พบ ‘HinataBot’ บอทเน็ตที่อาจสร้างการโจมตี DDoS ขนาด 3.3 Tbps ได้

พบมัลแวร์บอตเน็ตใหม่ HinataBot มุ่งเป้าโจมตี Realtek SDK, Huawei Router และ Hadoop YARN Server เพื่อรวมการโจมตีที่อาจสร้าง Distributed Denial of Service (DDoS) ขนาด 3.3 Tbps ได้

Credit: solarseven/ShutterStock.com

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Akamai ตรวจพบการโจมตีจาก HTTP และ SSH honeypots โดยพบว่ามีการใช้ช่องโหว่เก่า เช่น CVE-2014-8361 และ CVE-2017-17215 เป็นช่องทางการโจมตี หลังจากการวิเคราะห์แล้ว พบว่า HinataBot จะพยายาม Brute-forcing SSH ด้วย Script และ RCE Payload เพื่อเจาะระบบ ภายหลังจากที่เจาะระบบได้แล้ว จะรอรับคำสั่งจาก Command and Control Server (C2) ต่อไป

ใน HinataBot หนึ่งตัวรองรับการทำ HTTP, UDP, ICMP และ TCP Floods โดยสามารถสร้าง Worker pool ลักษณะ Process ขึ้นมาเพื่อส่ง Data Packet โจมตีไปยังเป้าหมายได้ โดย Akamai ได้ทดลองทำการ Benchmark การโจมตี พบว่าภายใน 10 วินาที HinataBot สามารถสร้าง Request จำนวน 20,430 request ขนาด 3.4 MB และ UDP Flood จำนวน 6,733 package ขนาด 421 MB ได้ และจากการประมาณการ HinataBot เพียง 1,000 Nodes ก็สามารถสร้างการโจมตีขนาด 3.3 Tbps ได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม HinataBot นั้นยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและมีการปรับปรุงเทคนิคการโจมตีอยู่ตลอด ซึ่งมีโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการกระจายตัวรวมถึงพัฒนาการโจมตีรูปแบบใหม่ออกมา ผู้ดูแลระบบจึงควรสำรวจและแพตช์ระบบอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการตกเป็นเครื่องมือในการโจมตี DDoS จากบอตเน็ตตัวนี้ โดยสามารถสร้าง Rules การตรวจจับจาก IOCs ได้ตามลิ้งด้านล่าง

https://www.akamai.com/blog/security-research/hinatabot-uncovering-new-golang-ddos-botnet

ที่มา: https://www.bleepingcomputer.com/news/security/new-hinatabot-botnet-could-launch-massive-33-tbps-ddos-attacks/

About เด็กฝึกงาน TechTalkThai หมายเลข 1

นักเขียนผู้มีความสนใจใน Enterprise IT ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีในไทย ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ที่ Cupertino, CA แต่ยังคงมุ่งมั่นในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีให้กับทุกคน

Check Also

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยด้าน ‘Cloud’ พ.ศ. 2567 ออกแล้ว!

คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติได้ ออกประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของระบบคลาวด์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงของการใช้บริการคลาวด์สาธารณะในหน่วยงานรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน โดยกล่าวถึงหน้าที่ในฐานะของผู้ให้บริคลาวด์กับหน่วยงานข้างต้น และหน่วยงานทั้งสามส่วนที่เข้าไปใช้งานบริการคลาวด์

[True IDC Webinar] App Modernization: The Ultimate Guide – พลิกโฉมการพัฒนาแอปพลิเคชันสู่ธุรกิจยุคดิจิทัล

True IDC ขอเรียนเชิญ Software Engineer, DevOps Engineer และ Developer เข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์เรื่อง “App Modernization: The Ultimate Guide …