Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

[Guest Post] รายงานของซิสโก้เผย บริษัทในเอเชีย-แปซิฟิกเผชิญการแจ้งเตือนภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจากการทำงานจากที่บ้าน

ความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อันดับหนึ่งขององค์กรไทยส่วนใหญ่คือการเข้าถึงอย่างปลอดภัย” 

  • 69% ขององค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกเผชิญปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือการแจ้งเตือนที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25% นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาด
  • 54% ขององค์กรในภูมิภาคนี้มีความพร้อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะที่ 7% ไม่พร้อมที่จะรองรับการทำงานจากที่บ้านในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาด
  • องค์กร 85% มองว่าในตอนนี้ไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีความสำคัญอย่างมาก หรือมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

 

ผลการศึกษาล่าสุดของซิสโก้ชี้ว่า องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกประสบปัญหาท้าทายเกี่ยวกับไซเบอร์ซีเคียวริตี้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากที่บ้านกันที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย โดย 69% ขององค์กรในภูมิภาคนี้เผชิญปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือการแจ้งเตือนที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25% นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีสัดส่วนองค์กรที่ประสบปัญหาเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก  นอกจากนี้ องค์กร 6% ไม่รู้ว่ามีภัยคุกคามหรือการแจ้งเตือนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังเผชิญปัญหาท้าทายที่สำคัญ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการทำงานจากที่บ้านอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายมากขึ้น

รายงานเกี่ยวกับ อนาคตของการทำงานจากที่บ้านอย่างปลอดภัย (Future of Secure Remote Work Report)ของซิสโก้ เปิดเผยว่า องค์กรจำนวนมากในเอเชีย-แปซิฟิกไม่มีความพร้อมในการรองรับการทำงานจากที่บ้านของพนักงานภายในเวลาอันรวดเร็วเมื่อเกิดการแพร่ระบาด โดยองค์กร 54% อยู่ในสถานะที่มีความพร้อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะที่ 7% ไม่มีความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

รายงานดังกล่าวอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายไอทีกว่า 3,000 คนทั่วโลก รวมถึงผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 1,900 คนใน 13 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก รายงานฉบับนี้เน้นย้ำถึงปัญหาท้าทายด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่บริษัทต่างๆ ต้องเผชิญในการจัดการให้พนักงานส่วนใหญ่เปลี่ยนไปใช้วิธีทำงานจากที่บ้านเป็นการเร่งด่วน

เนื่องจากผู้ใช้เชื่อมต่อจากภายนอกไฟร์วอลล์ขององค์กร ดังนั้นการเข้าถึงอย่างปลอดภัย (Secure Access) ซึ่งหมายถึงความสามารถในการตรวจสอบผู้ใช้ และการทำให้ผู้ใช้ไว้วางใจ ไม่ว่าผู้ใช้จะล็อกอินที่ไหน อย่างไร หรือเมื่อใดก็ตาม ถือเป็นความท้าทายด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรส่วนใหญ่ในเอเชีย-แปซิฟิก (63%) เมื่อต้องรองรับพนักงานที่ทำงานจากที่บ้าน นอกจากนั้นองค์กรเหล่านี้ยังระบุถึงปัญหาอื่นๆ เช่น ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (59%) และการรักษาอำนาจในการควบคุม และการบังคับใช้นโยบาย (53%)

นายเคอร์รี่ ซิงเกิลตัน กรรมการผู้จัดการฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ญี่ปุ่น และจีน กล่าวว่า “ปัญหาท้าทายที่สำคัญในเวลานี้ได้เปลี่ยนไปสู่เรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้ กล่าวคือ เมื่อองค์กรต่างๆ มุ่งเน้นการใช้งานระบบคลาวด์และการทำงานนอกสถานที่เพิ่มมากขึ้น พนักงานก็คาดหวังว่าจะสามารถทำงานได้จากทุกที่ บนทุกอุปกรณ์ ดังนั้นระบบรักษาความปลอดภัยจึงเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัล โดยจะต้องสามารถตรวจสอบผู้ใช้ อุปกรณ์ แอพพลิเคชั่น ข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึง และมีระบบรักษาความปลอดภัยแบบรอบด้านที่ยืดหยุ่น เพื่อคุ้มครองผู้ใช้และองค์กรธุรกิจ โดยครอบคลุมตั้งแต่เครือข่าย ไปจนถึงอุปกรณ์ปลายทาง และระบบคลาวด์”

การปกป้องอุปกรณ์ปลายทางกลายเป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญมากขึ้นสำหรับองค์กรต่างๆ เพราะผู้ใช้เชื่อมต่อจากเครือข่าย Wi-Fi ภายในบ้าน หรือใช้อุปกรณ์ส่วนตัวในการเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นของบริษัท ผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่งหนึ่งระบุว่าแล็ปท็อป/เดสก์ท็อปของบริษัท (58%) และอุปกรณ์ส่วนบุคคล (57%) ก่อให้เกิดปัญหาด้านการความปลอดภัยในการทำงานที่มีการเชื่อมต่อจากระยะไกล รองลงมาคือ คลาวด์แอพพลิเคชั่น ซึ่งอยู่ที่ 52%

 

โอกาสในการปรับเปลี่ยนเพื่ออนาคต

เทรนด์หนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็คือ สถานที่ทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Workplace) ที่ซึ่งพนักงานสามารถเลือกที่จะทำงานจากที่บ้านหรือในออฟฟิศก็ได้ และนี่คือเทรนด์แห่งอนาคต โดยจากการสำรวจพบว่า หนึ่งในสาม (34%) ขององค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกคาดว่ากว่าครึ่งหนึ่งของบุคลากรในองค์กรจะยังคงทำงานจากที่บ้านต่อไปภายหลังการแพร่ระบาด เทียบกับ 19% ขององค์กรที่มีพนักงานกว่าครึ่งหนึ่งทำงานจากที่บ้านก่อนการแพร่ระบาด

สำหรับประเทศไทย สัดส่วนขององค์กรที่คาดว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานจะทำงานจากที่บ้านอยู่ที่ 42% หลังการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นตัวเร่งดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในทุกอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามพนักงานยังขาดความรู้ และการรับรู้ที่เพียงพอ โดย 71% ขององค์กรไทยเผยว่าเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญในการสร้างโปรโตคอลด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้สำหรับการทำงานจากที่บ้าน และ 61% ขององค์กรระบุว่าการแพร่ระบาดจะทำให้การลงทุนด้านความไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในอนาคตเพิ่มมากขึ้น และไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ รายงานนี้ชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่างๆต้องทบทวนกลยุทธ์ และข้อเสนอใหม่เพื่อรองรับความปลอดภัยสำหรับอนาคตการทำงาน

นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน, รักษาการกรรมการผู้จัดการซิสโก้ ประเทศไทย และอินโดจีน กล่าวว่า “ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเป็นประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเรา ด้วยการทำงานรูปแบบใหม่และการที่องค์กรในประเทศไทยกำลังเพิ่มการลงทุนด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ การเข้าถึงความปลอดภัยจึงเปลี่ยนจากการโฟกัสที่ภาคอุตสาหกรรมไปเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น”

เมื่อผู้ใช้มีการเชื่อมต่อจากระยะไกล ความท้าทายด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่องค์กรไทยส่วนใหญ่ต้องเผชิญคือการเข้าถึงอย่างปลอดภัย (78%) รวมถึงการยืนยันตัวตน (65%) และการรักษานโยบายการควบคุมและการบังคับใช้ (63%) การป้องกันปลายทางเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับองค์กร โดย 69% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าอุปกรณ์ส่วนบุคคลเป็นความท้าทายที่สุดในการทำงานระยะไกล ตามด้วยแอปพลิเคชันคลาวด์ที่ 63% ขณะที่แล็ปท็อป/ เดสก์ท็อปสำนักงานอยู่ที่ 58% และข้อมูลลูกค้า 51%

ข่าวดีก็คือ ขณะที่องค์กรธุรกิจเตรียมพร้อมสำหรับสถานที่ทำงานแบบไฮบริดนี้ ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้กลายเป็นภารกิจสำคัญสำหรับองค์กร โดย 85% ขององค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกระบุว่าไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีความสำคัญอย่างมาก หรือมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อนการแพร่ระบาด และที่ดีไปกว่านั้นก็คือ องค์กรต่างๆ เตรียมที่จะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม โดยผลการสำรวจชี้ว่า 70% ขององค์กรในภูมิภาคนี้มีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในอนาคต สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับสัดส่วน 68% ในทวีปอเมริกา และ 52% ในทวีปยุโรป

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาบางประการที่จำเป็นจะต้องแก้ไข กล่าวคือ ขณะที่องค์กรเกือบทั้งหมด (97%) ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายไซเบอร์ซีเคียวริตี้เพื่อรองรับการทำงานจากที่บ้าน แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร โดยผลการสำรวจชี้ว่า 61% ขององค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกระบุว่า การที่พนักงานขาดความรู้ความเข้าใจถือเป็นปัญหาและความท้าทายที่สำคัญที่สุดในการบังคับใช้ข้อกำหนดด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้สำหรับการทำงานจากที่บ้าน รองลงมาคือ มีเครื่องมือ/โซลูชันที่จะต้องจัดการมากเกินไป (53%)

 

ข้อมูลเพิ่มเติม:

 

เกี่ยวกับระเบียบวิธีที่ใช้ในการจัดทำรายงาน

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้องค์กรธุรกิจทั่วโลกต้องปรับเปลี่ยนไปสู่สภาพแวดล้อมการทำงานจากที่บ้าน โดยต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและครอบคลุมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน  รายงาน Future of Secure Remote Work Report ซึ่งจัดทำโดย YouGov โดยได้รับมอบหมายจากซิสโก้ สำรวจความพร้อมขององค์กรต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ สำหรับการปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบการทำงานจากที่บ้านอย่างทันที รวมไปถึงปัญหาท้าทายที่พบเจอ และแนวทางการปรับเปลี่ยนระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้เพื่อรองรับสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดในอนาคต

การศึกษาในครั้งนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายไอที 3,196 คนใน 21 ประเทศทั่วโลก ซึ่งได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลี ไต้หวัน ไทย สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และเวียดนาม

 

เกี่ยวกับ ซิสโก้

ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO) เป็นผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกที่ยกระดับการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซิสโก้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากวิธีการใช้แอปพลิเคชันที่แตกต่างไปจากเดิม การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับทีมของคุณเพื่อโลกแห่งอนาคต เปิดประสบการณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ก และติดตามข่าวสารของซิสโก้บนทวิตเตอร์ที่ Twitter

 

About Maylada

Check Also

Imperva ออกรายงาน The State of API Security ประจำปี 2024

Imperva ผู้ให้บริการชั้นนำด้าน Web, API และ Data Security ออกรายงาน The State of API Security ประจำปี 2024 …

iZeno ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อ “Unlocking Security: Navigating the DevSecOps Journey”

iZeno ขอเชิญชวนผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาหัวข้อ “Unlocking Security: Navigating the DevSecOps Journey” เพื่อชวนทุกท่านเข้าร่วมสร้างประสบการณ์มุ่งสู่แนวทาง DevSecOps โดยโซลูชันจาก Checkmarx ผู้นำเสนอแพลตฟอร์มความมั่นคงปลอดภัยในการพัฒนาแอปพลิเคชัน งานจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 5 …