กระบวนการเก็บข้อมูลบนเครื่องกับบน Cloud ต่างกันอย่างไร

ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกที่แต่ละวันมีข้อมูลเกิดขึ้นมหาศาล ซึ่งบทความจาก Spectrum.IEEE นี้ได้เขียนถึงกระบวนการจัดเก็บข้อมูลบน Storage ของ Cloud และแบบ Local ตั้งแต่ถูกเก็บและถูกเรียกกลับมานั้นเหมือนหรือต่างอย่างไร โดยเป็นบทความเชิงภาพรวมที่แสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่อยู่บน Cloud 

credit : spectrum.ieee.org

กระบวนการเขียนและอ่านของ Cloud และ Local Storage (ดูรูปตามด้านบน) เป็นดังนี้

การเก็บข้อมูลบน Local SSD 

1.เมื่อเรากด เซฟ โปรแกรมจะเรียก Firmware เพื่อค้นหาข้อมูลจะถูกเก็บที่ไหนบนไดร์ฟ
2.ข้อมูลจะถูกเก็บเป็น Block และขั้นตอนการเขียน บิตจะถูกเปลี่ยนจาก 1 เป็น 0 หมายถึงมีข้อมูล (พูดง่ายๆ คือ 1 คือบอกว่า Block นั้นว่างนะเขียนได้) จากนั้น OS จะเขียนข้อมูลเป็นรูปแบบบิต 1 ที่ถูกต้อง
3.Flash มีแนวโน้มของความเสียหายในการเก็บบิตซึ่งอาจจะส่งผลต่อบิตที่อยู่ใกล้ๆ กันด้วย จึงต้องมีกระบวนการทำ Error-correcting เพื่อชดเชยบิตที่เสียหายในไบต์ ดังนั้นแต่ละบิตในไบต์ของข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ใน Block ต่างกันเพื่อลดโอกาสที่หลายบิตจะเสียหายมากเกินไป
4.การลบ Block ทำได้ช้าเมื่อมีการอัปเดตส่วนหนึ่งของข้อมูลใน Block โดยถ้าทำได้การอัปเดตจะถูกเขียนในส่วนหนึ่งที่ว่างของ Block และข้อมูลเดิมจะถูกเขียนว่าเป็นสถานะ invalid
5.การอ่านข้อมูลกลับอาจเกิดความผิดพลาดแต่การทำ Error-correcting จะมาช่วยแก้ปัญหานี้ หากจำนวนบิตไม่ผิดพลาดมากเกินไป

การเก็บข้อมูลบน Cloud

1.ข้อมูลถูกเก็บบนเครื่องในรูปแบบของ Block
2.ข้อมูลจะถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปยังดาต้าเซนเตอร์
3.ข้อมูลจะถูกเขียนส่งในฮาร์ดดิสก์หรือ SSD อย่างน้อย 2 แห่ง (อาจจะตั้งอยู่คนละไซต์กันเลย) เพื่อป้องกันการสูญหาย (Redundancy) หรือการมีการ Backup ลงเทป (เจ้าของบทความยอมรับว่าไม่มีผู้ให้บริการ Cloud รายไหนทำให้แบบนั้น)
4.การเขียนและอ่านทั้งหมดเหมือนกับใน Local SSD ที่อธิบายในข้างต้น

credit : spectrum.ieee.org
ภาพรวมของการเก็บข้อมูลบน Cloud (ภาพด้านบน)
  • ข้อมูลมีต้นทางมาจากหลากหลายแห่งบนอินเทอร์เน็ตจากช่องทางต่างๆ
  • ดาต้าเซ็นเตอร์ที่เรียกว่า Cloud ก็คือสถานที่เป็นคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่นั่นเอง
  • มีการเก็บข้อมูลลงบน Storage ได้ 3 แบบคือ เทป ฮาร์ดดิสก์ และ SSD
  • ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่ทำได้บน Cloud คือ การเข้ารหัสและใช้งาน Firewall ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องพื้นฐานของผู้ให้บริการ Cloud ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้ได้ อย่างไรก็ตามการเข้ารหัสข้อมูลและ Firewall เป็นการเพิ่มเลเยอร์ที่ต้องยอมรับว่าจะเพิ่มเวลาในการส่งและรับข้อมูล

ที่มา : https://spectrum.ieee.org/computing/hardware/a-view-to-the-cloud


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน

Veritas Backup Exec 22 ราคาไม่แพงแน่นะพี่วี ?

“Backup ข้อมูล 10 vm ราคาเริ่มต้นเพียง 19,000 บาท แถมฟรี Backup Microsoft 365 จำนวน 10 users”