Gartner เผย Magic Quadrant for Application Delivery Controller ประจำปี 2015 พร้อม Leader 3 ราย

ปีนี้ Gartner ก็ออกมาเปิดเผย MQ สำหรับ Application Delivery Controller เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประเด็นที่ถือว่าค่อนข้างน่าสนใจในปีนี้ก็คือตลาดนี้มีความเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากเลยทีเดียวนั่นเอง

 

การเปลี่ยนแปลงไปของตลาด Application Delivery Controller (ADC)

จากการสำรวจความต้องการในตลาดนี้ ผู้ใช้งานได้ลงทุนระบบ ADC ด้วยสาเหตุ 5 อันดับแรกดังนี้

  • Server Load Balancing 97%
  • SSL Offload 85%
  • Web Content Optimization & Acceleration 37%
  • Application-Specific Configuration Templates 37%
  • Global Load Balancing 35%

ส่วนฟีเจอร์ที่น่าจับตามองอย่าง Web Application Firewall นั้นมีการใช้งานอยู่ที่ 30% ในขณะที่การทำ Customized Scripting นั้นมีอยู่ 26%

อีกตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจคือ การลงทุนระบบ ADC เป็นแบบ Software นั้นเติบโตขึ้นเป็น 49% จากในปีที่แล้วเพียง 33% เท่านั้น ในขณะที่ 30% ของ ADC ที่มีการติดตั้งใช้งานอยู่นั้นก็เป็นแบบ Software ซึ่งการที่ Software ได้รับความนิยมมากขึ้นนั้น ก็เป็นผลพวงมาจากประสิทธิภาพที่สูงขึ้นของ Network Interface จาก Intel บน Server ต่างๆ นั่นเอง

การมาของผู้ซื้อที่เป็นแบบ Application-Centric เพื่อทำ DevOps ภายในองค์กรนั้นก็กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดย Gartner ได้ประเมินตัวเลขไว้ที่ราวๆ 10% ของกำลังซื้อทั้งหมดว่าเป็นกลุ่มนี้ ซึ่งก็มีความต้องการทางด้านการเพิ่มขยายระบบได้อย่างรวดเร็ว ในค่าใช้จ่ายที่ต่ำ มีฟีเจอร์ไม่เยอะ แต่สามารถทำ ADC แบบ Per-Application ได้เพื่อให้เหมาะกับ Workflow ในการทำงานนั่นเอง และผู้เช่นที่ตอบโจทย์นี้ได้น่าสนใจในตอนนี้ได้แก่ Kemp Technologies ที่มีโมเดลราคาแบบ Freemium และ F5 LineRate Point ที่เป็นโซลูชั่นซอฟต์แวร์ล้วนๆ และมีราคาถูก เป็นอีกทางเลือกสำหรับ F5 Big-IP

ส่วนประเด็นทางด้านความปลอดภัยนั้นก็ได้รับความสนใจมากขึ้นจากการที่มีผู้ใช้งาน Web Application Firewall บน ADC มากถึง 30% อันเป็นผลมาจากข่าวการโจมตีต่างๆ ที่รุนแรงในปีที่ผ่านมา และการดักตรวจสอบข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐ ในขณะที่ Cloud-based ADC ก็เป็นอีกเทรนด์ที่น่าสนใจ รวมถึงการตอบโจทย์ของ Software Defined Networking (SDN) ด้วยเช่นกัน

ในภาพรวมสรุปได้ว่า ตลาด ADC นั้นมีการควบรวมความสามารถต่างๆ เข้าด้วยกันเอาไว้มากขึ้น แต่การ Deploy ใช้งานนั้นจะค่อยๆ เป็นเครื่องเล็กๆ จำนวนมากสำหรับแต่ละ Application แยกไปแทน

 

Leader 3 ราย

สำหรับปีนี้มี Leader ด้วยกัน 3 ราย ได้แก่ F5 Networks, Radware และ Citrix โดยจุดเด่นหลักๆ จะเป็นเรื่องของการสนับสนุน DevOps, SDN, การมี Deployment Model และ Pricing Model หลากหลายรูปแบบที่ตอบโจทย์ความต้องการได้หลากหลาย

 

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปลงะเบียนเพื่อ Download เอกสารฉบับเต็มได้ทันทีที่ http://www.citrix.com/news/market-research/oct-2015/gartner-magic-quadrant-for-adc.html ครับ

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ซอฟต์แวร์ Productivity เพื่อการศึกษากำลังเปลี่ยนไป: ถึงเวลาที่โรงเรียนต้องปรับตัว

ในปี 2022 Google ได้ยุติการให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลไม่จำกัดฟรีสำหรับสถาบันการศึกษา และ Microsoft ได้ปรับปรุงข้อเสนอด้านการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้สถาบันการศึกษาต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ เช่น ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและฟังก์ชันการทำงานที่ลดลง การพัฒนาดังกล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำระบบที่มีความเสถียร สามารถขยายได้ และควบคุมได้มาใช้

Rubrik เพิ่มความสามารถการทำงานร่วมกับ AWS

Rubrik ได้ประกาศเพิ่มความสามารถใหม่ให้ Rubrik Cloud Vault กับ AWS พร้อมประกาศเตรียมเพิ่ม API สำหรับงาน Generative AI