วันนี้ทาง Ericsson ได้อัปเดตแนวโน้มด้านการใช้งานเทคโนโลยี 2G – 4G ในไทยและทั่วโลก พร้อมเผยทิศทางของเทคโนโลยี 5G ในอนาคตที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการสื่อสารในอนาคต ซึ่งก็ถือว่าข้อมูลน่าสนใจไม่น้อยทีเดียวเพราะ Ericsson เองก็มีข้อมูลมาค่อนข้างแน่น ทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอสรุปให้ได้อ่านกันดังนี้
ตัวเลขสถิติต่างๆ
- 2G จะหายไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี 2022 โดยเมื่อถึงตอนนั้น 3G และ 4G จะมีส่วนแบ่งเท่ากันที่ 48% โดยนอกเหนือจากนั้นส่วนใหญ่จะเป็น 5G
- ในภาพรวมทั่วโลก ปี 2018 LTE จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1
- ภายในปี 2022 การใช้งาน LTE ในไทยจะโตเป็น 4 เท่า โดยมี Video เป็นทราฟฟิกหลัก ในขณะที่ Internet of Things (IoT) เองก็จะเริ่มมี Use Case มากขึ้นจากการที่ไทยมีบริการ NB-IoT และ Cat-M1
- ในการใช้งาน Smartphone ทั่วโลกมีค่าเฉลี่ยการใช้ Bandwidth อยู่ที่ 2.1GB/เดือน ส่วนไทยมีตัวเลขนี้อยู่ที่ 1.8GB ต่อเดือน แต่ในอนาคตปี 2022 ทาง Ericsson คาดว่า Smartphone แต่ละเครื่องจะใช้ Bandwidth มากถึง
- การใช้งาน Video เติบโตเป็นอย่างมาก โดยเมื่อปี 2016 การใช้งาน Video นั้นนับเป็น Bandwidth ที่ 50% ในขณะที่ปี 2022 ตัวเลขนี้จะเติบโตเป็น 75%
- ในช่วงปี 2015-2016 ที่ผ่านมา ทราฟฟิกที่เติบโตเร็วที่สุดคือ Chat
- ประเทศไทยมีการใช้งาน Mobile Application เป็นอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามหลังสิงคโปร์และเวียดนามอยู่
- ในปี 2022 ทั่วโลกจะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ Internet ด้วยกันทั้งสิ้น 29,000 ล้านชิ้น นับเป็นอุปกรณ์ IoT ทั้งสิ้น 18,000 ล้านชิ้น แบ่งเป็น Wide Area IoT จำนวน 2,100 ล้านชิ้น และ Short Range IoT 15,500 ล้านชิ้น
5G กับการนำมาใช้งานจริงในการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ด้วย IoT
ทั้งนี้ปัจจุบัน Ericsson ก็ได้เริ่มมีการจับมือกับ Mobile Operator เพื่อทดสอบ 5G ในไทยแล้ว โดย True ก็เป็น Partner รายหนึ่งที่ได้ทดสอบการใช้งาน 5G เพื่อทดลองทำเทคโนโลยี Bike Tracking สำหรับการทำ Smart Bike ด้วยเทคโนโลยี Cat-M1 อีกทั้งยังมีการทดสอบการใช้งาน Radio Dot เพื่อให้บริการเครือข่ายไร้สายสำหรับอุปกรณ์พกพาความเร็วสูงภายในอาคาร ซึ่งต่อไปก็จะะเป็นอีกเทคโนโลยีสำคัญสำหรับตอบโจทย์ตลาดองค์กร
นอกจากนี้ Ericsson เองก็ได้เสนอแนวคิดของการทำ Network Optimization ด้วยการนำเทคโนโลยี Analytics มาใช้ ทำให้ DTAC สามารถเพิ่มจำนวน Subscriber ได้ถึง 2 เท่าตัวภายในเวลาไม่ถึงปี ซึ่งเทคโนโลยีลักษณะนี้ก็จะมีความสำคัญกับ Mobile Operator เช่นกัน
ส่วนในต่างประเทศ Ericsson ได้ร่วมมือกับ Scania ในโครงการพัฒนา Intelligent Transportation System (ITS) เพื่อให้รถโดยสารสามารถเชื่อมต่อกับระบบ Cloud และบริการต่างๆ ของ Scania เองได้ ทำให้ผู้ขับได้รับข้อมูลต่างๆ และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในการทำรถยนต์ไร้คนขับได้
ในภาพรวมนั้น อนาคต 5G จะกลายเป็นบริการ as-a-Service ที่ช่วยให้ระบบ IoT สามารถใช้งานได้ และทาง Ericsson ได้เล่าภาพของโลกในยุค 5G และ IoT ว่าเราจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ใช้งานกันในตลาด Mobile เช่น 4K/8K Video Streaming, Mobile AR/VR Gaming และ Immersive Media ในขณะที่เทคโนโลยีฝั่ง Smart Vehicle เราก็จะเริ่มเห็น Autonomous Car, Cooperative Collision Avoidance และ Vulnerable and User Road Discovery ส่วนในมุมองผู้ให้บริการโครงข่าย ก็จะมีเทคโนโลยี New Radio (NR), Virtualized RAN, Federated Network Slicing, Distributed Cloud และ Real-time Machine Learning / AI ให้ใช้
ในยุคของ 5G และ IoT ทาง Mobile Operator ต้องปรับตัวอย่างไร
สำหรับ 3 สิ่งที่เหล่า Mobile Operator ต้องให้ความสำคัญในยุคของ Digital Thailand มีดังนี้
- Network Evolution ผู้ให้บริการโครงข่ายจะมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มความเร็วให้สูงขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- Differentiate Offering ผู้ให้บริการโครงข่ายแต่ละรายจะต้องมีการนำเสนอบริการที่ต่างๆ กัน เช่น Ericsson ได้ร่วมมือกับ AIS เพื่อทำโซลูชัน IoT สำหรับตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือก และจับมือกับ True เพื่อพัฒนา Smart Bike
- Public-Private Partnership การร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการโครงข่ายและภาครัฐในการสร้างบริการใหม่ๆ ขึ้นมาก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ และ Ericsson ก็มุ่งเน้นไปที่ประเด็นเรื่อง Public Safety เป็นหลัก
ตลาด IoT นั้นถือเป็นตลาดใหญ่ที่เหล่า Mobile Operator ต้องผลักดันและแย่งชิงไปพร้อมๆ กัน โดย Mobile Operator อาจจะมีบทบาทได้ทั้งในฐานะเจ้าของโครงข่ายที่ทำให้เทคโนโลยี IoT ต่างๆ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือในฐานะผู้ผลักดันหรือผู้สร้างให้เกิด IoT รูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งลูกค้ากลุ่มที่เป็น IoT นี้เองจะกลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของ Mobile Operator
IoT แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ไทยมีความเป็นไปได้สำหรับ Massive IoT
การนำ IoT มาใช้งานนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- Massive IoT ระบบ IoT ที่ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อให้อุปกรณ์ IoT ต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกับ Internet ได้ตลอดเวลา โดยระบบ IoT นั้นอาจจะไม่ได้มีความสำคัญสูงมากนัก
- Critical IoT ระบบ IoT สำหรับใช้ในงานที่มีความสำคัญสูง เช่น การผ่าตัดระยะไกล
Ericsson มองว่าประเทศไทยพร้อมที่จะเติบโตไปในทาง Massive IoT แล้ว และผู้ให้บริการโครงข่ายก็สามารถแข่งขันกันที่การให้บริการ Indoor IoT และ Outdoor IoT ให้แตกต่างกันได้ด้วย แต่อย่างไรก็ดี เมื่อตลาด IoT เติบโตไปในทิศทางใดก็ตาม ความร่วมมือระหว่างเอกชนกับภาครัฐก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการวางกรอบทางด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security) และความเป็นส่วนตัว (Privacy)