[Guest Post] นักพัฒนาเลิกปวดหัว!! IBM Cloud Code Engine ช่วยจัดการ Runtime อัตโนมัติ Deploy แอพในไม่กี่วิ แถมจ่ายตามที่ใช้จริง

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้วันนี้หลายองค์กรมองถึงการใช้คลาวด์ โดย 64% องค์กรที่สำรวจมองถึงการสร้าง cloud-native applications ซึ่งสำหรับนักพัฒนาแล้ว เรื่องนี้หมายถึงการต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และใช้เวลาไปกับการจัดการกับ architecture ด้านไอทีที่ซับซ้อน แทนที่จะใช้เวลาที่มีไปกับการเขียนโค้ดของแอพต่างๆ อย่างที่ควรจะเป็น

รัชนีกร เทวอักษร Country Manager งาน Technical Sales ไอบีเอ็ม ประเทศไทย

 

วันนี้ไอบีเอ็มจึงได้เปิดตัว IBM Cloud Code Engine เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่นักพัฒนาต้องเจอ โดยเป็น fully managed serverless platform ที่เข้ามาช่วยนักพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนี้

 

 

 

สร้างแอพได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

นักพัฒนาเพียงแค่แสดง container image และรูปแบบ runtime ที่ต้องการ จากนั้น Code Engine จะจัดการทุกอย่างเอง หรือนักพัฒนาอาจใส่ source code จากนั้น Code Engine จะสร้าง container image ให้ โดยไม่ว่าเวิร์คโหลดนั้นจะทำหน้าที่ตอบสนองต่อ incoming requests (HTTP server, serverless function, REST API หรือเวิร์คโหลดแบบ event-driven) หรืองานประเภท batch job ตัว Code Engine ก็สามารถรันให้ได้ พร้อมด้วยการค่า default ต่างๆ ที่ตั้งค่ามาแล้ว ที่ช่วยให้สามารถ deploy แอพได้ภายในไม่กี่คลิก หรือหากต้องการ customize ก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยนักพัฒนาไม่ต้องเสียเวลานั่งวิเคราะห์และบริหารจัดการ infrastructure ที่จะรองรับแอพ ไม่ต้องติดตั้งและจัดการกับ Kubernetes หรือเรียนรู้เกี่ยวกับ replicaSets, deployments, auto-scalers, load-balancers หรือแม้แต่ YAML อีกต่อไป

 

จ่ายเฉพาะเวลาที่มีการรันโค้ดหรือใช้จริงเท่านั้น

Code Engine จะคิดค่าใช้จ่ายเฉพาะเวลาที่มีการรันโค้ดหรือใช้ resources เท่านั้น โดยหากเป็น idle resources หรือมีการ scale เวิร์คโหลดลงเป็นศูนย์ ก็จะไม่มีการชาร์จค่าใช้จ่าย และเมื่อมี incoming requests ปรากฏขึ้นมาอีกครั้ง Code Engine จะ scale กลับให้ดังเดิมอัตโนมัติ แถมตอนนี้มีช่วง trial ที่เปิดให้ใช้ฟรีได้ในระดับหนึ่งด้วย

 

Deploy ได้ในไม่กี่วินาที่

Code Engine ได้รับการออกแบบมาให้นักพัฒนาสามารถ deploy on-premise native app จากแล็ปท็อปสู่คลาวด์ได้ในไม่กี่วินาที โดยไม่ต้องมีภาระอื่นเพิ่มเติม ช่วยให้สามารถรันแอพบนคลาวด์และดึงลงมาเขียนโค้ดเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย

 

ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ Code Engine ในปัจจุบัน

ปัจจุบัน SiB Solutions ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ของสวีเดน ได้ใช้ Code Engine ในการพัฒนาโซลูชัน SaaS ที่นำวิดีโอความเคลื่อนไหวในคลังสินค้ามาช่วยการคาดการณ์การปฏิบัติการภายในโรงงานและป้องกันปัญหาด้านซัพพลายเชนต่างๆ โดยแทนที่นักพัฒนาจะต้องเสียเวลามากมายไปกับการวิเคราะห์ระบบ infrastructure ที่ซับซ้อน และ deploy โซลูชันบนบริการคลาวด์ที่แตกต่างกัน แต่ตอนนี้นักพัฒนาสามารถที่จะระบุเพียงว่าต้องการรันแอพในรูปแบบใด แล้วใส่ spec ลงใน Code Engine โดยที่ผ่านมาพบว่านักพัฒนาสามารถกำหนดให้ deploy และ run แอพได้ภายในเวลาไม่กี่นาที

อีกตัวอย่างคือห้องแล็บชีววิทยาระดับโมเลกุลแห่งยุโรป (European Molecular Biology Laboratory: EMBL) ได้เริ่มนำ Code Engine มาใช้ในงานวิจัยขั้นสูงด้านชีววิทยาและตัวยา โดยทีมนักวิจัยได้พัฒนา open-source cloud software ชื่อ METASPACE ที่เปิดให้นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกเข้ามาค้นหาโมเลกุลที่เกี่ยวข้อง และดูการทำปฏิกิริยากับตัวยา เพื่อหาแนวทางใหม่ในการรักษาโรคมะเร็งและเบาหวาน dataset เหล่านี้มีขนาดใหญ่มาก มีอัลกอริธึมที่ซับซ้อน และต้องการ computing power สูง ซึ่งการใช้ Code Engine ได้ช่วยให้ EMBL สามารถ scale ลดต้นทุนด้าน infrastructure รวมถึงลดเวลาที่ต้องใช้บริหารจัดการ resource นอกจากนี้ยังช่วย streamline การประมวลผลข้อมูล ร่นเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายชั่วโมงเหลือไม่กี่นาที

ลองดูตัวอย่างการสร้างแอพสไตล์ “Hello World” ได้ในไม่กี่คลิก (แถมไม่ต้องพิมพ์!!) กับการทำแอพที่ปลอดภัยด้วย TLS และสามารถ auto-scale up/down (หรือแม้แต่เป็นศูนย์ถ้า idle) พร้อมสอนการตั้งค่า runtime semantics จากวิดีโอด้านล่างนี้ หรือสามารถดู tutorials และตัวอย่างต่างๆ ได้ที่ https://github.com/IBM/CodeEngine 

 

 


About Maylada

Check Also

Arise by INFINITAS และ Google Cloud ร่วมผนึกกำลัง ต่อยอดนวัตกรรมดิจิทัล สร้าง Open Platform สัญชาติไทย และร่วมพัฒนาศักยภาพนักพัฒนาไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก [Guest Post]

กรุงเทพฯ ประเทศไทย มิถุนายน 2566 – ล่าสุด ที่งาน Google Cloud Bangkok Summit 2023 บริษัท Arise by …

[Video Webinar] TechTalk Webinar : เชื่อมต่อทุกแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ด้วย Pexip Enterprise Room Connector

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยายเรื่อง “เชื่อมต่อทุกแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ด้วย Pexip Enterprise Room Connector” เพื่อเรียนรู้ถึงโซลูชันที่ช่วยเชื่อมต่อแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ที่หลากหลายเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ห้องประชุมที่คุณมีอยู่แล้วไปยังแพลตฟอร์มต่าง ๆ ด้วยโซลูชัน SaaS ที่พร้อมใช้งานจาก Pexip ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ค่ะ