ทางทีมงาน TechTalkThai ได้รับคำเชิญจาก Google Thailand ให้เป็นส่วนหนึ่งของสื่อจากประเทศไทยไปร่วมงาน Google Play 2017 ณ ประเทศสิงค์โปร์โดยงานนี้จัดขึ้นเพื่อแสดงเจตจำนงค์ของ Google ที่ต้องการขยายตลาดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกอย่างจริงจัง พร้อมกันนี้ภายในงานยังมีนักพัฒนาแอปพลิเคชันของเอเซียตะวันออก จำนวนมากเข้าร่วมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ โดยงานนี้จัดขึ้น ณ ประเทศสิงค์โปร์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2017 ที่ผ่านมา ช่วงประเด็นสำคัญของงานได้รับเกียรติจากคุณ James Sanders ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของ Google Play ในโซนเอเซียแปซิฟิค มาบรรยายเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทและทิศทางของ Google Play รวมถึงผลประโยชน์ของนักพัฒนาแอปพลิเคชันที่จะได้รับจากการเข้าร่วมกับสังคมของ Google Play อีกช่วงหนึ่งคือช่วงของคำถามที่เปิดโอกาสให้นักข่าวจากหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกได้ซักถามข้อสงสัย
เนื้อหาหลักคุณ Sanders ได้กล่าวถึงตัวเลขเจริญเติบโตของการพัฒนาว่าปัจจุบันอุปกรณ์ Android มีอยู่ทั่วโลกมากกว่า 2 พันล้านชิ้น และมีตัวเลขการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่างๆใน Google Play Store ไปแล้วกว่า 8 หมื่นล้านครั้งของผู้ใช้งานทั่วโลกนั่นคือตัวเลขที่มหาศาล ดังนั้นยังมีพื้นที่ให้นักพัฒนา Android เติมโตได้อีกจำนวนมาก โดยจากสถิติของ Google เองพบว่ามีจำนวนนักพัฒนาที่ประสบความสำเร็จคือมียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมากกว่า 1 ล้านครั้งต่อเดือนเพิ่มขึ้นกว่า 35% จากสถิติสามารถยืนยันถึงอาชีพนักพัฒนาแอปพลิเคชันบน Google Play ว่ามีความต้องการอีกจำนวนมากและมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง Google ได้มีเครื่องมือหรือช่องทางพร้อมที่จะสนับสนุนให้นักพัฒนาประสบความสำเร็จไปพร้อมๆกันกับ Google ด้วย ประเด็นต่อมาที่กล่าวถึงคือ Google ได้สนับสนุนช่องทางจ่ายเงินให้ผู้ใช้งานสามารถจ่ายเงินซื้อแอปพลิเคชันที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายได้หลายช่องทาง เช่น
- การจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิตรองรับได้มากกว่า 135 ประเทศทั่วโลก
- การจ่ายเงินผ่าน Partner ที่เป็นผู้ให้บริการการสื่อสาร เช่น ในประเทศไทยสามารถชำระได้กับ AIS Dtac
- การใช้บัตร Gift Card เพื่อให้นักเล่นเกมที่ไม่สะดวกในการจ่ายผ่านบัตร สามารถใช้เงินสดซื้อบัตรผ่านร้านสะดวกซื้อและนำโค้ดมาใช้งาน (ยังไม่เปิดตัวในไทย) มีจำหน่ายกว่า 30 ประเทศแล้ว
- การจ่ายผ่าน PayPal รองรับใน 20 ประเทศ
ช่องทางเหล่านี้เองที่จะทำให้การจ่ายเงินเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและเข้าถึงกับกลุ่มผู้ใช้งานได้ทุกผู้ทุกวัย พร้อมกับแสดงสถิติของ Google ว่ามีผู้ใช้งานที่จ่ายเงินโตขึ้นกว่า 30% และประเด็นสุดท้ายทาง Google ได้ให้ความสนใจที่จะเปิดตลาดภาคพื้นเอเซียตะวันออกอย่างจริงจังโดยได้กำลังทดลองวาง Model การตลาดกับประเทศอินโดนีเซียเป็นอันดับแรกและหากประสบความสำเร็จทาง Google ก็มีนโยบายที่จะขยายตลาดให้ครอบคลุมในภูมิภาคนี้
- พูดถึงดัชนี้ชี้วัดที่ทาง Google Play ใช้วัดจากแอปพลิเคชันว่ามีการประสบความสำเร็จมากหรือน้อยโดยอิงจาก Rating ความนิยม ที่ถูกให้โดยผู้ดาวน์โหลดและรายงานหรือรีวิวจากผู้ใช้งานเพราะสะท้อนถึงคุณภาพของแอปพลิเคชัน
- ประเด็นของความปลอดภัยก็ถูกตั้งคำถามเช่นทาง Google มีนโยบายที่จะช่วยผู้ใช้ปลอดภัยจากแอปพลิเคชันปลอมหรือแอปพลิเคชันที่ไม่หวังดีต่อผู้ใช้งาน ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าทาง Google เองมีฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่งปล่อยออกมาเมื่อต้นปีอย่าง Google Protect ซึ่งจะคอยสแกนอุปกรณ์มือถือของผู้ใช้งานเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้งานให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามด้านต่างๆ และนอกจากนี้ Google เองก็มีทีมงานและระบบตรวจสอบแบบอัตโนมัติที่จะคอยดูปัญหาหรือรับเรื่องรายงานจากผู้ใช้งานตลอดเวลา
- การปกป้องผู้ใช้งานอายุน้อยไม่ให้เข้าถึงแอปพลิเคชันที่ไม่เหมาะสมโดยคุณ Sanders ได้ยกตัวอย่างว่า “ผมเองก็มีลูกเล็กวันหนึ่งเขาพยายามใช้โทรศัพท์เปิดยูทูปพอผมห้าม วันต่อมาเขาก็ใช้ Hangout จากมือถือผมโทรไปหาเจ้านายผม เจ้านายผมงงเลยหล่ะ หลังจากนั้นผมจึงใส่รหัสผ่านให้กับโปรแกรมเพื่อแก้ไขปัญหา” ดังนั้นเราอยากให้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันช่วยกันใส่ใจเรื่องนี้ด้วย
- ประเด็นอื่นๆ คือ Google ก็มีหมวดพวก เพลง หนัง หนังสือ นอกจากเกม เช่น เพลงที่มีคู่แข่ง iTune Podcast หรือ หนังที่มีเจ้าตลาดอย่าง Netflix โดยกำลังปรับตัวเพื่อแข่งขันแต่ตอนนี้ Google ก็มียอดการใช้งานในกลุ่มนี้ระดับนึง
สุดท้ายนี้เราหวังว่าการที่ Google หันมาให้ความสนใจกับตลาดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกอย่างจริงจังจะช่วยให้นักพัฒนาแอปพลิเคชัน Android ในบ้านเราประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นและสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับเหล่านักพัฒนาหน้าใหม่ที่กำลังศึกษาข้อมูลหรือยังไม่ได้ตัดสินใจเพื่อก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม Google ต่อไป