ทีมนักวิจัยจาก Binghamton State University จากเมืองนิวยอร์กได้นำเสนองานวิจัยใหม่ทางด้าน Biometric ซึ่งใช้คลื่นไฟฟ้าของหัวใจในการเป็นกุญแจสำหรับเข้ารหัสข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วย

แนวคิดพื้นฐานของงานวิจัยนี้คือ ในอนาคต ผู้ป่วยทุกคนจะสวมใส่อุปกรณ์สำหรับติดตามและเฝ้าระวังสุขภาพของตน ซึ่งจะคอยรวบรวมข้อมูลทางสรีรวิทยาส่งไปยังแพทย์เจ้าของคนไข้ และเนื่องจากสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) จะถูกเก็บรวบรวมไว้สำหรับใช้ทำการวินิจฉัย ระบบจึงนำข้อมูลที่ส่งมานี้ใช้สร้างกุญแจสำหรับเข้ารหัสแทนที่จะสร้างใหม่จากศูนย์ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายและทรัพยากรสำหรับประมวลผลลงไปได้
“จนถึงตอนนี้มีเทคนิคสำหรับเข้ารหัสข้อมูลมากมาย แต่ปัญหาคือการเข้ารหัสข้อมูลเหล่านั้นคือต้องพึ่งพาการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์และการสร้างกุญแจที่ซับซ้อน” — Zhanpeng Jin ระบุในงานวิจัยเรื่อง A Robust and Reusable ECG-based Authentication and Data Encryption Scheme for eHealth Systems
อย่างไรก็ตาม เทคนิคการใช้ ECG ในการพิสูจน์ตัวตนนี้ไม่สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์พกพาหรืออุปกรณ์สวมใส่ที่กินแบตเตอรี่ เนื่องจากถ้านำวิธีการเข้ารหัสนี้ไปใช้ อุปกรณ์เหล่านั้นจะแบตหมดลงอย่างรวดเร็ว ข้อเสียอีกประการที่ ECG ไม่ถูกนำไปใช้เป็นกุญแจเข้ารหัสคือ ค่า ECG ค่อนข้างอ่อนไหวและแปรปรวนได้ง่าย เนื่องจากคลื่นไฟฟ้าของหัวใจสามารเปลี่ยนแปลงไปมาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น การออกกำลังกาย สภาวะจิดใจ หรือแม้แต่อายุและสุขภาพ เป็นต้น
“ตัวของ ECG เองไม่สามารถนำมาใช้เพื่อการพิสูจน์ตัวตนแบบ Biometric หลักได้ แต่มันเป็นวิธีการพิสูจน์ตัวตนรองที่มีประสิทธิผลสูงมาก” — Jin กล่าว
ที่มา: https://www.binghamton.edu/mpr/news-releases/news-release.html?id=2476