ภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน แม้ว่าองค์กรจะพยายามล้อมกรอบป้องกันด้วยมาตรการที่รัดกุมเพียงใด แต่ก็ไม่มีทางการันตีได้ว่าระบบจะมั่นคงปลอดภัย 100% นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราคงได้ยินคำว่า Cyber Resiliency ซึ่งต้องทำให้องค์กรกลับมาให้บริการได้เร็วที่สุด แน่นอนว่าคำว่า ‘เร็ว’ ไม่ได้ ‘ง่าย’ อย่างที่คิด แต่ต้องเริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบฮาร์ดแวร์ไปจนถึงการมีเครื่องมือช่วยเหลือที่ครอบคลุมทุกขั้นตอน โดย IBM Storage DS8000 Gen 10 คือโซลูชันที่รวบรวมทุกความสามารถนั้นไว้
Cyber Security ไม่เท่ากับ Cyber Resiliency
Cyber Security เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกองค์กรย่อมมีการวางมาตรการป้องกันไว้ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นกลไกการทำ Authentication เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยมิชอบ รวมไปถึงการจำกัดสิทธิ์สำหรับแต่ละการใช้งาน(Access Control) ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูล (Data Protection) แต่มาตรการเหล่านี้เป็นคนละเรื่องเดียวกับกับ Cyber Resiliency ที่มีแนวคิดว่าหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วองค์กรจะกลับมาสู่การให้บริการอย่างไรได้รวดเร็วที่สุด และนั่นนำไปสู่ฟีเจอร์สำคัญที่ IBM ได้นำเสนอฟีเจอร์สำคัญใน Storage หลายรุ่นรวมถึง DS8000 Gen 10 ซึ่งก็คือ
1.) IBM SafeGuarded Copy – เป็นฟีเจอร์สำคัญที่ช่วย การันตีว่าสำเนาข้อมูลนั้นจะไม่สามารถเข้าถึงได้จากโฮสต์เดียวกัน ในกรณีที่แยกจัดเก็บใน Storage เดียวกันเรียกว่า Logically Air-gapped แต่หากแยกเก็บคนละอุปกรณ์เชิงกายภาพเช่น เทป หรือ Storage อื่นจะเรียกว่า Physically Air-gapped โดยสำเนาจะไม่สามารถถูกทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลงแม้ใช้สิทธิ์ระดับ Admin แต่จะถูกจัดการได้ผ่านสิทธิ์พิเศษหรือครบอายุการจัดเก็บเท่านั้น (Write Once Read Many : WORM)
2.) IBM Cyber Vault – แม้จะมีการเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วย Safeguarded Copy แต่เราก็ต้องคอยตรวจสอบอยู่เรื่อยๆว่าข้อมูลเหล่านั้นปลอดภัยดีอยู่หรือได้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วที่สำเนาชุดใด นั่นคือหน้าที่ของโซลูชัน IBM Cyber Vault ที่ช่วยให้การตรวจสอบทำได้อย่างอัตโนมัติโดยอาศัยความสามารถของ IBM Copy Services Manager และ IBM PowerHA ที่ทำให้กู้คืนข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็ว
การรับมือกับแรนซัมแวร์ต้องตรวจจับได้รวดเร็ว
SafeGuarded Copy และ Cyber Vault เป็นโซลูชันปลายทางที่ช่วยให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าท่านจะมีข้อมูลที่ปลอดภัยพร้อมกลับไปทำงานต่อ แต่สิ่งที่ดีกว่านั้นในการรับมือกับแรนซัมแวร์ก็คือการตรวจจับได้เร็วซึ่ง IBM ได้นำเสนอชิปประมวลผลพิเศษที่เรียกว่า Flash Core Module โดยในเจนเนอเรชันที่ 4 (FCM4) จะมีความสามารถในการตรวจจับความผิดปกติของการเขียนข้อมูลในแต่ละไดร์ฟ กล่าวคือหากเกิดถูกแรนซัมแวร์เข้าเล่นงาน ระบบของ IBM จะสามารถตรวจจับพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้งานได้ด้วยไม่ต้องรอให้กิจกรรมการโจมตีจบลงก่อน นั่นคือความใส่ใจที่ IBM ได้สอดแทรกเข้ามาตั้งแต่วันแรกของการออกแบบฮาร์ดแวร์
ฟีเจอร์ที่สำคัญอื่นๆของ IBM Storage DS8000 Gen10
- ชิป FCM4 ไม่ได้มีหน้าที่ในการตรวจสอบความผิดปกติเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่บีบอัดข้อมูล(compression) และยังสามารถช่วยเข้ารหัสข้อมูลได้ที่รองรับ AES-256 ซึ่งการมีชิปเฉพาะทางจะช่วยให้งานเหล่านี้ไม่กระทบประสิทธิภาพของสตอเรจโดยรวม
- หากองค์กรของท่านต้องการการทำงานที่ไม่มีสะดุด ฟีเจอร์ Hyperswap จะช่วยให้องค์กรทำงานได้ต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อสตอเรจตัวหนึ่งเกิดสูญเสียไปไซต์สำรองขององค์กรยังเข้าถึงข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องหรือกล่าวคือการเป็นระบบ active-active อย่างแท้จริง
- เมื่อจับคู่กับ IBM Z ฟีเจอร์ Geographically Dispersed Parallel Sysplex (GDPS) จะช่วยเรื่องของการทำ failover อย่างอัตโนมัติลดระยะเวลาในการ Recovery ได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มประสิทธิเมื่อใช้ร่วมกับระบบ IBM Z ได้ผ่าน zHyperlink ที่เป็นช่องทางเชื่อมต่อตรงระหว่าง CPU และ I/O ลด Overhead การประมวลผลหลายอย่าง เช่น ฐานข้อมูล DB2 เป็นต้น โดย zHyperlink บน DS8000 Gen10 ได้ถูกอัปเกรดเป็น PCIe เวอร์ชัน 4 ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อได้สูงขึ้น
- การทำงานของ DS8000 ที่จับคู่กับ IBM Z หรือ IBM i จะช่วยสนับสนุนการทำให้งานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จากการที่ OS ของทั้งสองฝั่งสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อทั้งฝั่งออกคำสั่งและฝั่งเขียนอ่านข้อมูล เช่น การกระจาย Block ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอในดิสก์ต่างๆ ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหาย เป็นต้น
- รองรับการส่งข้อมูลด้วยโปรโตคอล TLS 1.3
- พร้อมสำหรับการทำหน้าที่เป็นที่เก็บข้อมูลใน Container ด้วยการรองรับ Container Storage Interface(CSI)
สนใจโซลูชัน IBM Storage DS8000 หรือโซลูชัน IBM Storage อื่นๆของ IBM สามารถติดต่อทีมงาน Metrosystems ได้ที่
คุณ Puttasak Kanhadilok
โทร: 02-089-4456
อีเมล: puttakan@metrosystems.co.th