Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

มุ่งสู่ Digital Transformation ด้วยแพลตฟอร์มและโซลูชัน B2B จาก AIS 5G Business

เป็นที่รู้กันว่า Digital Transformation คือเทรนด์ที่เกิดขึ้นมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ด้วยโลกแห่งอนาคตกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลให้ Digital Transformation นั้นไม่ใช่ “ทางเลือก” อีกต่อไปสำหรับใครที่กำลังทำธุรกิจอยู่และยังคงต้องการอยู่ในสนามแข่งขันต่อไปในโลกอนาคต

และถ้าหากใครกำลังมองหาแพลตฟอร์มหรือโซลูชันใหม่ ๆ ในการทำ Digital Transformation สำหรับองค์กรเพื่อให้สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจได้ดีขึ้น หรือเร่งประสิทธิภาพได้สูงขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น ทาง AIS 5G Business มีโซลูชันและแพลตฟอร์มมากมายที่สนับสนุนตามความต้องการได้อย่างแน่นอน ซึ่งทีมงาน TechTalkThai จะมาสรุปแพลตฟอร์มและโซลูชันแบบ B2B จากทาง AIS 5G Business ที่มีในปัจจุบันให้ได้เห็นภาพรวมว่าเป็นอย่างไร ในบทความนี้

โครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์ม 5G คือรากฐานสำคัญ

ในการทำโซลูชันแบบใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจที่หลากหลายนั้นจำเป็นต้องมีรากฐานที่แข็งแกร่งและมั่นคง ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานพร้อมกับแพลตฟอร์ม 5G นี้เองคือส่วนที่สำคัญในการนำไปต่อยอดเพื่อทำโซลูชันที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมได้ โดยปัจจุบันโซลูชัน 5G Infrastructure และ 5G Platform ได้รองรับความต้องการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

  • 5G Network Slicing บริการจัดสรรเครือข่ายเสมือนแบบแบ่งส่วนได้แบบ End-To-End ตาม Workload ที่ต้องการใช้งาน โดยมี 3 แบบ ดังนี้
    • eMBB Slicing เหมาะกับความต้องการ Throughput สูง เช่น ธุรกิจสื่อออนไลน์ต่าง ๆ 
    • mMTC Slicing เหมาะกับการเชื่อมต่อเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์ IoT มาก ๆ อย่างเช่น ในโรงงานผลิตหรือธุรกิจค้าปลีก 
    • uRLLC Slicing เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการ Low Latency และ Reliability อย่างมาก เช่น งานทางการแพทย์ หรือรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
  • 5G FWA PLUS+ (Fixed Wireless Access) บริการสร้างโครงข่ายแบบเฉพาะโดยที่ไม่จำเป็นต้องวางสายไฟเบอร์ใด ๆ อีกทั้งยังการันตีแบนด์วิดท์ที่เหนือกว่าบริการ FWA ทั่วไป โดยใช้ความสามารถของ Network Slicing ที่จะทำให้มั่นใจในการใช้งานเหมือนใช้งานสายไฟเบอร์ ซึ่งเหมาะกับงานที่เป็น Workload ที่เป็นงานที่สำคัญ (Critical Application) ต่อองค์กรมาก ๆ ในระดับที่ไม่สามารถรับความผิดพลาดได้นั่นเอง
  • 5G MEC (Multi-Access Edge Computing) บริการระบบประมวลผล Edge Computing ที่อยู่ใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุด โดยปัจจุบันมีโซลูชัน 2 แบบ ได้เแก่
    • Shared MEC ที่จะแชร์ทรัพยากรใช้งานกัน จึงเหมาะกับงานในธุรกิจที่ไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก ซึ่งจะทำให้สามารถขึ้นระบบใช้งานได้อย่างรวดเร็วและใช้เงินลงทุนต่ำ
    • Dedicated MEC คือการสร้าง MEC ขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการ Throughput สูงมาก ๆ และ Low Latency เพื่อการดำเนินงานของธุรกิจ
  • 5G Private Network บริการสร้างเครือข่าย 5G และ MEC ให้ใช้งานได้แบบส่วนตัว โดยมี 3 รูปแบบที่มีให้บริการอยู่ตอนนี้ ได้แก่
    • Standard Grade โดยจะเป็นลักษณะแชร์ทรัพยากร MEC และ UPF ซึ่งเหมาะกับงานที่ต้องการเริ่มต้นอย่างรวดเร็วและไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น การทำงานทางไกลผ่านแว่นตา AR อัจฉริยะ หรือการเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ IoT ทั่วไป เป็นต้น
    • Premium Grade ซึ่งเริ่มให้บริการในพื้นที่เฉพาะโซน EEC จึงทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่า Standard Grade ที่ช่วยลด Latency จึงเหมาะกับงานเฉพาะทางต่าง ๆ เช่น การควบคุมทางไกลในงาน Machine Vision หรือหุ่นยนต์ AMR หรือการทำโซลูชัน Smart City เป็นต้น
    • Exclusive Grade คือแบบที่จะสร้างเครือข่าย MEC และ UPF ให้ใช้งานแบบเฉพาะ ซึ่งจะเหมาะกับงานที่ต้องการ Low Latency และมีความเป็นส่วนตัว (Data Privacy) สูงมาก ๆ เช่น การทำระบบอัตโนมัติ (Automation) ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือการผ่าตัดจากระยะทางไกล
  • 5G Security Platform โดย AIS 5G Business ได้ร่วมมือกับพาร์ตเนอร์มากมายเพื่อในการสร้างโซลูชันความปลอดภัยในแต่ละระดับ ไม่ว่าจะเป็น IoT Security, IT/OT Security หรือ Endpoint Security ที่จะผสมผสานกับโซลูชันอย่าง SD-WAN Firewall, Managed SASE และบริการ CSOC เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้งานหรือเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มจะมีความปลอดภัยจากการถูกคุกคามทางไซเบอร์ได้

เพิ่มมูลค่าทางธุรกิจกับโซลูชัน 5G Horizontal/Vertical 

นอกจากโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์ม 5G ที่ได้ให้บริการอยู่แล้วนั้น ทาง AIS 5G Business ยังต่อยอดการสร้างโซลูชันใน 2 แกน ได้แก่ 5G Horizontal Applications และ 5G Vertical Solutions ที่จะให้มูลค่า (Value) กับธุรกิจมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

โดย 5G Horizontal Applications จะเป็นบริการแอปพลิเคชันในแบบต่าง ๆ สำหรับทุกกลุ่มธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น เช่น การทำระบบ AR/VR, ระบบควบคุม Drone Robotics, การทำ Machine Vision หรือ Digital Signage เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยี 5G จะมาเสริมประสิทธิภาพในแต่ละโซลูชันที่มีในอีกขั้น เอื้อประโยชน์ให้ผู้ที่ต้องการใช้งานโซลูชันเหล่านั้นสามารถประยุกต์และนำไปใช้งานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังตัวอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วคือการสร้าง V-Avenue ที่เป็นห้าง Virtual Mall แบบเต็มรูปแบบที่ใช้งานโซลูชัน AR/VR ในการทำให้การช้อปปิ้งเกิดเป็นประสบการณ์มิติใหม่ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 เป็นต้น

ส่วน 5G Vertical Solutions นั้นเป็นการสร้างโซลูชันเชิงลึกในแต่ละภาคส่วน โดยได้สร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านขึ้นมา เพื่อนำเอาเทคโนโลยี 5G เข้าไปเสริมศักยภาพในแต่ละโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรมได้ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นภาคขนส่งโลจิสติกส์ (Transportation & Logistics) อสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีก (Property & Retail) การแพทย์ (Healthcare) การเกษตร (Agriculture) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือภาคการผลิต (Manufacturing) ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดในการประยุกต์ใช้ 5G ภายในโรงงาน ซึ่งจะเป็นส่วนที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุค Thailand Industry 4.0 นั่นเอง

ความร่วมมือคือหัวใจสำคัญ

สิ่งที่สำคัญในการทำให้เกิดโซลูชันใหม่ให้เกิดขึ้นและใช้งานได้จริงนั้น คือ ความร่วมมือกันของผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งทาง AIS 5G Business นั้นได้ดำเนินการตามเฟรมเวิร์กในการสร้างร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละภาคส่วนอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2022 AIS ก็จะยังคงเฟ้นหาพาร์ตเนอร์ใหม่มาผนึกกำลังกันต่อยอดและสร้างเป็นโซลูชันแบบใหม่ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งก่อนหน้านี้ ทาง AIS 5G Business ได้เริ่มสร้างความร่วมมือเป็น Key Strategic Partner กับหลายองค์กรแล้ว เช่น OMRON, Mitsubishi Electric, TKK, Tata Consultancy Services และ Schneider Electric ซึ่งจากความร่วมมือที่เกิดขึ้นเหล่านี้เองที่ได้ทำให้เกิดเป็นโซลูชันแบบใหม่ที่สามารถนำไปใช้งานเป็น Smart Manufacturing ในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้แล้วเป็นที่เรียบร้อย 

ตัวอย่างโซลูชันใน Smart Manufacturing

เป็นที่รู้กันว่า ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตในอดีตมักมีขั้นตอนต่าง ๆ มากมายและมักจะดำเนินการแบบ Manual อยู่ ซึ่งส่งผลให้ใช้เวลานานกว่าที่ควรจะเป็นในสายการผลิตเรื่อยมา แต่ทว่าที่จริงแล้ว ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยี 5G หรือ AI และ Big Data ที่จะสามารถพลิกโฉมหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการต่าง ๆ ภายในสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้เป็นอย่างมาก เช่น การใช้งานระบบ Automation ในสายการผลิต การใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำนายถึงช่วงเวลาในการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ล่วงหน้าอย่างแม่นยำ หรือการทำนายอุปสงค์อุปทาน (Demand Supply) ได้ดีขึ้นซึ่งส่งผลให้สามารถบริหารจัดการสายการผลิตให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดได้ทันท่วงที เป็นต้น

และด้วยความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดเป็นโซลูชันที่รองรับการทำ Smart Manufacturing โดยสามารถสนับสนุนปรับเปลี่ยนสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิมในแต่ละส่วน ทั้งการทำให้เกิด Smart Workforce, Smart Production Line, Smart Workplace, การสร้างเป็น Remote Factory พร้อมระบบ Energy & Emission Management และ Smart Logistics & Warehouse โดยตัวอย่างโซลูชันที่ร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่

  • ความร่วมมือกับ OMRON ในการทำ Layout-free Production Line ที่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างสายการผลิตได้แบบ Real Time ที่จะทำให้ไม่มีข้อจำกัดกับสายที่วางตามโครงสร้างอีกต่อไป 
  • ความร่วมมือกับ Mitsubishi Electric และ TKK ในการทำ Remote Monitoring จากภายนอกโรงงาน ทำให้โรงงานสามารถดำเนินการได้ตามปกติโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องมีมนุษย์เข้าไปที่หน้างานตลอดเวลา
  • ความร่วมมือกับ Tata Consultancy Services ในการทำ Digital Twin ที่สามารถจำลอง (Simulation) และโยกย้ายสายการผลิตไปมาได้ตามที่ต้องการ หรือการทำ Smart Workforce ที่สามารถตรวจจับวัตถุต้องสงสัยหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันภายในโรงงาน การสร้าง Energy Management ในการตรวจสอบข้อมูลการใช้งานพลังงานเพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และระบบ Logistics Optimizer ที่สามารถค้นหาเส้นทางขนส่งที่ดีที่สุดด้วยระบบ AI เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
  • ความร่วมมือกับ Schneider Electric ในระบบ EcoStruxure ด้วยการใช้งานร่วมกับ 5G ที่สนับสนุนให้ระบบ Machine Advisor สามารถตรวจสอบติดตามอุปกรณ์ต่าง ๆ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว หรือระบบ Connect Advisor ที่สามารถดึงข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกมาแล้วส่งไปวิเคราะห์ต่อได้อย่างทันท่วงที

บทสรุป

จากทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าทาง AIS 5G Business และพาร์ตเนอร์ได้มีโซลูชันมากมายที่รองรับความต้องการในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งด้วยแพลตฟอร์ม 5G และองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญของทีมงาน AIS 5G Business ที่มาพร้อมกับพาร์ตเนอร์ที่คร่ำหวอดในทุกวงการนั้น เชื่อได้เลยว่าจะสามารถส่งมอบแพลตฟอร์มและโซลูชันแบบ B2B ให้ธุรกิจแต่ละเจ้าสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดต่าง ๆ ไปได้อย่างแน่นอน 

สำหรับองค์กรใดที่อยากจะเร่ง Disrupt ตัวเองให้ทันเวลาถือว่าเป็นโอกาสอันดีแล้ว โดยทาง AIS 5G Business ได้มีโครงการ AIS 5G2B Joint-Development Partnership ที่เฟ้นหาความร่วมมือร่วมกันในการทดลองและวางโซลูชันต้นแบบเพื่อแก้ไขปัญหาในธุรกิจที่มีและสร้างนวัตกรรมให้เกิดโซลูชันที่ยั่งยืนต่อไป โดยสำหรับลูกค้าองค์กรที่สนใจเข้าร่วมโครงการหรือโซลูชันของ AIS สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของคุณ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล business@ais.co.th ได้เลย

About chatchai

Tech Writer แห่ง TechTalk Thai ที่สนใจในทุกนวัตกรรมและเทคโนโลยี

Check Also

Google Cloud เผยผลการทดลองสู่การนำ Gen AI ไปใช้งานจริงในปีนี้ [PR]

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว ไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง “รอดูไปก่อน” จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19 และตอนนี้เราก็กำลังอยู่ในอีกหนึ่งช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญอีกครั้งของการปรับตัวกับการเข้ามาถึงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี Generative AI

ผสาน Automation และ Intelligence เข้าไปยังความสามารถของงานด้านการผลิต โดย Infor

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้งานในธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และแต่ละอุตสาหกรรมก็มีความท้าทายเฉพาะตัวที่ต้องเผชิญหน้า ในอุตสาหกรรมการผลิตเองก็เช่นกันที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า Supply Chain และอื่นๆ