InfluxData อัปเดตความสามารถการประมวลผลยกระดับตอบโจทย์ด้าน Observability

InfluxData ได้ประกาศเพิ่มความสามารถให้แก่ฐานข้อมูล Time Series ของตนเพื่อตอบโจทย์การใช้งานข้อมูลในระดับใกล้เคียงเรียลไทม์

รายการหลักของสารประกาศก็คือฐานข้อมูล Influx สามารถวิเคราะห์เมทริกซ์ อีเว้นต์ และติดตามข้อมูลใน Datastore หนึ่งๆได้โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ว่าถูกรวบรวมมาอย่างไร นอกจากนี้ยังมีการประกาศ Managed Service ในการให้บริการ InfluxDB แบบ Single Tenant จากเดิมที่มีเพียงแค่ Multi-tenant ที่ใช้สถาปัตยกรรม Serverless

InfluxData ยังได้เผยความคืบหน้าว่าในช่วงต่อไปของปีนี้จะมีการประกาศออก InfluxDB 3.0 Clustered และ InfluxDB 3.0 Edge เพื่อตอบโจทย์การใช้งานจากที่ใดๆ ตลอดจากสนองโจทย์ด้าน Observability ที่เป็นหัวใจของ DevOps โดยอันที่จริงแล้วช่วงสามปีที่ผ่านว่า InfluxDB ถูกปรับปรุงกระบวนการทำงานภายด้วย IOx ซึ่งใช้โอเพ่นซอร์ส Apache Arrow Memory format และเขียนในภาษา Rust ทำให้สามารถประมวลผลรองรับข้อมูลที่หลั่งไหลมาอย่างต่อเนื่องในปริมาณมหาศาล รวมไปถึงใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันการบีบอัดข้อมูลลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลและเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม Data Lake เช่น DataFusion, FlishgtSQL และ Parquet ได้ โดยคาดว่าเมื่อ InfluxDB 3.0 ออกมาจะช่วยให้ทีม DevOps แก้ปัญหาในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง อนึ่งไม่ได้หมายความว่าแนวทาง Batch-oriented จะหายไปแต่อาจกลายเป็นทางเลือกที่ควบคู่กันไปสำหรับการใช้งาน

ที่มา : https://devops.com/influxdata-makes-processing-observability-data-at-scale-more-efficient/

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Meta เผยแผนเล็งใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับดาต้าเซนเตอร์

เป็นที่รู้กันว่าการประมวลผลด้าน AI ต้องการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง Meta เองเป็นหนึ่งในผู้เล่นด้าน AI ยักษ์ใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกที่ยังต้องสอดคล้องต่อเรื่องอัตราการปลดปล่อยคาร์บอน โดยล่าสุดแนวทางการใช้ความร้อนใต้พิภพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว

OpenAI เปิดตัว OpenAI o1 โมเดลซีรีส์ใหม่โค้ดเนม Strawberry เน้นให้เหตุผลในงานที่ซับซ้อนขึ้น

วันพฤหัสที่ผ่านมา OpenAI ได้เปิดตัวโมเดล OpenAI o1 ภายใต้โค้ดเนม “Strawberry” โมเดล AI ซีรีส์ใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อใช้เวลาในการประมวลผลในคำตอบให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบคำถามในปัญหาที่ยากขึ้นกว่าเดิมได้ และกำลังจะเทียบชั้นกับนักศึกษาปริญญาเอก (PhD) ด้านฟิสิกส์ เคมี …