Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

ฟรี eBook: คู่มือการเสริมความแข็งแกร่งให้ระบบ Web Security โดย Akamai

Akamai ผู้ให้บริการระบบ Content Delivery Network (CDN) และ Web Security ชื่อดัง ออก eBook เรื่อง “Threats and Mitigations: A Guide to Multi-layered Web Security” ความยาว 44 หน้า บรรยายถึงรูปแบบภัยคุกคามบนเว็บแอพพลิเคชันที่พบบ่อยในปัจจุบัน วิธีการรับมือกับภัยคุกคามเหล่านั้น และวิธีการเลือกใช้โซลูชันอย่างเหมาะสม ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด eBook ได้ฟรี

eBook ฉบับนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท ได้แก่

  • บทที่ 1: รู้จักกับภัยคุกคามบนเว็บแอพพลิเคชันในปัจจุบัน ได้แก่ การโจมตีแบบ DDoS, การจารกรรมข้อมูล และการโจมตีผ่านโปรโตคอล DNS
  • บทที่ 2: เสริมความแข็งแกร่งแบบ Multi-layered เพื่อปกป้องเว็บแอพพลิเคชันให้มั่นคงปลอดภัย
  • บทที่ 3: เปรียบเทียบโซลูชันแบบ On-premises และ Cloud Services
  • บทที่ 4: วิธีการเลือกใช้โซลูชันอย่างเหมาะสมสำหรับรับมือกับภัยคุกคามแบบต่างๆ
  • บทที่ 5: ช่องโหว่บนเว็บแอพพลิเคชันที่พบบ่อย และวิธีจัดการกับช่องโหว่เหล่านั้น

ดาวน์โหลด eBook: A Guide to Multi-Layered Web Security

 

สำหรับผู้ที่คิดว่าเนื้อหายาวเกินไป อาจจะไม่มีเวลาอ่าน ทางทีมงานจาก บริษัท เวิลด์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด หรือ WIT ได้ทำการสรุปสาระสำคัญเป็นภาษาไทยแบบเข้าใจง่ายๆ ดังนี้

ภัยคุกคามบนเว็บแอพพลิเคชันในปัจจุบัน

เว็บไซต์และเว็บแอพพลิเคชันเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในยุค Digital ที่ผู้คนต่างเชื่อมต่อออนไลน์กันตลอดเวลา เว็บเปรียบเสมือนเป็นหน้าร้านบนโลกอินเทอร์เน็ตที่สื่อถึงตัวตนขององค์กร เมื่อเว็บถูกโจมตีหรือถูกแฮ็คอาจสร้างความเสียหายไปจนถึงระบบภายในและทำให้องค์กรเสียชื่อเสียงเป็นอย่างมาก เว็บจึงเป็นช่องทางยอดนิยมที่สุดที่แฮ็คเกอร์มักใช้โจมตีเป้าหมาย

ภัยคุกคามบนเว็บแอพพลิเคชันที่พบบ่อยในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

  • การโจมตีแบบ DoS/DDoS ระดับเน็ตเวิร์ก – มี 2 แบบหลักๆ คือ
    • Flooding: ส่ง TCP/ICMP/UDP Request จำนวนมหาศาลไปยังเป้าหมายเพื่อให้เกิดการความสามารถที่ระบบเครือข่ายจะรับได้
    • Amplification: ปั๊มขนาดทราฟฟิกโดยการส่ง Request ไปยัง DNS/NTP Server เพื่อให้สร้าง Response ขนาดใหญ่กว่าเดิมหลายสิบเท่าส่งกลับไปยังเป้าหมายเพื่อให้ Bandwidth เต็ม
  • การโจมตีแบบ DoS/DDoS ระดับแอพพลิเคชัน – ส่ง Request จำนวนมหาศาลที่ดูเหมือนเป็นทราฟฟิกปกติเพื่อให้เป้าหมายประมวลผลไม่ทัน จนไม่สามารถใ้หบริการผู้ใช้ปกติได้ เช่น การสร้างเซสชัน SSL พร้อมกันเป็นจำนวนมาก การโจมตีผ่าน Form เพื่อให้ฐานข้อมูลประมวลผลไม่ทัน เป็นต้น
  • การโจมตีเพื่อจารกรรมข้อมูล – ส่วนใหญ่เป็นการโจมตีแบบ Command Injection หรือก็คือการลอบส่งคำสั่ง เช่น SQL Statement เข้าไปผ่านเว็บแอพพลิเคชันที่มีช่องโหว่ เพื่อให้รันคำสั่งตามความต้องการของแฮ็คเกอร์ เช่น แสดงข้อมูล ลบข้อมูลทิ้ง หรือเข้าควบคุมระบบทั้งหมด เป็นต้น
  • การโจมตีผ่านโปรโตคอล DNS – คือการทำ Registrar Hijacking หรือ Redirection/Cache Poisoning เพื่อเปลี่ยนเส้นทางของผู้ใช้ให้เข้าถึงเว็บไซต์ของแฮ็คเกอร์แทน โดยที่ผู้ใช้นึกว่ากำลังเข้าถึงเว็บไซต์ที่แท้จริง จากนั้นดำเนินการโจมตีต่อ เช่น หลอกขโมยข้อมูล หรือหลอกให้ดาวน์โหลดมัลแวร์ เป็นต้น

เสริมความแข็งแกร่งแก่เว็บแอพพลิเคชันแบบ Multi-layered Security

การป้องกัน DDoS ระดับเน็ตเวิร์กและการโจมตีในระดับแอพพลิเคชันใช้เทคนิคที่แตกต่างกัน ผู้ดูแลระบบควรพิจารณาอย่างน้อย 2 โซลูชันในการปกป้องเว็บแอพพลิเคชันให้มั่นคงปลอดภัย ดังนี้

  • การป้องกัน DDoS ระดับเน็ตเวิร์ก – ผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องมี Network Bandwidth เพียงพอในการรับมือกับปริมาณทราฟฟิกขนาดใหญ่ และต้อมีวิธีการกรองทราฟฟิกอันตรายทิ้งไป ให้เฉพาะทราฟฟิกปกติผ่านเข้ามายังเว็บแอพพลิเคชัน
  • การป้องกันแอพพลิเคชันจากการโจมตีแบบ DoS และการจารกรรมข้อมูล – สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาแอพพลิเคชันตามแนวทาง Secure Software Development Lifecycle และการตรวจสอบทราฟฟิกจากผู้ใช้ ซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัย Web Application Firewall (WAF) ช่วยระหว่างรอการอัปเดตแพทช์ นอกจากนี้ WAF โดยส่วนใหญ่ยังช่วยป้องกันการโจมตีแบบ DoS ได้อีกด้วย

เปรียบเทียบโซลูชันแบบ On-premises และ Cloud Services

WAF และ DDoS Mitigation ในปัจจุบันสามารถเลือกติดตั้งได้ 2 แบบ คือ ติดตั้งแบบ On-premises ในห้อง Data Center และใช้งานผ่านระบบ Cloud ซึ่ง Akamai แนะนำว่า ในยุคปัจจุบันที่เทคนิคการโจมตีมีการพัฒนาให้รุนแรงและซับซ้อนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ การติดตั้ง WAF/DDoS Mitigation แบบ On-premises ถึงแม้ว่าองค์กรจะได้เป็นเจ้าของอุปกรณ์และสามารถบริหารจัดการได้อย่างอิสระ แต่ก็ต้องลงทุนด้าน CapEx สูง รวมไปถึงการหาผู้เชี่ยวชาญมาใช้อุปกรณ์เพื่อรับมือกับภัยคุกคามก็ทำได้ยากและเสียค่าตอบแทนสูง นอกจากนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพียงเครื่องเดียวจะรับมือกับการโจมตีแบบ DDoS ที่มีความรุนแรงสูงได้

ในทางกลับกัน Cloud-based WAF/DDoS Mitigation เข้ามาตอบโจทย์การรับมือกับการโจมตีแบบ DDoS ได้เป็นอย่างดี โดยการกระจายภาระงานไปยังเครือข่าย CDN หรือ Scrubbing Center ที่มีอยู่ทั่วโลก เพื่อจัดการกรองทราฟฟิกอันตรายทิ้งไป เหลือไว้แต่ทราฟฟิกที่มาจากผู้ใช้ปกติส่งต่อไปยัง Data Center ที่สำคัญคือ Cloud Provider ส่วนใหญ่มีประสบการณ์รับมือกับภัยคุกคามบนเว็บแอพพลิเคชันและ DDoS จากลูกค้าหลากหลายประเภทมาอย่างยาวนาน ทำให้สามารถนำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) ที่เหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ ได้ รวมไปถึงมีทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลแบบ 7/24 ทำให้มั่นใจได้ว่าเว็บแอพพลิเคชันขององค์กรจะมั่นคงปลอดภัยและพร้อมให้บริการตลอดเวลา

วิธีการเลือกใช้โซลูชันอย่างเหมาะสมสำหรับรับมือกับภัยคุกคามแบบต่างๆ

การเลือกโซลูชันสำหรับป้องกัน DDoS ระดับเน็ตเวิร์ก และการโจมตีในระดับแอพพลิเคชันควรพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้

การป้องกันการโจมตีแบบ DoS/DDoS ระดับเน็ตเวิร์ก

  • สามารถตรวจสอบและบล็อกทราฟฟิกที่วิ่งเข้ามาผ่านพอร์ตอื่นนอกจาก 80 (HTTP) และ 443 (HTTPS) เพื่อป้องกันการโจมตีแบบ DDoS ได้
  • สามารถขยาย Bandwidth เพื่อรับมือกับปริมาณทราฟฟิกอันมหาศาลที่เกิดจาก DDoS Botnets ได้
  • อัตราค่าบริการไม่ควรพิจารณาจากปริมาณทราฟฟิกขณะเกิด DDoS เนื่องจากผู้ใช้บริการอาจต้องเสียค่าบริการเป็นจำนวนมหาศาล
  • สามารถหยุดยั้งการโจมตีก่อนที่จะเข้าถึง Data Center ได้ เพื่อให้ Router หรือ Firewall ไม่ต้องรับภาระทราฟฟิก DDoS หรือประมวลผลทราฟฟิกอันตราย
  • เมื่อต้องประมวลผลทราฟฟิกปริมาณมหาศาล จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบป้องกัน
  • พิจารณา Total Cost of Ownership (TCO) แทนที่เงินลุงทนของระบบป้องกัน

สำหรับการป้องกันการโจมตีระดับแอพพลิเคชันนั้น องค์กรควรพิจารณาการดำเนินการ 2 อย่าง คือ การพัฒนาแอพพลิเคชันตามแนวทาง Secure Software Development Lifecycle และติดตั้ง WAF ด้านหน้าเว็บแอพพลิเคชัน ซึ่งควรเลือกใช้โซลูชัน WAF โดยพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้

  • การตรวจสอบ Packet ควรมีความยืดหยุ่น สามารถตรวจจับและบล็อกภัยคุกคามได้ทั้งจาก Request และ Response
  • มีการเพิ่ม Rule สำหรับรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่สม่ำเสมอ และสามารถปรับแต่ง Rule เพื่อทำ Virtual Patch ระหว่างรออัปเดตแพทช์ได้
  • รองรับการทำ Blacklisting, Whitelisting และ Geo-blocking
  • มีระบบตรวจสอบพฤติกรรมการเข้าถึงเว็บแอพพลิเคชันที่ผิดปกติ เช่น บล็อกผู้ใช้ที่ก่อให้เกิดความผิดพลาดแบบ 404 Page not found มากจนเกินไป
  • สามารถจำกัดสิทธิ์การเข้าถึง Web Server โดยตรงจากอินเทอร์เน็ต ให้เฉพาะผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้

ดาวน์โหลด eBook: A Guide to Multi-Layered Web Security

 

Akamai ร่วมกับ WIT พร้อมให้บริการโซลูชัน Web Security/DDoS Mitigation ในประเทศไทย

Akamai ได้จับมือเป็นพันธมิตรร่วมกับ บริษัท เวิลด์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (WIT) ผู้มีประสบการณ์ในการติดตั้งและวางระบบ IT Infrastructure มานานกว่า 27 ปี และมีทีมวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญสูง ทำให้มั่นใจได้ว่า สามารถให้คำปรึกษาและบริการโซลูชัน Web Application Firewall และ DDoS Mitigation ของ Akamai แก่ผู้ใช้ในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคืนผลกำไรได้อย่างรวดเร็ว

จนถึงวันนี้ Akamai ได้ให้บริการ CDN และโซลูชันบนระบบ Cloud แก่องค์กรที่มีชื่อเสียงทั่วโลกมากกว่า 1,000 ราย เช่น Standard Chartered, Cathay Pacific, KKBOX, Adobe และ IBM ซึ่งในไทยเอง ด้วยความสนับสนุนจาก WIT ก็ได้ให้บริการแก่บริษัทชั้นนำทั่วประเทศมากกว่า 10 แห่ง ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อีเมล marketing@wit.co.th หรือโทร 02-237-3555

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs [PR]

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs ขับเคลื่อน ด้วยขุมพลัง AI ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อม การทำงานแบบไฮบริด

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย