F5 ประกาศเข้าซื้อกิจการ NGINX 21,440 ล้านบาท เสริมตลาด Software Application Delivery และ API Management

ถือเป็นอีกดีลใหญ่ที่น่าจับตามองมากกับการที่ F5 ประกาศเข้าซื้อกิจการของ NGINX ที่มูลค่า 670 ล้านเหรียญหรือราวๆ 21,440 ล้านบาท ขยายตลาดในฝั่ง NetOps และ DevOps ไปพร้อมๆ กัน

Credit: F5

François Locoh-Donou ผู้ดำรงตำแหน่ง President และ CEO แห่ง F5 ได้ระบุว่าการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะช่วยสร้างการเติบโตให้กับการทำ Transformation ด้าน Software และ Multi-Cloud ให้กับ F5 ด้วยการนำผลิตภัณฑ์ทางด้าน Application Security และบริการต่างๆ สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพ, ความมั่นคงทนทาน และการบริหารจัดการของ F5 ผสานเข้ากับความสามารถด้านการทำ Software Application Delivery และ API Management ของ NGINX รวมถึงด้วยชื่อเสียงของทั้งสองแบรนด์นี้ก็จะทำให้ความน่าเชื่อถือสำหรับชุมชน DevOps สูงขึ้นเป็นอย่างมาก และจะนำไปสู่การผสานตลาดของ NetOps และ DevOps เข้าด้วยกันได้

F5 นั้นจะนำโซลูชันต่างๆ ของ NGINX เข้ามาเสริมกับโซลูชันด้าน Security ของ F5 ที่มีอยู่เดิม และจะผสานนวัตกรรมด้าน Cloud-Native ของ F5 เข้ากับเทคโนโลยี Load Balancing ของ NGINX ด้วย เพื่อเสริม Time to Market ให้กับการทำ Containerized Application ให้เร็วยิ่งขึ้น และ F5 เองก็จะใช้ทีมเซลส์ทั่วโลกของตนเองเพื่อขยายฐานลูกค้าองค์กรให้กับ NGINX ไปในเวลาเดียวกัน

หลังจากการเข้าซื้อกิจการแล้วเสร็จ แบรนด์ของ NGINX ก็จะยังคงอยู่ต่อไป และ Gus Robertson รวมถึงเหล่าผู้ก่อตั้ง NGINX อย่าง Igor Sysoev และ Maxim Konovalov ก็จะเข้าร่วมกับทีมของ F5 เพื่อทำงานภายใต้แบรนด์ NGINX ต่อไป โดยทาง F5 เชื่อว่ายอดขายโดยรวมของ F5 จะเติบโตยิ่งขึ้นจากการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้

ปัจจุบัน NGINX มีผู้ใช้งานโดยเว็บไซต์กว่า 375 ล้านแห่งทั่วโลก รวมถึงเว็บไซต์ของ Netflix, Starbucks และ McDonalds ด้วย

ที่มา: https://www.f5.com/company/news/press-releases/f5-acquires-nginx-to-bridge-netops-devops?sf209232999=1


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน