สรุปงานสัมมนา Cyber Security in Digital Disruption & Robotic 4.0 Era โดย Bay Computing

Bay Computing ผู้ให้บริการและที่ปรึกษาด้านระบบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ชื่อดัง จัดงานสัมมนา Cyber Security in Digital Disruption & Robotic 4.0 Era อัปเดตแนวโน้มด้านภัยคุกคามและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุด พร้อมรวบรวมวิธีปฏิบัติและแนวคิดต่างๆ ที่ผสมผสานเทคโนโลยีอันล้ำสมัย เช่น Artificial Intelligence, Big Data และ Machine Learning จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานหรือต้องการอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด สามารถอ่านบทความสรุปงานสัมมนาด้านล่างนี้ได้เลยครับ

ความมั่นคงปลอดภัยเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Digital Transformation

คุณอวิรุทธ์ เลี้ยงศิริ รองประธานอาวุโสฝ่ายโซลูชันธุรกิจจาก Bay Computing ได้ขึ้นกล่าวเปิดงานในเซสชัน Keynote ระบุว่า ปัจจุบันนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในยุค Internet of Things ที่อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CCTV, Smart TV, Smart Home อยู่ใกล้ตัวเราและถูกใช้งานอยู่ทุกๆ วัน อย่างไรก็ตามอุปกรณ์เหล่านี้ยังคงเปราะบางต่อภัยคุกคาม ส่งผลให้แฮ็กเกอร์มีช่องทางในการโจมตีเพื่อเข้าถึงตัวเราได้ง่ายยิ่งขึ้น

ในส่วนของ Infrastructure เอง หลายองค์กรเริ่มนำระบบ Cloud เข้ามาใช้งานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ขอบเขตของการดูแลไม่ใช่เพียงแค่ในห้อง Data Center อีกต่อไป จึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรควรพิจารณาถึงประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยเมื่อมีการนำอุปกรณ์ IoT และระบบ Cloud เข้ามาพลิกโฉมธุรกิจขององค์กร มิเช่นนั้น ถ้าองค์กรถูกโจมตีหรือเกิดเหตุ Data Breach อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งรายได้และชื่อเสียงขององค์กรได้

“การแฮ็กในปัจจุบันเริ่มกลายเป็นอุตสาหกรรม ไม่ใช่เป็นการกระทำของคนเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเล็กๆ อีกต่อไป เป้าหมายที่ถูกโจมตีมักเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ที่สำคัญคืออุตสาหกรรมนี้มักมีองค์กรอาชญากรรมหนุนหลังอยู่ หรือบางทีก็เป็นหน่วยงานรัฐบาลเอง ที่เรียกว่า State-sponsored Attack ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเหตุจูงใจทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้การโจมตีรุนแรงกว่าอดีตมาก” — คุณอวิรุทธ์กล่าว

5 แนวโน้มด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดย Bay Computing

คุณอวิรุทธ์ยังกล่าวอีกว่า ข้อมูลในปัจจุบันเปรียบเสมือนกับน้ำมัน จะยิ่งมีค่ามากขึ้นเมื่อเรากลั่นสกัดออกมาแล้วนำไปใช้เพื่อก่อประโยชน์ทางธุรกิจ สอดคล้องกับรายงานของ Accenture ที่ว่า 79% ของผู้บริหารระบุว่า การทำ Big Data Analytics เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเพิ่มขีดจำกัดด้านการแข่งขัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมจึงมี Spyware และ Ransomware เกิดขึ้น รวมไปถึงเป็นแรงจูงใจหลักของแฮ็กเกอร์ในการโจมตีแบบ Advanced Persistent Threats (APTs) เพื่อขโมยข้อมูล

สำหรับแนวโน้มด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คุณอวิรุทธ์ได้สรุปออกมาเป็น 5 ข้อ ดังนี้

  1. ภัยคุกคามไซเบอร์เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้บริหารต้องเตรียมตัวเพื่อวางแผนรับมือ
  2. กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ จะถูกบังคับใช้มากขึ้น เช่น GDPR
  3.  ความมั่นคงปลอดภัยบนระบบ Cloud เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในยุคดิจิทัล
  4. Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning เป็นเทคโนโลยีน่าสนใจที่ทุกองค์กรควรศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้
  5. ที่มาของผู้ผลิตกลายเป็นปัจจัยในการตัดสินใจใช้บริการ ส่งผลให้ชื่อเสียงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

สรุปแนวโน้มและเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก

นอกจากการอัปเดตแนวโน้มและเทรนด์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากทาง Bay Computing แล้ว ภายในงาน Cyber Security in Digital Disruption & Robotic 4.0 Era ยังได้รวบรวมวิธีปฏิบัติและแนวคิดต่างๆ ที่ผสมผสานเทคโนโลยีอันล้ำสมัย เช่น Artificial Intelligence, Big Data และ Machine Learning จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกมาเล่าสู่กันฟังอีกด้วย ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

RSA

ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เสมือนเป็นเกมแมวจับหนู ทั้งองค์กรและแฮ็กเกอร์เองต่างพัฒนาตนเองให้พร้อมสู้กับอีกฝ่าย สำหรับปีนี้ RSA ระบุว่า แฮ็กเกอร์จะเน้นโจมตีที่อุปกรณ์พกพา, อุปกรณ์ IoT และอุปกรณ์จำพวก Home Assistant เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้เริ่มมีข้อมูลสำคัญเก็บอยู่ มีความมั่นคงปลอดภัยต่ำ และผู้ใช้ไม่ค่อยสนใจป้องกันเท่าไหร่ นอกจากนี้ Data Breach ก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ทุกองค์กรต้องเตรียมวางแผนรับมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้ความสำคัญกับการทำ Detect & Respond เนื่องจากการป้องกัน (Prevent) อย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป

สำหรับองค์กรที่เตรียมพัฒนาศูนย์ SOC ต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ People, Process และ Technology จึงจะพร้อมรับมือต่อภัยคุกคามไซเบอร์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนเทคโนโลยีเอง AI และ Machine Learning จะถูกผสานเข้ากับ User and Entity Behavior Analytics (UEBA) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจจับและวิเคราะห์พฤติกรรมที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายขององค์กรให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.rsa.com

Forcepoint

Forcepoint เป็นการผสานรวมเทคโนโลยี 5 รายการเข้าด้วยกัน ได้แก่ Raytheon, Websense, Stonesoft, Skyfence และ Redowl เพื่อปกป้องจุดที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้และข้อมูลเข้าด้วยกัน กล่าวคือ ในอดีต องค์กรส่วนใหญ่ใช้โมเดลด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบ Threat Centric เพื่อจำแนกว่าทราฟฟิกไหนเป็นสีขาว (ดี) หรือสีดำ (ไม่ดี) แต่ปัจจุบันนี้ทราฟฟิกที่เป็นสีเทามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงต้องหันมาใช้โมเดลแบบ Behavior Centric แทน โดยอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมของผู้ใช้จะทำให้สามารถตัดสินทราฟฟิกสีเทาได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ Forcepoint ยังได้นำเสนอโมเดลด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบ Risk Adaptive คือ นโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยควรปรับเปลี่ยนตามระดับความเสี่ยงของผู้ใช้คนนั้นๆ ได้ ถ้าผู้ใช้มีความเสี่ยงในระดับที่สูงขึ้น นโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยก็ควรจะเข้มงวดและรัดกุมมากยิ่งขึ้นตาม

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.forcepoint.com

Imperva

Imperva ให้บริการ Cloud Web Application Firewall และ DDoS Mitigation สำหรับปกป้องแอปพลิเคชันบนระบบ Cloud จากภัยคุกคามต่างๆ ครอบคลุม OWASP Top 10 ที่สำคัญคือมี Scrubbing Center 44 แห่งกระจายอยู่ทั่วโลก รวมไปถึงประเทศไทย สามารถป้องกันการโจมตีแบบ Volumetric DDoS ได้สูงสุดถึงระดับ 5 Tbps

สำหรับระบบฐานข้อมูลนั้น Imperva มีบริการ Database Activity Monitoring สำหรับทำ Database Auditing โดยเฉพาะ ช่วยลดภาระการทำ Auditing บนระบบฐานข้อมูลเอง ที่สำคัญคือสามารถตรวจสอบและแจ้งเตือนพฤติกรรมที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นบนระบบฐานข้อมูลได้ นอกจากนี้ Imperva ยังให้บริการ Database Security และ File Security สำหรับปกป้องข้อมูลใน Database, File Share และ SharePoint อีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.imperva.com

A10 Networks

จากสถิติพบว่า การโจมตีแบบ DDoS มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นถึง 380% ในปีที่ผ่านมา ในขณะที่การโจมตีระดับ 50 Gbps ก็ถูกพบเห็นได้บ่อยกว่าเดิมถึง 4 เท่า ซึ่งการป้องกัน DDoS แบบ Cloud Scrubbing, Clean Pipe และ On-premise อย่างใดอย่างหนึ่งไม่เพียงพอต่อการรับมือการโจมตีแบบ DDoS ในปัจจุบันอีกต่อไป A10 Networks จึงได้นำเสนอการป้องกัน DDoS แบบ Multi-layered Approach ซึ่งผสานรวมทั้ง 3 เทคนิคเข้าด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรพร้อมรับมือกับการโจมตีแบบ DDoS ได้ทั้งในระดับ Network และ Application

นอกจากการโจมตีแบบ DDoS แล้ว ภัยคุกคามที่แฝงตัวมากับ SSL ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าเป็นห่วง จากสถิติพบว่าการโจมตีที่ซ่อนพรางมากับช่องทางที่เข้ารหัสเพิ่มสูงขึ้นถึง 41% ถึงแม้ว่าหลายโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยจะสามารถถอดรหัสเพื่อตรวจสอบภัยคุกคามในทราฟฟิก SSL ได้ แต่ประสิทธิภาพของโซลูชันเหล่านั้นก็จะลดลงถึงประมาณ 81% ส่งผลให้ A10 Networks นำเสนอโซลูชันสำหรับบริหารจัดการทราฟฟิกที่เข้ารหัสข้อมูลแบบ SSL โดยเฉพาะ เรียกว่า SSL Insight ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่สามารถถอดรหัสข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แล้วส่งต่อข้อมูลที่ถอดรหัสแล้วไปยังอุปกรณ์รักษาความมั่นคงปลอดภัยอื่นๆ พร้อมกันได้หลายเครื่อง ภายใต้แนวคิด “Decrypt Once, Inspect Many Times” ซึ่งช่วยลดภาระงานในการถอดรหัส SSL ของอุปกรณ์อื่นได้เป็นอย่างดี

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.a10networks.com

Fortinet

Fortinet ให้บริการโซลูชันสำหรับป้องกันระบบ IT จากภัยคุกคามแบบครบวงจร ครอบคลุมทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ Infrastructure, Cloud, IoT และ OT รวมไปถึงนำเสนอ Adaptive Security Framework สำหรับรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ในปัจจุบันที่มีหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วย

  • การค้นหาช่องทางการโจมตีที่ครอบคลุมทั้งระบบเครือข่ายและระบบ Cloud
  • การป้องกันระบบ IT จากภัยคุกคามที่เคยประสบมาก่อน
  • การตรวจจับภัยคุกคามที่ไม่เคยประสบมาก่อน (Unknown Threats)
  • การตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างรวดเร็วผ่านทางฟีเจอร์ User and Entity Behavior Analytics (UEBA)
  • การประเมินความน่าเชื่อถือ (Trust) โดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ โซลูชันของ Fortinet ยังมีจุดเด่นสำคัญที่เรียกว่า Security Fabric ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ FortiGate ซึ่งทำหน้าที่ Firewall ตรวจพบไฟล์ต้องสงสัย FortiGate จะส่งไฟล์นั้นไปตรวจสอบที่ FortiSandbox ในกรณีที่ยืนยันได้ว่ามีภัยคุกคามแฝงตัวอยู่จริง FortiSandbox จะส่งข้อมูลไปยังทุกอุปกรณ์ของ FortiGate เพื่อให้รับทราบถึงภัยคุกคามดังกล่าว เมื่ออุปกรณ์อื่น เช่น FortiClient ตรวจพับไฟล์ต้องสงสัยอีกครั้ง ก็จะสามารถบล็อกไฟล์นั้นๆ ได้ตั้งแต่ที่อุปกรณ์ปลายทางเลย ผลลัพธ์คือความเร็วในการตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยลดลง

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.fortinet.com

FireEye

จากผลวิจัยล่าสุดของ FireEye ระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ทั่วโลกต้องใช้เวลาประมาณ 101 วันในการค้นพบว่าองค์กรของตนกำลังถูกโจมตีอยู่ ในขณะที่ในภูมิภาค APAC ต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยสูงถึง 498 วัน การตรวจจับ (Detect) และตอบสนอง (Respond) อย่างรวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เพื่อให้องค์กรเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยคุกคามไซเบอร์น้อยที่สุด

ด้วยเหตุนี้ FireEye จึงได้นำเสนอบริการของ Mandiant ซึ่งเป็นทีมปรึกษาของ FireEye สำหรับทำ Incident Response โดยเฉพาะ ซึ่งบริการดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบถึงสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การพิสูจน์หลักฐานเชิงดิจิทัล และการตอบสนองเมื่อเกิดเหตุการณ์ Data Breach นอกจากนี้ Mandiant ช่วยประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร รวมไปถึงอบรมบุคลากรเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยให้สูงขึ้นอีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.fireeye.com/services.html

Gemalto

Gemalto เป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้าน Data Protection ชั้นนำของโลก ซึ่งมุ่งเน้นที่การให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับพิสูจน์ตัวตนทั้งแบบกายภาพและแบบออนไลน์มายาวนานกว่า 30 ปี มีฐานลูกค้ามากกว่า 180 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีโซลูชันสำหรับเข้ารหัสข้อมูลและบริหารจัดการกุญแจที่ใช้เข้ารหัส เพื่อตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลในยุคดิจิทัล

Gemalto พร้อมให้บริการ 3 โซลูชันสำคัญเพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญจากภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ ได้แก่

  • การค้นหาและเข้ารหัสข้อมูลสำคัญ ทั้งใน Data Center และบนระบบ Cloud
  • การจัดเก็บและบริหารจัดการกุญแจที่ใช้เข้ารหัสข้อมูลและ Digital Certificates อย่างมั่นคงปลอดภัย
  • การกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลที่เก็บอยู่บน Apps, File Servers, Databases, Storage Networks, VM และ Cloud

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.gemalto.com

Nutanix

Nutanix เป็นผู้นำเทคโนโลยี Hyper-converged Infrastructure (HCI) และ Enterprise Cloud Platform โดยมุ่งเน้นความต่อเนื่องของธุรกิจให้ทำงานได้ตลอดเวลา ไม่มีหยุดชะงัก สามารถเพิ่มหรือขยายระบบในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว บริหารจัดการได้ง่าย ที่สำคัญคือมีความมั่นคงปลอดภัยสูง พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของทุกกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยความสามารถอันหลากหลาย เช่น

  • Nutanix AHV: ระบบ Hypervisor ของ Nutanix
  • Nutanix Prism: โซลูชันบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ที่มาพร้อมกับการทำงานแบบ One-click
  • Nutanix Flow: เครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยระดับสูงของ Nutanix
  • Nutanix Calm: Application Automation และการบริหารจัดการ Lifecycle สำหรับ Nutanix และ Public Clouds
  • รองรับการบริหารจัดการแบบ Multi-cloud ได้แก่ Private Clouds, AWS, Azure และ Google Cloud

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nutanix.com/

CyberArk

CyberArk เป็นผู้ให้บริการ Privileged Access Security ชั้นนำสำหรับปกป้อง Privileged Account ที่ใช้ในการเข้าถึงระบบสำคัญขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล หรือแอปพลิเคชัน โดย CyberArk สามารถเปลี่ยนรหัสการใช้งานได้ตามนโยบายขององค์กร รวมไปถึงสามารถเก็บบันทึกการเข้าถึงระบบในรูปของ Log และวิดีโอซึ่งสามารถดูย้อนหลังได้ นอกจากนี้ CyberArk ยังมีฟีเจอร์การวิเคราะห์พฤติกรรมการเข้าถึงระบบต่างๆ ของผู้ดูแลระบบ (Admin Behavior Analytics) เพื่อตรวจจับและป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ทั้งยังสามารถแจ้งเตือนและหยุดการใช้งาน Privileged Account ที่ผิดปกติได้อีกด้วย

CyberArk รองรับการปกป้อง Privileged Account ทั้งบนระบบที่เป็น On-premises และระบบ Cloud ขององค์กร รวมไปถึงสามารถปกป้อง Credentials ของแอปพลิเคชันเชิงธุรกิจและภัยคุกคามอันเนื่องมากจาก Robotic Process Automation ได้อีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.cyberark.com/

Arista Networks

Arista เป็นผู้นำทางด้านระบบเครือข่ายสำหรับ Cloud และ Data Center ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี Software-defined Networks (SDN) เพื่อให้รองรับการทำงานแบบ Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งให้บริการระบบอัตโนมัติซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถบริหารจัดการระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Data Center แบบ Virtualization ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Arista มีการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ชั้นทำ ไม่ว่าจะเป็น VMware, Microsoft, Nutanix หรือ HPE เพื่อนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการและเฝ้าระวังระบบเครือข่ายแบบเรียลไทม์ รวมไปถึงการวิเคราะห์ระบบเพื่อนำไปสู่การวางแผนขยายระบบในอนาคต ที่สำคัญคือ Arista เป็นระบบเปิดซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้าในการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมดูแลระบบเอง เช่น OpenStack, Ansible, Chef, Puppet หรือจะใช้ซอฟต์แวร์ CloudVision ของทาง Arista เองก็ได้เช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ Arista Networks จึงเป็นผลิตภัณฑ์อันดับ 1 ทางด้านเครือข่ายขนาดใหญ่ของผู้ให้บริการระบบ Cloud ที่ใช้กันมากที่สุด

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.arista.com/

เกี่ยวกับ Bay Computing

Bay Computing เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้บริการโซลูชันแบบครบวงจร (End-to-End Turnkey Solutions) ได้แก่ Cyber Security Operation Solution, Endpoint Security and Management, Network & Network Security Solutions, Data Security Solution, Infrastructure Solution and Advisory Service ตลอดจนการพัฒนาโซลูชัน Cybersecurity ที่ครอบคลุมทั้งการผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงกระบวนการนำไปใช้ และทักษะของบุคลากรในการให้คำปรึกษา ติดตั้ง บำรุงรักษา ปฏิบัติการ ตลอดจนการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จสูงสุด

ในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน Bay Computing มีผลิตภัณฑ์ที่รองรับความต้องการเพื่อให้เป้าหมายทางธุรกิจ บรรลุผลขององค์กรทุกระดับ ด้วยทีมงานมืออาชีพมากกว่า 100 คนที่มีความพร้อมและเป็นผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายเทคโนโลยีและมีความชำนาญมากกว่า 20 ปี จึงได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำมากมาย อาทิ ผู้ให้บริการระบบสื่อสารและโทรคมนาคม, สถาบันการเงิน, บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์, หน่วยงานราชการ, หน่วยงานความมั่นคง, รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาชั้นนำ ในการส่งมอบโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมสำหรับแต่ละองค์กรและธุรกิจของคุณ

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

บริษัทซอฟต์แวร์คลาวด์ ServiceTitan ประกาศ IPO หวังระดมทุนสูงสุด 502 ล้านดอลลาร์

ServiceTitan ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์คลาวด์สำหรับธุรกิจ ประกาศเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรก (IPO) โดยตั้งเป้าระดมทุนสูงสุดถึง 502 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเสนอขายหุ้นจำนวน 8.8 ล้านหุ้น ในช่วงราคาหุ้นละ 52 ถึง 57 ดอลลาร์

Tuskira เปิดตัวพร้อมทุน 28.5 ล้านดอลลาร์ ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้วย AI

สตาร์ทอัพด้านการตรวจจับภัยคุกคาม Tuskira เปิดตัวพร้อมระดมทุน 28.5 ล้านดอลลาร์จากกลุ่มนักลงทุนที่นำโดย Intel Capital และ SYN Ventures มุ่งเร่งนวัตกรรม AI การผสานระบบ และยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรด้วยกลยุทธ์เชิงรุกที่รวมเครื่องมือเข้าด้วยกันและลดความเสี่ยงแบบเรียลไทม์