CDIC 2023

ไอบีเอ็มเปิดตัวแพลตฟอร์มโมบายล์คลาวด์ “บลูมิกซ์” ตอบโจทย์ธุรกิจทุกขนาด

  • พร้อมด้วยกว่า 50 บริการ รวมถึงการผนวกความสามารถด้านการบิสสิเนสอนาไลติกส์เพื่อมุมมองแบบเรียลไทม์
  • พัฒนาขึ้นบนมาตรฐานเปิด โดยใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ฟาวน์ดรีและซอฟต์เลเยอร์

ibm_logo

 

ไอบีเอ็มเปิดตัวแพลตฟอร์มโมบายล์คลาวด์ “บลูมิกซ์” ตอบโจทย์ธุรกิจทุกขนาด ปลดปล่อยพันธนาการนักพัฒนาด้วยความยืดหยุ่นฉับไว ผสานอนาไลติกส์สร้างปรากฏการณ์ใหม่โมบายล์แอพพลิเคชั่นไทย

 

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 23 กรกฎาคม 2557: ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) เปิดตัวแพลตฟอร์มบลูมิกซ์ (Bluemix) สำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนคลาวด์ที่เปิดกว้าง โดยปัจจุบันมีบริการบนคลาวด์มากกว่า 50 รายการ ให้ธุรกิจทุกขนาดตั้งแต่สตาร์ทอัพไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ สามารถสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมนำขึ้นให้บริการผ่านคลาวด์ได้ในระยะเวลาอันสั้น

IBM_PanelDiscussion

แพลตฟอร์มบลูมิกซ์ได้รับการพัฒนาขึ้นบนมาตรฐานเปิด (open standard) และคลาวด์ฟาวน์ดรี (Cloud Foundry) ทำให้นักพัฒนาไม่ต้องล็อกอินเข้าระบบ ทั้งยังสามารถนำแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาไว้แล้วมาต่อยอดบนคลาวด์ที่เปิดกว้างหรือไฮบริดคลาวด์ได้ เอื้อให้นักพัฒนาสามารถทำงานกับระบบจัดการเบื้องหลังขององค์กรพร้อมไปกับการเชื่อมโยงเว็บแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพาและโซเชียลได้อย่างคล่องตัว นักพัฒนาสามารถเลือกทำงานกับเครื่องมือที่คุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีของไอบีเอ็ม บริษัทอื่นๆ หรือเทคโนโลยีเปิด บนแพลตฟอร์มที่สามารถปรับเพิ่มหรือลดขนาดได้อย่างยืดหยุ่น และเปิดให้ทั้งบริษัทหน้าใหม่และองค์กรขนาดใหญ่สามารถเข้ามาพัฒนาแอพได้อย่างไม่ซับซ้อน

“การเปิดตัวบลูมิกซ์ในวันนี้นับเป็นก้าวสำคัญของไอบีเอ็ม จากการที่ไอบีเอ็มได้มุ่งมั่นพัฒนาคลาวด์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง โดยไอบีเอ็มได้ลงทุนไปแล้วกว่า 7 พันล้านดอลลาร์เพื่อเข้าซื้อกิจการของบริษัทด้านเทคโนโลยีคลาวด์จำนวน 17 บริษัทนับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา” นายมิทเชล ยัง รองประธาน ธุรกิจซอฟต์แวร์ ไอบีเอ็ม อาเซียน กล่าว “ลำพังเพียงแค่ในช่วงปีนี้ ไอบีเอ็มได้ประกาศลงทุน 1.2 พันล้านดอลลาร์เพื่อขยายระบบคลาวด์ทั่วโลกผ่านซอฟต์เลเยอร์ และ 1 พันล้านดอลลาร์สำหรับการพัฒนาระบบคลาวด์ดังที่ได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์มบลูมิกซ์ นอกจากนี้ยังมีการลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจใหม่ที่ชื่อว่าวัตสันกรุ๊ป (Watson Group) เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีค็อกนิทิฟคอมพิวติ้งบนคลาวด์”

นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังทำงานร่วมกับนักวิชาการ นักพัฒนา พันธมิตรทางธุรกิจ และบริษัทหน้าใหม่ เพื่อสร้างบริการและเครื่องมือบนบลูมิกซ์ที่จะช่วยให้การพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น พร้อมความปลอดภัยและนวัตกรรมที่เหนือกว่า โดย มร.คริส โอ’คอนเนอร์ รองประธานฝ่ายกลยุทธ์และวิศวกรรม ไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่นได้กล่าวในโอกาสการเปิดตัวคอมมิวนิตี้ดิเวลลอปเปอร์เวิร์ค (developerWork) ว่าบลูมิกซ์เป็นก้าวสำคัญสำหรับนักพัฒนาโดยเป็นแพลตฟอร์มที่เพียบพร้อมด้วยบริการและความสามารถต่างๆ ที่จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำเวลาที่มีไปทุ่มกับการริเริ่มและสร้างนวัตกรรมสำหรับแอพใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่แทน

บริการคลาวด์กว่า 50 รายการช่วยให้บลูมิกซ์สร้างและผสานรวมแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

แพลตฟอร์มบลูมิกซ์ของไอบีเอ็มได้รับการออกแบบเพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบิ๊กดาต้า โมบายล์ และโซเชียลบนคลาวด์ ตัวอย่างของบริการจากบลูมิกซ์ อาทิ

  • บริการ Cloud Integration ที่รองรับการเชื่อมต่ออย่างปลอดภัยระหว่างแอพพลิเคชั่นสาธารณะและข้อมูลภายในองค์กร นักพัฒนาจะสามารถใช้เครื่องมือเชื่อมต่อที่กำหนดค่าไว้ล่วงหน้าเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการผสานรวมระบบ หรือพัฒนา API แบบที่ต้องการ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกลับไปยังระบบที่ผสานรวมข้อมูลจากธุรกรรมทางธุรกิจและการป้อนคำสั่ง (system of record) ที่ได้รับการปกป้องด้วยไฟร์วอลล์ขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และทันทีที่ต้องการ ความสามารถในการจัดการ API นับเป็นกลไกที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเผยแพร่ API ในรูปแบบของการบริการตนเอง (self-service) ซึ่งสามารถนำไปแบ่งปันใช้ร่วมกับระบบ API ในวงกว้าง ช่วยให้นักพัฒนาสามารถผสมผสาน PaaS ที่มีพื้นฐานบนคลาวด์ เข้ากับคลาวด์แอพพลิเคชั่นของบริษัทอื่น และระบบภายในองค์กรที่ได้รับการป้องกันด้วยเกตเวย์ความปลอดภัย โดยเปลี่ยนย้ายระหว่างระบบคลาวด์และระบบภายในองค์กรไปสู่สภาพแวดล้อมแบบไฮบริดที่มีการผนวกรวมเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน
  • บริการInternet of Thingsช่วยให้นักพัฒนาสามารถลงทะเบียนและเชื่อมต่ออุปกรณ์บนเครือข่าย เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์และเซ็นเซอร์ที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ เข้ากับระบบคลาวด์ได้อย่างฉับไวและปลอดภัย จึงสามารถผนวกรวมและตอบสนองต่อข้อมูลและเหตุการณ์ต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์  ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นที่จัดการ วิเคราะห์ แสดงผล และโต้ตอบกับข้อมูลเกี่ยวกับเวลาและสถานที่จำนวนมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นโดยยานพาหนะ อุปกรณ์ที่สวมใส่ โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์ เซ็นเซอร์ และอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • บริการ Data and Analytics สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการนำเสนอโมบายล์แอพพลิเคชั่นที่มุ่งเน้นข้อมูลในระดับเว็บ  ด้วยบริการใหม่ๆ เหล่านี้ รวมถึงบริการภูมิสารสนเทศ (geospatial) อนุกรมเวลา (time series) การให้คะแนนเชิงคาดการณ์ (predictive scoring) และการรายงาน ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นขั้นสูงที่แสดงข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์และดำเนินการตัดสินใจทางด้านธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น นักพัฒนาจะสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นที่รวบรวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์ ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้ง ข้อมูลสภาพอากาศ และแนวโน้มการใช้งานจากเครือข่ายอุปกรณ์ เพื่อระบุและหลีกเลี่ยงปัญหาด้านการบำรุงรักษา นอกจากนี้ ความสามารถใหม่ๆ ในด้านการสร้างข้อมูลจำลองเพื่อใช้ในการทดสอบ การสืบค้นข้อมูล และการตรวจสอบ จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นที่มาพร้อมการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้
  • บริการDevOps เสริมศักยภาพให้แก่นักพัฒนา ฝ่ายไอที และทีมงานธุรกิจ ด้วยสภาพแวดล้อมการพัฒนาครบวงจรที่รวดเร็วและเปิดกว้าง สามารถขยายขนาดจากการรองรับนักพัฒนารายบุคคลไปสู่ทีมงานระดับองค์กร โดยบริการ DevOps Continuous Integration มาพร้อมความสามารถในการ “สร้าง” แบบครบวงจรเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วฉับไวตลอดกระบวนการพัฒนา บริการ DevOps Mobile Quality Assurance (MQA) จะช่วยวิเคราะห์ความรู้สึกของผู้ใช้เพื่อระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะลุกลาม ขณะที่บริการ Monitoring and Analytics จะระบุปัญหาของแอพพลิเคชั่นระหว่างขั้นตอนการพัฒนา โดยจะใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยให้แอพพลิเคชั่นบรรลุเป้าหมายในเรื่องความพร้อมใช้งานและประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริการ DevOps ยังครอบคลุมบริการใหม่อย่าง RapidApp ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือแสดงผลเพื่อขยายขอบเขตของเว็บแอพพลิเคชั่นและแอพพลิเคชั่นธุรกิจที่นักพัฒนาสร้างขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเพิ่มเติมแต่อย่างใด

IBM_Mitchell_Chris_Jadesada

ระบบนิเวศน์ที่ช่วยเร่งการพัฒนาคลาวด์แอพพลิเคชั่น

ในโอกาสการเปิดตัวบลูมิกซ์ ไอบีเอ็มยังได้จัดหาทักษะและเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย 8 แห่งได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของคลาวด์และบลูมิกซ์ พร้อมการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนักพัฒนาระดับมืออาชีพ พันธมิตรทางธุรกิจของไอบีเอ็ม และองค์กรธุรกิจจากแวดวงโทรคมนาคม การเงิน และเกม

“ซอฟต์แวร์ปาร์คมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรและธุรกิจด้าน ICT รวมไปถึงการผลักดันการนำซอฟต์แวร์โซลูชั่นไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยปัจจุบันบิ๊กดาต้า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพา และโซเชียลมีเดีย กำลังเป็นเทคโนโลยีที่พร้อมและสำคัญในการใช้พัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นใหม่ๆ ให้ตรงและเกิดประโยชน์ต่อความต้องการของผู้ใช้ในธุรกิจ” นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park) กล่าว “การเปิดตัวแพลตฟอร์มบลูมิกซ์นับเป็นช่องทางและมาตรฐานใหม่สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นที่ตอบโจทย์ธุรกิจไทย ขณะที่การพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นบนคลาวด์ที่เน้นการประสานการพัฒนาร่วมกับผู้ใช้ จะมีความสำคัญอย่างมากต่อการเพิ่มโอกาสและศักยภาพของการเข้าถึงตลาด SME ที่มีงบลงทุนด้านซอฟต์แวร์โซลูชั่นจำกัด”

นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังได้เปิดตัวคอมมิวนิตี้ดิเวลลอปเปอร์เวิร์ค (developerWork) ที่ซึ่งผู้เชี่ยวชาญของไอบีเอ็มและพันธมิตรทางธุรกิจจะช่วยส่งมอบทักษะ มุมมองทางธุรกิจ และเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการสร้างสรรค์คลาวด์แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ บนแพลตฟอร์มบลูมิกซ์แก่นักพัฒนารุ่นใหม่ เพื่อปฏิวัติรูปแบบการใช้งานเทคโนโลยีอุปกรณ์สื่อสารพกพา บิ๊กดาต้า และอื่นๆ

ขณะเดียวกัน เพื่อยกระดับระบบนิเวศน์ (ecosystem) ของการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นในเมืองไทย ไอบีเอ็มจะจัดให้มีการประกวด IBM Bluemix Garage for Developer ในเดือนตุลาคมนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้นักพัฒนาได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญจากซอฟต์แวร์ปาร์ค ทรู คอร์ปอเรชั่น ไอบีเอ็ม พันธมิตรทางธุรกิจของไอบีเอ็ม และองค์กรธุรกิจอื่นๆ เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นที่มุ่งรองรับธุรกิจโดยเฉพาะ

“ในการประกวดนี้ นักพัฒนาจะต้องสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นที่แปลกใหม่ สามารถนำไปใช้และแก้ปัญหากรณีทางธุรกิจต่างๆ ได้จริง โดยผู้ชนะการประกวด IBM Bluemix Garage for Developer ที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดทางธุรกิจและทักษะที่เป็นเลิศ จะเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการเข้าร่วมกิจกรรม IBM ASEAN Global Entrepreneur ที่ประเทศสิงคโปร์ และจะมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกับผู้ประกอบการหน้าใหม่และผู้บริหารองค์กรธุรกิจจากประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาค” นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว

บริการ Bluemix แบบครบวงจรจากไอบีเอ็มและพันธมิตรทางธุรกิจ

ไอบีเอ็มยังคงสร้างสรรค์เทคโนโลยีบนแพลตฟอร์ม Bluemix เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น บริการรับส่งข้อมูล MQ Light ของไอบีเอ็มที่พร้อมใช้งานแล้วทั้งบน Bluemix และ IBM Cloud Marketplace เพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อองค์ประกอบต่างๆ ของแอพพลิเคชั่นเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายบนคลาวด์ ไม่ว่าจะใช้ภาษาใดในการเขียนโปรแกรมก็ตาม นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังได้สร้างสรรค์บริการ Gamification บน Bluemix เพื่อสร้างระบบข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่รองรับการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายโดยมีโมบายล์และโซเชียลแพลตฟอร์มเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ (system of engagement) สำหรับคลาวด์แอพพลิเคชั่น โดยครอบคลุมหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมและนำเสนอสิ่งตอบแทนในลักษณะที่คล้ายกับเกม

บริการของพันธมิตรทางธุรกิจของไอบีเอ็มที่ได้รับการสร้างสรรค์บน Bluemix และ IBM Cloud Marketplace ยังครอบคลุมถึง Redis Cloud ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลและรันชุดข้อมูล Redis ได้อย่างรวดเร็ว  โดยผู้ใช้ Bluemix จะสามารถเชื่อมต่อกับ Redis ได้ผ่านคลาวด์ IBM SoftLayer ที่ทรงพลัง ช่วยเพิ่มทั้งความยืดหยุ่นในการปรับเพิ่ม-ลดขนาด และความพร้อมใช้งานของข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสร้างคลาวด์แอพพลิเคชั่นต่างๆ

บริการอื่นๆ จากพันธมิตรทางธุรกิจของไอบีเอ็ม ได้แก่ บริการจาก Sonian ที่ได้รับการเพิ่มเติมลงบนหลากหลายโซลูชั่น ช่วยให้นักพัฒนาสามารถบริหารจัดการและกลั่นกรองข้อมูลบิ๊กดาต้าได้  ส่วนบริการเด่นของ Sonian นั่นคือ Email Archive จะเอื้อให้ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมหาศาลที่สร้างขึ้นจากอีเมล ไฟล์แนบ และทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น  ขณะที่บริการ Bluemix ใหม่ล่าสุดจาก ClearChat จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาและทดสอบแพลตฟอร์มโมบายล์หลายๆ แพลตฟอร์ม อาทิ iOS และ Android ได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ บริการโมบายล์ของ ClearChat นับเป็นช่องทางที่ช่วยให้ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ไม่ว่าจะใช้แพลตฟอร์มหรืออุปกรณ์ใดก็ตาม

ดร. ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ รองผู้อำนวยการและหัวหน้าศูนย์นวัตกรรม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บลูมิกซ์กำลังสร้างโมเดลใหม่สำหรับคลาวด์แอพพลิเคชั่นในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ กล่าวคือ ในยุคที่แพลตฟอร์มที่รองรับบิ๊กดาต้า โซเชียล เทคโนโลยีอุปกรณ์สื่อสารพกพา และการรักษาความปลอดภัย รวมถึงแพลตฟอร์มสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างโมบายล์คอมเมิร์ซ ค้าปลีก การแพทย์ เกษตรกรรม ยานยนต์ ไปจนถึงการเงิน กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บลูมิกซ์จะช่วยให้ธุรกิจสามารถแก้ปัญหาช่องว่างระหว่างเครื่องมือที่วางแผนว่าจะใช้ในอนาคตกับเวิร์คโหลดและบริการที่องค์กรใช้อยู่ในปัจจุบัน ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดที่ความรวดเร็วหมายถึงทุกสิ่ง”

เกี่ยวกับเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งของไอบีเอ็ม:

ไอบีเอ็มให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 30,000 รายทั่วโลก ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญกว่า 40,000 คน โดยปัจจุบันไอบีเอ็มมีโซลูชั่นคลาวด์ SaaS มากกว่า 100 รายการ พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายพันคนที่มีความรู้ในมุมอุตสาหกรรมลึกซึ้งและช่วยให้ลูกค้าก้าวนำในธุรกิจ และเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ 40 แห่งทั่วโลก  นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ไอบีเอ็มได้ลงทุนไปแล้วกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สำหรับการเข้าซื้อกิจการของบริษัท 17 แห่ง เพื่อเร่งเสริมสร้างศักยภาพทางด้านคลาวด์ที่เหนือชั้น ไอบีเอ็มถือครองสิทธิบัตร 1,560 รายการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคลาวด์โดยเน้นไปในด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังรั้งตำแหน่งผู้นำการจดสิทธิบัตรรายปีสูงสุดในสหรัฐฯ ต่อเนื่องมาแล้ว 21 ปีติดต่อกัน คลาวด์สาธารณะ (public cloud) ของไอบีเอ็มยังรองรับการประมวลผลธุรกรรมของลูกค้ามากกว่า 5.5 ล้านรายการในแต่ละวัน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติ้งของไอบีเอ็มได้ที่ http://www.ibm.com/cloud

เกี่ยวกับไอบีเอ็ม ประเทศไทย:

สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

ปารณีย์ เรย์มองด็อง

ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

โทร. +66 2 273 4164  อีเมล: paranee@th.ibm.com


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

GROW with SAP กับ I AM Consulting ช่วย SMEs ขึ้นสู่ ERP Cloud [Guest Post]

  กรุงเทพมหานคร, วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา – ในงาน DigiTech จัดขึ้น ณ อิมแพคเมืองทองธานี บริษัท …

nForce Secure เปิดตัวบริการ “Secure-IR Services” พร้อมโซลูชัน Cybersecurity ที่สนับสนุนด้วยเทคโนโลยี AI

เทคโนโลยี AI ณ วินาทีนี้เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเป็นที่เรียบร้อย ถึงแม้ว่า AI จะมีคุณประโยชน์หลากหลาย แต่ในทางกลับกัน AI ก็อาจถูกผู้ไม่ประสงค์ดีนำไปใช้สร้างความเดือดร้อนได้เช่นกัน  ไม่ว่าจะเป็นการนำมาสร้างมัลแวร์ (Malware) หรือการใช้เขียนอีเมลฟิชชิ่ง (Phishing) เพื่อโจมตีบนโลกไซเบอร์ …