนแล็ปท็อป: เต็มอิ่มไปกับอิสระแห่งการทำงานบนหลากหลายอุปกรณ์ได้อย่างลื่นไหล ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความ การคุยโทรศัพท์ การแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ และการถ่ายโอนไฟล์จากพีซีไปยังโทรศัพท์ที่เปิดใช้งานในระบบบนอุปกรณ์ Android หรือ iOS[5]
นายอยุช บาทรา (Ayush Batra) ผู้อำนวยการฝ่าย Technology Enablement ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น
นางสาวฉันทนา สุวรรณวงษ์ ผู้อำนายการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

นางสาวฉันทนา สุวรรณวงษ์ ผู้อำนายการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 รุ่นใหม่ล่าสุดที่ประเทศไทยในครั้งนี้ โดยโปรเซสเซอร์โมบายล์ใหม่ล่าสุดของอินเทลออกแบบมาเพื่อให้เหล่าเกมเมอร์ นักสร้างสรรค์เนื้อหา และเหล่าสาวกผู้ใช้อินเทลได้สัมผัสสุดยอดขุมพลังประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างเหนือชั้นบนอุปกรณ์แล็ปท็อปทุกรุ่น ซึ่งนี่ถือเป็นการเปิดตัวไลน์ผลิตภัณฑ์ครบทั้งตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 ในตลาดไทยด้วย”  

กราฟิก Intel® Arc™ ให้คุณสัมผัสประสบการณ์การเล่มเกมที่คุ้มค่ามากกว่าที่เคย

กราฟิก Intel® Arc™ แบบใช้งานแยก เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอินเทล ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ สู่การแข่งขันในตลาดเกมมิ่ง และนำเสนอกราฟิกการ์ดประสิทธิภาพสูงที่มาพร้อมราคาคุ้มค่าให้กับผู้ใช้ โดยนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา อินเทลได้เปิดตัวไดรเวอร์ใหม่จำนวน 8 ตัวเพื่อตอบสนองประสบการณ์การใช้งานกับเกมใหม่ ๆ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเกมที่พึ่งอัปเดตใหม่ในวันเปิดตัวมากกว่า 21 เกม  ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้สัมผัสประสิทธิภาพการทำงานที่เร็วแรงไปอีกขั้น ทำให้การเล่นเกมมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น และเพิ่มความเสถียรระหว่างการเล่นเกมได้ดียิ่งขึ้นด้วย

กราฟิกการ์ด Intel® Arc™ ทุก ๆ รุ่น ประกอบด้วยฟีเจอร์ที่น่าสนใจดังนี้

  • Xe High Performance Graphics Microarchitecture: ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีกราฟิก Intel® Arc™ A-ซีรีส์ สร้างขึ้นจากสถาปัตยกรรมไมโคร Xe High Performance Graphics ใหม่ของอินเทล ซึ่งได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมใหม่ตั้งแต่ต้นเพื่อเหล่าเกมเมอร์และนักสร้างสรรค์เนื้อหาโดยเฉพาะ นอกจากนี้เทคโนโลยี Xe HPG ยังช่วยให้กราฟิก Intel® Arc™ สามารถส่งมอบประสิทธิภาพที่ล้ำสมัย เปี่ยมด้วยศักยภาพที่เหนือกว่า และสามารถปรับขยายขนาดได้
  • AI-enhanced XeSS upscaling: เทคโนโลยีการอัปสเกลที่เสริมประสิทธิภาพด้วย AI ของอินเทลอย่าง XeSS ยังช่วยยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมให้มากขึ้นไปอีกขั้น ยกตัวอย่างเช่น ให้คุณสามารถเล่นเกมที่ความละเอียด 4K แต่ยังคงประสิทธิภาพที่เทียบเท่ากับการเล่นเกมแบบเนทีฟที่ความละเอียด 1080p  
  • DirectX 12 Ultimate ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยยกระดับเกมสู่มิติใหม่แห่งความสมจริงด้วยเทคโนโลยีกราฟิกล่าสุดอย่าง Hardware Accelerated Ray Tracing, Variable Rate Shading, Mesh Shading และ Sampler Feedback

โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4

โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ใหม่ล่าสุด พร้อมส่งมอบประสิทธิภาพการทำงานชั้นนำด้วยชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาในตัวและให้ความเร็วสูงสุดเท่าที่ซีพียูเครื่องไหนในโลกเคยมีมา เพื่อช่วยลูกค้าแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ด้านการประมวลผลที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น AI, เครื่องมือวิเคราะห์, ระบบเครือข่าย, ความปลอดภัย, การจัดเก็บข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Performance Computing: HPC)  นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4  ยังเป็นโปรเซสเซอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ผ่านการผลิตที่ยั่งยืนมากที่สุดของอินเทล โดดเด่นด้วยฟีเจอร์การใช้งานที่หลากหลายเพื่อเสริมขุมพลังและประสิทธิภาพการทำงานขั้นสุดด้วยการใช้งานทรัพยากรของซีพียูอย่างคุ้มค่าเพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน

โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 แตกต่างจากโปรเซสเซอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อื่น ๆ  ในตลาดที่ลูกค้ากำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยได้ขยายไปสู่แนวทางและกลยุทธ์เพื่อรองรับเวิร์กโหลดเป็นหลักและออกแบบมาโดยคำนึงถึงจุดประสงค์การใช้งานโดยเฉพาะ

เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้า โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นกว่า 2.9 เท่า[6] จากประสิทธิภาพการทำงานโดยเฉลี่ยต่อวัตต์สำหรับเวิร์กโหลดเฉพาะเมื่อใช้ชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาในอุปกรณ์ ประหยัดพลังงานมากถึง 70 วัตต์[7] สำหรับซีพียูหนึ่งเครื่องที่ใช้โหมดพลังงานสูงสุดและแทบไม่ลดทอนประสิทธิภาพการทำงานลงเลยสำหรับเวิร์กโหลดเฉพาะ พร้อมช่วยลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (total cost of ownership: TCO)[8] ลงถึง 52-66%

  • ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน: ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นจากชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาในโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ช่วยให้อินเทลสามารถประหยัดพลังงานในระดับแพลตฟอร์ม ลดความต้องการเร่งการประมวลผลเพิ่มเติม และช่วยให้ลูกค้าอินเทลบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
  • เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI): โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 สามารถอนุมานข้อมูลแบบเรียลไทม์ของ PyTorch ได้สูงถึง 10 เท่า[9], [10] อีกทั้งยังส่งมอบศักยภาพการฝึกฝนการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ด้วยชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาอย่าง Intel® Advanced Matrix Extension (Intel® AMX) นอกจากนี้การส่งมอบชุดซอฟต์แวร์ AI ของอินเทลช่วยให้เหล่านักพัฒนาสามารถเลือกใช้เครื่องมือ AI ได้ตามความต้องการและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความเร็วเพื่อการพัฒนา AI ซึ่งชุดเครื่องมือ AI นี้สามารถพกพาและใช้งานแยกจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานหลัก การันตีประสิทธิภาพการใช้งานจากการทดสอบโมเดลการเรียนรู้เชิงลึกและการเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ของ AI กว่า 400 รูปแบบตามยูสเคสการใช้งาน AI ทั่วไปในทุกเซกเมนต์ของตลาด
  • เครือข่าย: โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 นำเสนอตระกูลโปรเซสเซอร์ที่ได้รับการปรับแต่งโดยเฉพาะสำหรับการรองรับเวิร์กโหลดหลายประเภทที่มีประสิทธิภาพสูงบนเครือข่ายและเอดจ์ที่มีความหน่วงต่ำ โดยโปรเซสเซอร์เหล่านี้ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนอนาคตที่ีซอฟแวร์จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่โทรคมนาคมและการค้าปลีก ไปจนถึงอุตสาหกรรมการผลิตและเมืองอัจฉริยะ นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ยังมอบความจุของเครือข่ายการเข้าถึงวิทยุแบบจำลองเสมือน (virtualized radio access network: vRAN) ได้ถึงสองเท่าโดยไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า ซึ่งช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถเพิ่มประสิทธิภาพต่อวัตต์เป็นสองเท่าเพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพการทำงานที่สำคัญ การปรับขนาด และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • แพลตฟอร์ม Xeon มาพร้อมฟีเจอร์สุดหลากหลายและความปลอดภัยขั้นสูงสุด: โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ใหม่นี้มาพร้อมคุณสมบัติใหม่ล่าสุด อาทิ แบนด์วิธหน่วยความจำที่เพิ่มขึ้นด้วย DDR5, แบนด์วิธ I/O ที่เพิ่มขึ้นด้วย PCIe0 และการเชื่อมต่อระหว่าง Compute Express Link (CXL) 1.1 นอกจากนี้ อินเทลยังได้นำเสนอพอร์ตโฟลิโอการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เป็นความลับ ซึ่งครอบคลุมผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ซิลิคอนในอุตสาหกรรม  นอกจากนี้ อินเทลยังคงเป็นผู้นำด้านการให้บริการซิลิคอนเพียงรายเดียวที่นำเสนอการป้องกันความเป็นส่วนตัวผ่านการแยกแอปพลิเคชันในหน่วยความจำสำหรับการประมวลผลในดาต้าเซ็นเตอร์ด้วย Intel® Software Guard Extensions (Intel® SGX)  และที่สำคัญสถาปัตยกรรมโมดูลาร์ของโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ช่วยให้อินเทลสามารถนำเสนอโปรเซสเซอร์ที่เปี่ยมไปด้วยความหลากหลายด้านการใช้งานผ่านอุปกรณ์ตามเลข SKUs ราว 50 รายการ เพื่อยูสเคสการใช้งานหรือแอปพลิเคชันของลูกค้า

นอกจากนี้ อินเทลยังได้เปิดตัวโซลูชันของพันธมิตรในอุตสาหกรรมอย่าง Altos, Cisco, Dell, HPE และ Lenovo ที่นำโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ไปปรับใช้ด้วย  

นายอยุช บาทรา (Ayush Batra) ผู้อำนวยการฝ่าย Technology Enablement ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่จะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ของไทยให้เติบโตก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยตอบสนองความต้องการด้านการประมวลผลให้แก่องค์กรธุรกิจในไทยด้วยผลิตภัณฑ์ล่าสุดอย่างโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ที่ช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและศักยภาพการใช้งาน ไปจนถึงยกระดับความปลอดภัยและส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนให้แก่องค์กรธุรกิจ สอดคล้องกับที่ประเทศไทยกำลังเร่งพัฒนาการเปิดรับนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อตอบรับปริมาณความต้องการบริการคลาวด์ที่เพิ่มมากขึ้นในตลาด”

การวางจำหน่าย

โปรเซสเซอร์โมบายล์และเดสก์ท็อป Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 และกราฟิก Intel® Arc™ A-ซีรีส์ วางจำหน่ายแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่ร้านค้าไอทีชั้นนำทั่วประเทศ

ส่วนโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ก็มีวางจำหน่ายแก่ลูกค้าองค์กรธุรกิจในไทยแล้วเช่นกัน โดยสามารถสอบถามตัวแทนผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีและคลาวด์ได้แล้ววันนี้


[1] อ้างอิงจาก Intel Core i9-13900K ซึ่งเป็นเดสก์ท็อปโปรเซสเซอร์ที่เร็วที่สุดในโลกที่ความถี่ 5.8 GHz ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565

[2] Intel Core i9-13980HX เจนเนอเรชั่น 13 เป็นโปรเซสเซอร์โมบายล์ที่เร็วที่สุดที่ความเร็ว 5.6GHz จากข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2565

[3] เมื่อวัดจากคุณสมบัติเฉพาะด้านและประสิทธิภาพการทำงานในโหมดเปรียบเทียบสมรรถนะในขณะเล่นเกมระหว่าง Intel® Core™ i9-13950HX เจนเนอเรชั่น 13 ที่ใช้ร่วมกับ GPU ของ NVIDIA RTX 3080 Ti เทียบกับ Intel® Core™ i9-12900HX เจนเนอเรชั่น 12 ที่ใช้ GPU รุ่นเดียวกัน และเมื่อเทียบกับ AMD R9-6900HX ที่ใช้ GPU รุ่นเดียวกัน จากข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565

[4] Intel® Connectivity Performance Suite ใช้งานได้เฉพาะบน Windows เท่านั้น

[5] โซลูชัน Intel® Unison™ ใช้ได้เฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์แล็ปท็อป Intel® Evo™ ที่ใช้งานได้กับพีซี Windows ขับเคลื่อนด้วยขุมพลัง Intel Core เจนเนอเรชั่น 12 หรือใหม่กว่า และจับคู่กับโทรศัพท์ที่ใช้ Android หรือ iOS เท่านั้น อุปกรณ์ทั้งหมดต้องใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นที่รองรับเท่านั้น ดูรายละเอียดและข้อกำหนดในการตั้งค่า ได้ที่ intel.com/performance-evo ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไป

[6] ฟังก์ชัน Geoman ของเวิร์กโหลดต่อไปนี้: RocksDB (IAA vs ZTD), ClickHouse (IAA vs ZTD), SPDK สื่อขนาดใหญ่และพร็อกซีคำขอฐานข้อมูล (DSA vs out of box), การจัดประเภทของรูปภาพ ResNet-50 (AMX vs VNNI), Object Detection SSD- ResNet-34 (AMX เทียบกับ VNNI),QATzip(QAT vszlib)

[7] แพลตฟอร์ม Intel Reference Validation แบบ 1 โหนด, Intel® Xeon 8480+ (56C,2GHz, 350W TDP) เร็วขึ้น 2 เท่า, HT On, Turbo ON, มีหน่วยความจำทั้งหมด: 1TB (16 ช่อง/ 64GB/ 4800 MHz), 1x P4510 3.84TB NVMe PCIe Gen4 drive, BIOS: 0091.D05, (ucode:0x2b0000c0), CentOS Stream 8, 5.15.0-spr.bkc.pc.10.4.11.x86_64, Java Perf/Watt w/ openjdk-11+28_linux-x64_bin, 112 อินสแตนซ์, ขนาดฮีปเริ่มต้น/สูงสุด 1550MB ทดสอบโดยอินเทล เมื่อเดือนตุลาคม 2565

[8] การจัดประเภทของรูปภาพ ResNet50

การกำหนดค่าใหม่:  โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable 8490H เจนเนอเรชั่น 4 (60 คอร์) รุ่นก่อนผลิตจริง แบบ 1 โหนด เร็วขึ้น 2 เท่า พร้อม Intel® Advanced Matrix Extensions (Intel AMX), ในรุ่นก่อนผลิตจริง SuperMicroSYS-221H-TNR พร้อมหน่วยความจำถึง 1024GB DDR5 (16×64 GB), microcode  0x2b0000c0, HT On, Turbo On, SNC Off, CentOS Stream 8, 5.19.16-301.fc37.x86_64, 1×3.84TB P5510 NVMe, 10GbE x540-AT2, Intel TF 2.10, AI Model=Resnet 50 v1_5, คะแนนสูงสุดที่ได้รับ: BS1 AMX 1 คอร์/อินสแตนซ์ (สูงสุด 15ms SLA) โดยใช้ physical core ซึ่งได้ทดสอบโดยอินเทล เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ข้อมูลพื้นฐาน:  โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable 8380 เจนเนอเรชั่น 3 รุ่นผลิตจริง  (40 คอร์) แบบ 1 โหนด เร็วขึ้น 2 เท่า บน SuperMicroSYS-220U-TNR, หน่วยความจำ DDR4 รวม 1024GB (16×64 GB), microcode 0xd000375, HT On, Turbo On, SNC Off, CentOS Stream 8, 5.19.16-301.fc37.x86_64, 1×3.84TB P5510NVMe, 10GbE x540-AT2, Intel TF2.10, AI Model=Resnet 50 v1_5 คะแนนสูงสุดีที่ได้รับ: BS1 INT8 2 คอร์/อินสแตนซ์ (สูงสุด 15ms SLA) โดยใช้คอร์จริง ทดสอบโดยอินเทล เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565

สำหรับชุดเซิร์ฟเวอร์ 50 เครื่อง ของโปรเซสเซอร์ Intel Xeon 8380 (RN50 w/DLBoost) เจนเนอเรชั่น 3 ประมาณการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565:

ค่าใช้จ่ายด้านทุน (CapEx) อยู่ที่ 1.64 ล้านดอลลาร์

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OpEx) (4 ปี รวมค่าไฟและระบบทำความเย็น โครงสร้างพื้นฐานและค่าบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์) อยู่ที่ 7.399 แสนดอลลาร์

การใช้พลังงานเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) (4 ปีต่อเซิร์ฟเวอร์): 44627, PUE 1.6

สมมติฐานอื่นๆ: ค่าสาธารณูปโภคอยู่ที่ 0.1 ดอลลาร์/kWh, kWh ถึง kg CO2 จำนวน 0.42394

สำหรับชุดเซิร์ฟเวอร์ 17 เครื่องที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Xeon 8490H (RN50 w/AMX) เจนเนอเรชั่น 4 ประมาณการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565:

ค่าใช้จ่ายด้านทุน (CapEx) อยู่ที่ 7.994 แสนดอลลาร์

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OpEx) (4 ปี รวมค่าไฟและระบบทำความเย็น โครงสร้างพื้นฐานและค่าบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์) อยู่ที่ 2.753 แสนดอลลาร์

การใช้พลังงานเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) (4 ปีต่อเซิร์ฟเวอร์): 58581, PUE 1.6

AI — ต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) ลดลง 55% เมื่อใช้เซิร์ฟเวอร์ ขุมพลังโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® เจนเนอเรชั่น 4 ในจำนวนที่น้อยลง โดยยังสามารถตอบสนองความต้องการด้านสมรรถนะได้ในระดับเดิม ดู [E7] intel.com/processorclaims: โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไป

ฐานข้อมูล — TCO ลดลง 52% เมื่อใช้เซิร์ฟเวอร์ ขุมพลังโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® เจนเนอเรชั่น 4 ในจำนวนที่น้อยลง โดยยังสามารถตอบสนองความต้องการด้านสมรรถนะได้ในระดับเดิม ดู [E8] intel.com/processorclaims: โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไป

ระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (HPC) — TCO ลดลง 66% เมื่อใช้เซิร์ฟเวอร์ ขุมพลังโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® CPU Max ในจำนวนที่น้อยลง โดยยังสามารถตอบสนองความต้องการด้านสมรรถนะในระดับเดิม ดู [E9] intel.com/processorclaims: โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไ

[9] ประสิทธิภาพการอนุมานข้อมูลแบบเรียลไทม์ของ PyTorch สูงขึ้นถึง 10 เท่า เมื่อใช้ Intel® Advanced Matrix Extensions (Intel® AMX) (BF16) ในตัว เทียบกับรุ่นก่อนหน้า (FP32)ฟังก์ชัน Geomean ใน PyTorch ของ ResNet50, Bert-Large, MaskRCNN, SSD-ResNet34, RNN-T, Resnext101

[10] สมรรถนะในการฝึกฝนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ PyTorch สูงขึ้นถึง 10 เท่า เมื่อใช้ Intel® Advanced Matrix Extensions (Intel® AMX) (BF16) ในตัว เทียบกับรุ่นก่อนหน้า (FP32) ฟังก์ชัน Geomean ใน PyTorch ของ ResNet50, Bert-Large, DLRM, MaskRCNN, SSD-ResNet34, RNN-T

About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

CoreWeave พร้อมขยายธุรกิจด้วยวงเงินสินเชื่อ 650 ล้านดอลลาร์

CoreWeave ผู้ให้บริการคลาวด์สำหรับการประมวลผล AI ได้รับวงเงินสินเชื่อ 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากบริษัทการลงทุนชั้นนำเพื่อขยายธุรกิจทั่วโลกและเพิ่มขีดความสามารถในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ AI

AMD เปิดตัว MI325X Accelerators ท้าชน NVIDIA H200 

ในช่วงค่ำคืนที่ผ่านมา ภายในงาน AMD Advancing AI 2024 ปีนี้ ทาง AMD ได้เปิดตัว AI Accelerators ใหม่รุ่น MI325X ในตระกูล …