Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ในองค์กร คือช่องโหว่ที่ใหญ่ที่สุดของระบบเครือข่าย การจัดการอุปกรณ์เหล่านี้ให้ได้คือสิ่งที่จำเป็น

หลังจากการมาของ BYOD ที่ผู้ใช้งานต่างพกพาอุปกรณ์ Mobile มาใช้เพื่อการทำงาน ต่อจากนี้ไปองค์กรเองก็จะต้องเริ่มรับมือกับการมาของอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) จำนวนมหาศาลที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในระบบเครือข่ายขององค์กร และแน่นอนว่าความปลอดภัยนั้นก็เป็นประเด็นที่สำคัญเป็นอย่างมาก หลังจากในปี 2016 ที่ผ่านมานั้นมีข่าวการโจมตีทั้งอุปกรณ์ Mobile และ IoT ขนาดใหญ่ และลุกลามไปถึงการเกิดเหตุการณ์ DDoS ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ขึ้นมา

โจทย์แรกๆ ที่เหล่าองค์กรต้องเผชิญหน้าและก้าวผ่านไปให้ได้ก่อนเลยนั้นก็คือ การทราบให้ได้อยู่ตลอดว่าภายในองค์กรมีการใช้งานอุปกรณ์ใดบนระบบเครือข่ายบ้าง และการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นให้ได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกๆ อุปกรณ์จะเข้าถึงส่วนต่างๆ ของระบบเครือข่ายได้เฉพาะสิทธิ์ที่ตนมี และไม่สามารถทำการโจมตีไปยังส่วนต่างๆ ของระบบเครือข่ายได้อย่างอิสระ จากนั้นจึงจะก้าวไปสู่ประเด็นของการบริหารจัดการอุปกรณ์เครือข่าย และการทำ Compliance ให้ได้ตามต้องการ

 

ForeScout: ตรวจสอบและควบคุมทุกอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายได้จากศูนย์กลาง

ForeScout CounterACT นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่วิวัฒนาการจากการเป็นระบบ Network Access Control (NAC) ที่ได้ถูกเลือกให้เป็น Leader ของ Gartner’s Magic Quandrant มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนปัจจุบันได้กลายเป็นระบบ Security Solution เอนกประสงค์สำหรับการรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ และมีความสามารถที่หลากหลาย ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างครอบคลุม ดังนี้

 

1. ตรวจสอบและจำแนกประเภทอุปกรณ์ทั้งหมดในเครือข่าย พร้อมสร้าง Inventory ให้แบบ Real-time

ทันทีที่ติดตั้ง ForeScout CounterACT ภายในระบบเครือข่าย และทำการตั้งค่าเบื้องต้นทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ForeScout จะทำการตรวจสอบทันทีว่าภายในระบบเครือข่ายขององค์กรมีการใช้งานอุปกรณ์ใดอยู่ที่ MAC Address ใด, IP Address ใด, เป็นอุปกรณ์ชนิดไหน, ใช้ระบบปฏิบัติการอะไร, มีการเปิดใช้ Service อะไรบ้าง, ถูกใช้งานโดยผู้ใช้งานคนใด พร้อมทั้งมีข้อมูลอื่นๆ อีกมากมาย และนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างเป็น Real-time Inventory ให้ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบทราบได้ทันทีว่ามีอุปกรณ์ใดถูกใช้งานอยู่ตรงไหนของระบบเครือข่ายได้ทันที ทำให้สามารถเห็นภาพรวมของการใช้งานระบบเครือข่ายทั้งหมด เพื่อนำข้อมูลตรงนี้ไปใช้ในการออกแบบนโยบายการใช้งานและการรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่ายภายในองค์กรได้

เนื่องจากการสร้าง Real-time Inventory นี้ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Software Agent ใดๆ บนเครื่องลูกข่ายก่อน ดังนั้นไม่ว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ภายในเครือข่ายนั้นจะเป็นอุปกรณ์ชนิดใด ขอเพียงแค่มี MAC Address หรือ IP Address ก็ตาม ทาง ForeScout เองก็จะสามารถตรวจจับและสำรวจข้อมูลของอุปกรณ์เหล่านั้นได้ทั้งหมดทันที

 

2. ทำการยืนยันตัวตนและกำหนดสิทธิ์ให้กับทุกอุปกรณ์ในเครือข่าย ครอบคลุมั้ง BYOD และ IoT ภายในองค์กร

ด้วยความสามารถในการตรวจจับอุปกรณ์ทั้งหมดในเครือข่ายได้โดยไม่ต้องอาศัยการติดตั้ง Software Agent ทำให้ ForeScout นั้นสามารถทำการตรวจสอบสถานะการยืนยันตัวตนในการใช้งานแต่ละอุปกรณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันตัวตนผ่าน Web Portal ของ ForeScout เอง, การยืนยันตัวตนเข้าใช้งานระบบเครือข่ายด้วย 802.1X, การยืนยันตัวตนเข้าใช้งานเครื่อง PC ผ่าน Microsoft Active Directory หรืออื่นๆ ได้ทั้งหมด

จากการที่ ForeScout สามารถทราบถึงข้อมูลการยืนยันตัวตนของอุปกรณ์ในเครือข่ายทั้งหมดได้ และยังจำแนกประเภทของอุปกรณ์ในเครือข่ายทั้งหมดได้นี้ ทำให้องค์กรสามารถออกแบบ Workflow การยืนยันตัวตนของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบเครือข่ายได้อย่างอิสระ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • หากอุปกรณ์ใดๆ ยืนยันตัวตนผ่านทาง 802.1X หรือ Microsoft AD แล้ว จะสามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายได้ตามสิทธิ์ที่กำหนดโดยไม่ต้องยืนยันตัวตนผ่านทาง Web Portal ซ้ำ
  • หากอุปกรณ์ใดๆ ไม่ได้ทำการยืนยันตัวตนใดๆ มาก่อนและพยายามเข้าใช้งานระบบเครือข่าย จะต้องทำการยืนยันตัวตนผ่านทาง Web Portal เสียก่อน และอาจได้ระดับสิทธิ์การเข้าถึงระบบเครือข่ายที่แตกต่างออกไปจากการใช้ 8032.1X หรือ Microsoft AD
  • หากผู้ใช้งานยังไม่มี Username หรือ Password ในระบบมาก่อน สามารถทำการลงทะเบียนเพื่อร้องขอการเข้าใช้งานระบบเครือข่ายชั่วคราวได้
  • ทุกกิจกรรมของการยืนยันตัวตนที่สำเร็จและล้มเหลว จะถูกส่งข้อมูลไปยังระบบ Log Management โดยอัตโนมัติ

ซึ่ง Workflow เหล่านี้สามารถออกแบบได้ตามต้องการ รวมถึงสามารถเสริมเงื่อนไขต่างๆ เช่น ประเภทของระบบปฏิบัติการ, การต้องตรวจสอบความปลอดภัยเบื้องต้นให้ผ่านก่อนการเข้าใช้งานระบบเครือข่าย, การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงระบบเครือข่ายให้ต่างกันตามประเภทของอุปกรณ์ และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ผู้ดูแลระบบนั้นสามารถเลือกออกแบบวิธีการใช้งานระบบเครือข่ายที่เหมาะสมได้กับความต้องการ

 

3. ตรวจสอบและบริหารจัดการอุปกรณ์ภายในเครือข่ายได้ถึงระดับ Application, Security และ Hardware

ForeScout นี้สามารถทำการบริหารจัดการอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows, Linux และ Mac OS X ได้ในเชิงลึกจากการบริหารจัดการผ่าน Microsoft Active Directory และ Agent Software ขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อผู้ดูแลระบบทำการเปิดใช้งานความสามารถเหล่านี้แล้ว ก็จะสามารถตรวจสอบเครื่องลูกข่ายเหล่านี้ในเชิงลึกได้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบ CPU, RAM, Disk ที่ใช้งาน, การตรวจสอบ Application และ Service ที่กำลังทำงานอยู่, การตรวจสอบการติดตั้ง Software ต่างๆ ภายในเครื่อง, การติดตั้ง Security Patch ทั้งหมด, การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมต่างๆ ผ่าน USB และอื่นๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ ForeScout ยังสามารถทำการควบคุมเครื่องลูกข่ายเหล่านี้ทั้งหมดได้ในเชิงลึก ทั้งการสั่งเรียกใช้งาน Script ต่างๆ, การสั่งติดตั้งหรือถอนการติดตั้ง Software, การส่งข้อความแจ้งเตือนผู้ใช้งานเมื่อละเมิดนโยบายของบริษัท, การสั่งเรียกใช้งาน Anti-virus Software ทำให้การควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายเป็นไปได้อย่างปลอดภัยสูงสุด

 

4. ตรวจจับและยับยั้งการโจมตีที่เกิดขึ้นให้โดยอัตโนมัติ

ด้วยความสามารถในการตรวจสอบและเฝ้าระวัง Traffic บนระบบเครือข่ายได้ในตัว ทำให้ ForeScout สามารถตรวจหาการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นภายในระบบเครือข่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในการ Scan ระบบเครือข่ายเพื่อใช้การโจมตี, ความพยายามในการเข้าถึง Port ต่างๆ ที่ผิดปกติ, การส่ง Email จำนวนมหาศาลจนผิดปกติ และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ ForeScout สามารถช่วยระบุการโจมตีที่เกิดขึ้นภายในเครือข่ายซึ่งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอื่นๆ ยังไม่อาจตรวจพบ และทำการยับยั้งการโจมตีเหล่านั้นเอาไว้ได้อย่างทันท่วงที

 

5. ทำงานร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัยอื่น สร้างระบบ Software Defined Security ภายในองค์กร

ForeScout นี้มีสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า ControlFabric ซึ่งจะทำให้ ForeScout ทำตัวเสมือนเป็นศูนย์กลางสำหรับเชื่อมต่อทุกๆ เหตุการณ์ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ตรวจสอบตามเงื่อนไขต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ว่ามีเครื่องลูกข่ายใดกำลังถูกโจมตีหรือกำลังโจมตีผู้อื่นหรือกำลังทำผิดนโยบายการรักษาความปลอดภัยขององค์กรหรือไม่ และทำการโต้ตอบกลับไปด้วย ForeScout เองหรือส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้โต้ตอบต่อเหตุการณ์เหล่านี้แทนได้ ดังต่อไปนี้

  • ตรวจจับเหตุการณ์การ Login หรือ Logout จากอุปกรณ์เครือข่ายเช่น Switch, Wireless Controller, VPN, Router และอื่นๆ
  • รวบรวมผลการตรวจสอบความปลอดภัยจากระบบ Firewall, IPS, Vulnerability Assessment, Enterprise Mobile Management, Mobile Device Management, Endpoint Protection และ Security Intelligence
  • รวบรวมผลการวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ และประเด็นด้านความปลอดภัยจาก SIEM และ Advanced Threat Detection
  • ทำการโต้ตอบต่อแต่ละเหตุการณ์ตามเงื่อนไข เช่น หากระบบ Vulnerability Assessment พบว่าเครื่องลูกข่ายใดมีช่องโหว่ ก็อาจให้ ForeScout ทำการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงระบบเครือข่ายของลูกข่ายเครื่องนั้น และสั่งการต่อไปยังระบบ Patch Management เพื่อทำการอัปเดตเครื่องลูกข่ายเหล่านั้นให้มีความปลอดภัยเพียงพอ ก่อนจะทำการเปิดสิทธิ์การเข้าถึงระบบเครือข่ายให้ได้อย่างเต็มที่

 6. ออกรายงานได้ตามต้องการ และทำ Compliance สำหรับทั้งระบบเครือข่ายได้ตลอดเวลา

ForeScout นี้รองรับการปรับแต่งให้ทำการรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบประเด็นต่างๆ ด้านความปลอดภัยให้ตรงตามข้อกำหนดหรือ Compliance ต่างๆ ที่องค์กรต้องการ และสร้างเป็นระบบ Real-time Compliance สำหรับอุปกรณ์ลูกข่ายทั้งหมดได้อย่างยืดหยุ่น ทำให้องค์กรมีรายงานการตรวจสอบ Compliance พร้อมให้เรียกตรวจสอบหรือใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา และผู้ดูแลระบบก็จะทราบได้ทันทีหากมีอุปกรณ์ใดทำผิดไปจากข้อกำหนดที่ต้องการ และทำการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

ทั้งนี้ ForeScout เองก็ยังมีรายงานสำเร็จรูปหลายสิบแบบให้พร้อมใช้งานได้ทันที ทั้ง Inventory Report, Security Report, Trending Report และอื่นๆ อีกมากมาย

 

ForeScout แตกต่างอย่างไรจาก Firewall?

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ทุกองค์กรย่อมต้องสงสัย โดยเฉพาะคำถามที่ว่า “หากองค์กรมีระบบ Firewall อยู่แล้ว ยังจำเป็นต้องมี ForeScout อีกหรือไม่?” ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ก็อยู่ที่ว่าองค์กรนั้นมีความต้องการในการรักษาความปลอดภัยภายในระบบเครือข่ายมากน้อยเพียงใด และสามารถจำแนกหลักคิดออกได้ดังต่อไปนี้

1. ปัจจุบันระบบ Firewall ที่มีอยู่ สามารถรองรับการยืนยันตัวตน และกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานภายในระบบเครือข่ายได้ครบถ้วนทุกคนหรือไม่?

โดยทั่วไปแล้ว Firewall นั้นมักถูกออกแบบมาให้รองรับการกำหนดนโยบายแบบตายตัว กล่าวคือกำหนดกฎเอาไว้เป็นชุดๆ และไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามผู้ใช้งานในแต่ละคน ดังนั้นหากจะนำ Firewall มาใช้ในการกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานแต่ละคนในการใช้งานเข้าถึงระบบเครือข่ายให้แตกต่างกันนั้นจะทำให้ Firewall ต้องแบกรับภาระในการประมวลผลค่อนข้างมาก

ในขณะเดียวกัน ForeScout นี้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการกำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคนให้แตกต่างกันโดยเฉพาะ ดังนั้นหากองค์กรกำลังมองหาวิธีการในการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงระบบเครือข่ายที่แตกต่างกัน ForeScout นั้นก็ถือเป็นทางเลือกที่ถูกต้องสำหรับองค์กร

 

2. ปัจจุบันองค์กรสามารถตรวจจับการโจมตีที่เกิดขึ้นภายในระบบเครือข่ายกันเองได้หรือไม่?

อุปกรณ์สำหรับการตรวจจับการโจมตีขององค์กรโดยมากนั้นมักเป็นการตรวจจับการโจมตีจากเครื่องลูกข่ายไปยัง Data Center หรือจากระบบเครือข่ายภายนอกเข้ามายังภายในองค์กร แต่สิ่งที่ ForeScout สามารถช่วยเสริมได้นั้นการตรวจจับการโจมตีระหว่างผู้ใช้งานภายในองค์กรกันเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในพฤติกรรมของ Hacker, Worm, Malware และการโจมตีที่มีความซับซ้อนในปัจจุบัน ทำให้ผู้ดูแลระบบและรักษาความปลอดภัยนั้นสามารถตรวจพบเหตุการณ์เหล่านี้และรับมือได้อย่างทันท่วงที

 

3. ปัจจุบันองค์กรทราบได้หรือไม่ว่า ภายในระบบเครือข่ายของตนมีอุปกรณ์ชนิดใด, จำนวนเท่าไหร่, เชื่อมต่ออยู่กับ Switch หรือ Access Point ตัวใดบ้าง?

ในปัจจุบันที่ผู้ใช้งานแต่ละคนนำอุปกรณ์พกพาของตัวเองมาใช้งานภายในองค์กรมากมาย และแผนกต่างๆ เริ่มมีการนำอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) เข้ามาใช้ในการทำธุรกิจกันมากขึ้นเรื่อยๆ การที่ฝ่าย IT สามารถติดตามการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ให้ได้นั้นถือว่าจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถทำการควบคุมขอบเขตการใช้งานและการรักษาความปลอดภัยแก่อุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างครบถ้วนครอบคลุมนั่นเอง ซึ่ง ForeScout ที่สามารถตรวจสอบและสร้าง Inventory รายการของอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้งานได้ทันทีนั้นก็ถือเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี

 

4. ปัจจุบันองค์กรสามารถทำ Compliance ตามข้อกำหนดที่ต้องการได้สำหรับทุกๆ อุปกรณ์แบบ Real-time ได้อย่างง่ายดายหรือไม่?

การทำ Compliance นับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เมื่อองค์กรเริ่มมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายมากขึ้น การทำ Compliance ก็จะยิ่งมีความซับซ้อนสูงขึ้นและใช้เวลานานขึ้น ForeScout นี้สามารถช่วยตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ตามความต้องการของการทำ Compliance ได้อย่างละเอียด อีกทั้งยังสามารถมองเห็นไปถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ฝ่าย IT อาจไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีอยู่ภายในองค์กรได้ ทำให้การทำ Compliance นั้นรวดเร็วและง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก

 

ติดต่อ Throughwave Thailand ตัวแทนจำหน่ายของ ForeScout ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ผู้ที่สนใจโซลูชันทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายของ ForeScout รวมถึงระบบอื่นๆ เกี่ยวกับ Security ไม่ว่าจะเป็น Mobile Device Management, Network Security, Firewall, SSL-VPN หรืออื่นๆ และต้องการคำแนะนำ, คำปรึกษา หรือใบเสนอราคา สามารถติดต่อทีมงาน Throughwave Thailand ได้โดยตรงที่ info@throughwave.co.th หรือโทร 02-210-0969 ได้ทันที หรือสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ Throughwave Thailand ได้ที่ https://www.throughwave.co.th/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ผสาน Automation และ Intelligence เข้าไปยังความสามารถของงานด้านการผลิต โดย Infor

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้งานในธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และแต่ละอุตสาหกรรมก็มีความท้าทายเฉพาะตัวที่ต้องเผชิญหน้า ในอุตสาหกรรมการผลิตเองก็เช่นกันที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า Supply Chain และอื่นๆ 

Cisco ปิดดีลเข้าซื้อ Splunk มูลค่า 1 ล้านล้านบาท

หลังจากผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจนได้รับอนุมัติเรียบร้อย ล่าสุดทาง Cisco ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ Splunk ที่มูลค่า 28,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1 ล้านล้านบาทอย่างเป็นทางการแล้ว