[Guest Post] การสร้างประสบการณ์ที่เหนือระดับด้านดิจิทัลให้กับประชาชน พร้อมเสริมความรู้พื้นฐานด้านดิจิทัลของรัฐบาล คือกุญแจสู่ความสำเร็จของไทยแลนด์ 4.0

  • ผลการศึกษาของ VMware Digital Frontier 3.0 พบว่า 36% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยเห็นตรงกันว่า รัฐบาลมอบประสบการณ์ดิจิทัลโดยรวมดีขึ้น แม้จะตามหลังประเทศกลุ่มอาเซียนซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 38%
  • ผู้บริโภคไว้วางใจกับการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า (74%) เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (70%) และ 5G (81%) และเชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นรากฐานสำคัญที่รัฐบาลจะนำไปพัฒนาประเทศ
  • ครึ่งหนึ่ง (50%) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า รัฐบาลมีหน้าที่เพิ่มระดับความรู้ด้านดิจิทัลให้กับประชาชน – เพื่อให้ทัดเทียมกับประเทศอินโดนีเซียและสิงคโปร์

 

บริษัท วีเอ็มแวร์ จำกัด (NYSE: VMW) ชี้การมอบประสบการณ์ด้านดิจิทัลที่ดีและการยกระดับความรู้ด้านดิจิทัลให้กับประชาชนถือเป็นความจำเป็นหลักของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของไทยแลนด์ 4.0 จากผลการศึกษา VMware Digital Frontiers 3.0 เผยให้เห็นช่องว่างทางดิจิทัลระหว่างประชาชนและรัฐบาล พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 36% ที่ระบุว่ารัฐบาลได้มอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 30% เท่านั้นที่พอใจที่จะติดต่อสื่อสารกับรัฐบาลในช่องทางดิจิทัล 

 

 

อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยให้ความไว้วางใจกับการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า (74%) เอไอหรือปัญญาประดิษฐ์ (70%) และ 5G (81%) มากขึ้น จึงเป็นโอกาสของภาครัฐที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีกลุ่มนี้เพื่อนำเสนอบริการดิจิทัลและสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนในยุคดิจิทัล พร้อมขับเคลื่อนประเทศไปสู่วิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0

ผลการศึกษายังเผยว่า 86 % ของผู้บริโภคชาวไทยระบุว่าตนเอง “มีความใส่ใจในเรื่องดิจิทัล” หรือเป็น “นักสำรวจดิจิทัล” โดย 50 % ระบุว่าพวกเขาไว้วางใจรัฐบาลในการใช้อัลกอริทึมเพื่อเรียนรู้พฤติกรรมและความต้องการส่วนบุคคล นอกจากนี้รายงานยังระบุข้อมูลที่น่าสนใจว่า ผู้บริโภคชาวไทยคาดหวังจะได้รับประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีขึ้นจากรัฐบาลซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชนมากขึ้น

อีกหนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจคือ ความเชื่อมั่น พบว่า 31% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความมั่นใจว่าภาครัฐสามารถดูแลข้อมูลและสารสนเทศของพวกเขาให้ปลอดภัย ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ (56%) มาเลเซีย (42%) ฟิลิปปินส์ ( 41%) และอินโดนีเซีย (33%) ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการดิจิทัลของรัฐบาลมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องเสริมสร้างรากฐานดิจิทัลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและปรับปรุงประสบการณ์ดิจิทัลที่ราบรื่นและปลอดภัยให้กับประชาชนของตนมากขึ้น

 

นายเอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำวีเอ็มแวร์ ประเทศไทย

 

นายเอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำวีเอ็มแวร์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยอยู่บนเส้นทางสู่ความสำเร็จของการสร้างแผนฟื้นเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยใช้ประโยชน์จากความต้องการใช้บริการดิจิทัลของประชาชน อย่างไรก็ตามเพื่อเร่งการเติบโตและปลดล็อกโอกาสใหม่ ๆ ภาครัฐจำเป็นที่ต้องเล่นบทบาทที่สำคัญในการสร้างประสบการณ์ดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้นแก่คนไทยไปพร้อมกับการผลักดันนวัตกรรมสำหรับอีโคซิสเต็มส์ในท้องถิ่น ในขณะที่เราก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลต่อภาคธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นในบริการดิจิทัลของรัฐบาลในภาคประชาชนเป็นลำดับแรก เพื่อลดช่องว่างภายในประเทศ ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำหน้า เช่น การจดจำใบหน้าและปัญญาประดิษฐ์, ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศก้าวไปสู่ตำแหน่งที่ดีขึ้นในการส่งมอบประสบการณ์ดิจิทัลให้กับประชาชน จนนำไปสู่ยุค digital – first”

แม้จะมีการใช้บริการดิจิทัลอย่างแพร่หลายในประเทศไทยเมื่อเทียบกับทั่วโลก แต่ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (50%) เชื่อว่าการยกระดับความรู้ดิจิทัลแก่ประชาชนเป็นหน้าที่ของรัฐ, 48% เชื่อว่าต้องผลักดันให้เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในแถบเอเชียตะวันเฉียงใต้ และทัดเทียมกับประเทศอินโดนีเซียและสิงคโปร์ มีผู้ตอบแบบสำรวจเพียง 37 % เท่านั้นที่เชื่อมั่นในการยกระดับความรู้ดิจิทัลในระดับบุคคลของรัฐ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของทุกภาคส่วนในการเสริมสร้างความรู้ดิจิทัลให้กับผู้บริโภคชาวไทยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีเราได้เห็นหน่วยงานท้องถิ่นได้ตอบสนองต่อความคิดริเริ่มแบบองค์รวม ซึ่งรวมถึงแผนไทยแลนด์ 4.0 เพื่อเพิ่มความรู้ดิจิทัล, สร้างจุดแข็ง และการต่อเชื่อมภายในประเทศ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและสร้างประสบการณ์ดิจิทัลที่เหนือชั้นให้กับประชาชน

 

 

 

เทคโนโลยีช่วยให้ภูมิภาคเอเชียมีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ COVID พิสูจน์ได้จากการเติบโตและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มีดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเป็นตัวขับเคลื่อน

ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรัฐบาลต่างๆ ในภูมิภาคได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อถึงกัน และนวัตกรรมร่วมกับอีโคซิสเต็มส์ ปี 2563 ที่ผ่านมาองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการตอบสนองและปรับตัวเพื่อให้แน่ใจว่ากับธุรกิจจะดำเนินต่อไปได้ท่ามกลางการแพร่ระบาด แต่ในปี 2564 นี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่นวัตกรรมกลายเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกสำหรับองค์กรที่เตรียมพร้อม เพื่อมองหาโอกาสการเติบโตในอนาคต

วิธีการจัดการแบบองค์รวมที่ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างประสบการณ์ดิจิทัลที่เหนือชั้นบนทุกระบบคลาวด์ ทุกแอปพลิเคชัน และทุกอุปกรณ์ได้อย่างราบรื่นและปลอดภัย จะกลายเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญในสภาพแวดล้อมดิจิทัลของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเอเชีย เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2564 วีเอ็มแวร์จึงได้จัดลำดับปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม และเน้นใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ:

  • เสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่รัฐบาลเพื่อสร้างมัลติคลาวด์และแอปพลิเคชันที่พร้อมรองรับการใช้งานในอนาคต: ปลดล็อกมัลติคลาวด์สำหรับอนาคตด้วยนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยแอป เพิ่มความคล่องตัวและปลอดภัยให้สภาพแวดล้อมสามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง
  • ใช้นวัตกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบุคลากรที่ทำงานแบบรีโมท: โซลูชันที่รองรับรูปแบบการทำงานของพนักงานในอนาคตจะช่วยให้พนักงานดิจิทัลได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นและปลอดภัยยิ่งขึ้น และเร่งให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น
  • มีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างแท้จริงที่พร้อมรับมือนวัตกรรมที่เกิดใหม่อยู่เสมอ: แนวทางการรักษาความปลอดภัยที่แท้จริงสำหรับองค์กร ที่จะเป็นเกราะอีกชั้นช่วยป้องกันระบบปฏิบัติการที่สำคัญ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับนวัตกรรมทางธุรกิจและความยืดหยุ่นที่รวดเร็ว

“ในขณะที่ประเทศไทยเตรียมพร้อมสำหรับการฟื้นตัวและการเติบโตในปีหน้า ภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งของความเชื่อมั่นด้านดิจิทัล และก้าวไปสู่ความรู้ทางดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ วีเอ็มแวร์ จึงยังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยให้รัฐบาลและภาคธุรกิจเสริมสร้างรากฐานดิจิทัล ตอบสนอง และเร่งปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายในยุคดิจิทัลในปัจจุบันและอนาคตได้ดีขึ้น เราจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับนวัตกรรมบนอีโคซิสเต็มส์ เพื่อเร่งเส้นทางนวัตกรรมของประเทศไทยและเปลี่ยนเป็นประเทศดิจิทัลสำหรับประชาชนของเรา” นายเอกภาวิน กล่าวทิ้งท้าย

 

 

เกี่ยวกับวีเอ็มแวร์

วีเอ็มแวร์เป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีความซับซ้อน บริการคลาวด์, เน็ตเวิร์กกิ้ง, ระบบซีเคียวริตี้และดิจิทัลเวิร์คเพลสของวีเอ็มแวร์พร้อมมอบรากฐานดิจิทัลแบบไดนามิกและมีประสิทธิภาพให้กับลูกค้าทั่วโลก ภายใต้ความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์มากมาย โดยสำนักงานใหญ่วีเอ็มแวร์ตั้งอยู่ที่เมืองพาโล อัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย วีเอ็มแวร์ยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นพลังสนับสนุนที่ดี จากแนวโน้มและผลกระทบการจัดการนวัตกรรมเชิงพื้นที่ในระดับโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ https://www.vmware.com/company

 

เกี่ยวกับรายงาน VMware Digital Frontiers 3.0 Study

VMware Digital Frontiers 3.0 Study เป็นรายงานผลการศึกษาในหลายประเทศซึ่งดำเนินการในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2563 โดยมีการสำรวจพฤติกรรม รสนิยม และทัศนคติที่มีต่อบริการและประสบการณ์ดิจิทัลในช่วงปี 2563 ของผู้บริโภค 1,000 คนในแต่ละประเทศ ซึ่งได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เยอรมนี และฝรั่งเศส

VMware, Tanzu, SaltStack, และ Carbon Black ป็นเครื่องหมายทางการค้าของวีเอ็มแวร์ อิงค์ ประเทศสหรัฐฯ และในประเทศอื่น ๆ ที่เปิดให้บริการ


About Maylada

Check Also

Cisco เปิดตัวบริการ Multicloud Defenese

Cisco ได้ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ Cisco Multicloud Defense ช่วยสร้างนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับระบบ MultiCloud รองรับผู้ให้บริการ Public Cloud หลายราย

ขอเรียนเชิญเข้าร่วมงาน Webinar “Scaling Service Management in Modern Enterprises” การบริหารจัดการบริการในองค์กรสมัยใหม่ 

งานสัมมนาออนไลน์ “Scaling Service Management in Modern Enterprises” นี้จัดขึ้นโดย Atlassian ร่วมกับทาง Forrester Research ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้มาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง “การบริหารจัดการบริการ (Service …