Google ออกตารางเทียบระหว่าง VM, Container, PaaS, FaaS พร้อมสรุปขั้นตอนในการใช้งาน

ด้วยความที่ปัจจุบันนี้มี Infrastructure ให้เหล่านักพัฒนาเลือกใช้งานได้หลากหลายบน Cloud จนอาจสร้างความสับสน ทาง Google จึงได้ออกมาตารางเปรียบเทียบเทคโนโลยี VM, Container, PaaS, FaaS เพื่อให้เหล่านักพัฒนาเข้าใจถึงข้อดีข้อเสียและการนำไปใช้งานที่เหมาะสม พร้อมระบุขั้นตอนการใช้งานเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

 

Credit: Google

 

สำหรับ 3 ประเด็นหลักที่ Google มองว่าข้อสำคัญในการเลือกใช้สถาปัตยกรรมนั้น ได้แก่

  • ระดับของการทำ Abstraction ว่าจะโฟกัสในส่วนโค้ดเพียงอย่างเดียว หรือสนใจในส่วนอื่นๆ ของระบบด้วย
  • ความต้องการของระบบและขีดจำกัดทางเทคนิคของแต่ละเทคโนโลยี
  • ทีมงานและองค์กรต้องการมุ่งไปในทิศทางใดในอนาคต

ถัดจากนั้นก็เป็นประเด็นเรื่องการเลือกใช้ภาษาในการพัฒนาและเทคโนโลยีของแต่ละภาษาให้เหมาะสมกับงาน และสุดท้ายก็คือการทำความเข้าใจว่าแต่ละสถาปัตยกรรมนั้นมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างไร ซึ่ง Google ก็ได้สรุปออกมาเป็นตารางดังนี้ครับ

 

 

Getting from point A to point B Time check and getting started resources
Compute Engine

Basic steps:

  1. Create & set up a VM instance
  2. Set up Node.js dev environment
  3. Code “Hello, World”
  4. Start Node server
  5. Expose the app to external traffic
  6. Understand how scaling works

Details: building with virtual machines.

4.5 hours

Kubernetes Engine

Basic steps:

  1. Code “Hello, World”
  2. Package the app into a container
  3. Push the image to Container Registry
  4. Create a Kubernetes cluster
  5. Expose the app to external traffic
  6. Understand how scaling works

Details: building with Docker containers.

6 hours

App Engine

Basic steps:

  1. Code “Hello, World”
  2. Configure an app.yaml project file
  3. Deploy the application
  4. Understand scaling options

Details: building on top of app platform.

1.5-2 hours

Cloud Functions

Basic steps:

  1. Code “Hello, World”
  2. Deploy the application

Details: building with code functions.

15 minutes

 

ที่มา: https://cloudplatform.googleblog.com/2018/06/Time-to-Hello-World-VMs-vs-containers-vs-PaaS-vs-FaaS.html

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Meta เผยแผนเล็งใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับดาต้าเซนเตอร์

เป็นที่รู้กันว่าการประมวลผลด้าน AI ต้องการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง Meta เองเป็นหนึ่งในผู้เล่นด้าน AI ยักษ์ใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกที่ยังต้องสอดคล้องต่อเรื่องอัตราการปลดปล่อยคาร์บอน โดยล่าสุดแนวทางการใช้ความร้อนใต้พิภพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว

OpenAI เปิดตัว OpenAI o1 โมเดลซีรีส์ใหม่โค้ดเนม Strawberry เน้นให้เหตุผลในงานที่ซับซ้อนขึ้น

วันพฤหัสที่ผ่านมา OpenAI ได้เปิดตัวโมเดล OpenAI o1 ภายใต้โค้ดเนม “Strawberry” โมเดล AI ซีรีส์ใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อใช้เวลาในการประมวลผลในคำตอบให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบคำถามในปัญหาที่ยากขึ้นกว่าเดิมได้ และกำลังจะเทียบชั้นกับนักศึกษาปริญญาเอก (PhD) ด้านฟิสิกส์ เคมี …