IBM Flashsystem

เปิดตัว Google.ai นำความรู้ AI สู่ทุกคน

Sundar Pichai – CEO ของกูเกิลประกาศในงาน Google I/O ที่ผ่านมาถึงเป้าประสงค์ในการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สู่สังคมภายใต้โครงการ Google.ai

Pichai กล่าวว่าในปัจจุบันนั้นมีความยุ่งยากหลายประการที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการวิจัย พัฒนา และใช้งานระบบ AI ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการก่อตั้ง Google.ai โครงการที่จะเข้ามาช่วยลดอุปสรรคเหล่านี้ ทำให้นักวิจัย นักพัฒนา และบริษัทต่างๆสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยหนึ่งวิธีที่ Google.ai กำลังใช้คือการพัฒนา AutoML – neural network ที่สามารถออกแบบ neural network ได้ซึ่งจะทำให้การสร้าง neural network นั้นกลายเป็นเรื่องง่าย โดยหวังว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้า AutoML จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้าง neural network สำหรับการใช้งานเฉพาะทางกันได้อย่างแพร่หลาย

ผลงานที่ผ่านมาของ Google.ai นั้นก็มีตั้งแต่ AutoDraw ระบบทำนายภาพวาดอัตโนมัติที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไปจนถึงอัลกอริทึม machine learning ซึ่งสามารถตรวจจับการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านมได้อย่างแม่นยำ โดยเว็บไซต์ Google.ai จะเปรียบเสมือนห้องสมุดรวบรวมงานพัฒนาและงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ทั้งหมดของกูเกิลที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าไปอ่านและรับชมได้อย่างเต็มที่

Pichai ยังได้กล่าวต่อไปว่าการเปลี่ยนผ่านจากโลก mobile-first ไปยัง AI-first ในครั้งนี้นั้นไม่ได้หมายถึงการพัฒนาอุปกรณ์ล้ำสมัยหรือการวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระจายความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลไปยังผู้คนในสังคมและแนะนำทางเลือกใหม่ๆซึ่งมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันให้กับพวกเขา เช่น Google for Jobs ที่ช่วยจับคู่ระหว่างนายจ้างและผู้ที่กำลังหางานทุกประเภท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของฟีเจอร์ใหม่ใน Google Search เร็วๆนี้

 

ที่มา: https://blog.google./topics/machine-learning/making-ai-work-for-everyone/

Check Also

Salesforce เปิดตัว Agentforce 3 พร้อม Command Center และการรองรับ MCP

Salesforce ประกาศอัปเกรด Agentforce เป็นเวอร์ชัน 3 เพิ่มความสามารถด้านการมองเห็นและควบคุม AI Agents ผ่าน Command Center พร้อมรองรับ Model Context Protocol …

การยกระดับประสิทธิภาพธุรกิจด้วย Business Automation และการเตรียมพร้อมสู่องค์กรยุค AI ด้วย IBM RPA

องค์กรธุรกิจในปัจจุบันเผชิญกับความท้าทายหลากหลายประการทั้งในแง่ของความซับซ้อน ในขั้นตอนการทำงาน การเกิดข้อผิดพลาดที่สามารถส่งผลกระทบต่อธุรกิจ รวมถึงเวลาจำนวน มากที่ถูกใช้ไปกับงานประจำซึ่งมักมีลักษณะซ้ำซ้อน โดยเฉพาะแผนกต่างๆ เช่น ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน และฝ่ายจัดซื้อ ที่มีกระบวนการทำงานอันละเอียดอ่อนและต้องการความถูกต้องสูง