พาชมงานเปิดตัว Cisco Co-Innovation Center แห่งแรกของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาทางทีมงาน TechTalkThai ได้รับเกียรติจาก Cisco ผู้นำตลาดด้านเครือข่ายระดับองค์กรให้เข้าร่วมงานเปิดตัว Co-Innovation Center ณ ประเทศ สิงค์โปร์ซึ่งถือเป็นศูนย์นวัตกรรมแห่งแรกบนภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นแห่งที่ 14 จากทั้งหมด พร้อมกันนี้ยังได้มีการเปิดตัว Cybersecurity Center ที่จะประกอบไปด้วย 2 หน่วยย่อยคือ Talos และ Security Operation Center โดยทั้งหมดนี้เป็นการทำงานร่วมกับตัวแทนภาครัฐบาลเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกับให้สิงค์โปร์ด้วย

Cisco Co-innovation Center

แนวคิดของ Co-Innovation Center และประโยชน์ที่สิงค์โปร์ได้รับ

Cisco และหน่วยงานพัฒนาเศรษฐกิจของสิงค์โปร์ (EDB) ได้จับมือกันสร้างศูนย์นวัตกรรมแห่งแรกขึ้นเพื่อช่วยผลักดันงานวิจัยหรือไอเดียสร้างสรรค์ให้สามารถนำไปแก้ปัญหาได้จริง โดย Cisco เองนั้นมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีซึ่งภายในศูนย์นวัตกรรมนี้จะมีห้องทดสอบทั้ง Physical และ Virtual ให้พาร์ทเนอร์ หน่วยงานรัฐบาล องค์กร มหาวิทยาลัย Startup ได้นำไอเดียเข้ามาประยุกต์ทำ PoC ร่วมกับโซลูชันของ Cisco เพื่อสร้างโซลูชันใหม่ เช่น หน่วยงานรัฐบาลได้โซลูชันใหม่ในการดำเนินงานเพิ่มประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่น้อยลง ภาคเอกชนหรือ Startup มีโซลูชันใหม่ไปเสนอลูกค้าเพิ่มยอดขายและส่งผลไปถึง GDP เศรษฐกิจของประเทศ มหาวิทยาลัยก็จะได้งานวิจัยและนักศึกษาที่มีประสบการณ์จริงด้วย สำหรับ Cisco เองจะเป็นรากฐานของโซลูชันใหม่และมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโซลูชัน Cisco เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเป็นการลงทุนที่ส่งผลดีกับทุกฝ่ายทั้ง Cisco และเศรษฐกิจของสิงค์โปร์

อย่างไรก็ตามทาง Cisco เองไม่ได้จำกัดแค่พาร์ทเนอร์หรือหน่วยงานในรัฐบาลสิงค์โปร์เท่านั้นเพราะบริษัทเองก็เปิดกว้างให้องค์กรจากประเทศที่สนใจ เช่น ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม หรืออื่นๆ สามารถเข้ามาใช้งานศูนย์แห่งนี้ได้เช่นกันเพียงแค่ติดต่อผ่านทีมงานของ Cisco ในประเทศนั้นเพื่อประสานงานเข้ามา

ภาพรวมของ Co-Innovation Center

ศูนย์นวัตกรรมแต่ละแห่งนั้นจะมีความสนใจหลายด้านแตกต่างกัน เช่น ญี่ปุ่นจะเน้นในเรื่องของ 5G, เทคโนโลยีของฝั่ง Service Provider และเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก หรือหากเป็นในฝั่งของออสเตรเลียก็จะเน้นเทคโนโลยี 5G, Service Provider, การขนส่ง, หน่วยงานรัฐบาล, การศึกษา รวมไปถึงเทคโนโลยีเกี่ยวกับเหมืองและทรัพยากรต่างๆ เป็นต้น โดยในฝั่งของสิงค์โปร์เองจะสนใจ 3 เรื่องหลักคือ Smart City (IoT), Blockchain และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า Cisco สามารถสร้างผลงานที่ใช้งานได้จริงเหมาะสมกับความต้องการในแต่ละประเทศ

กลยุทธ์ของทีม innovation

กลยุทธ์การสร้างนวัตกรรมของ Cisco มีด้วยกัน 4 ด้านดังนี้

  • สร้าง – พัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นจากทีมงาน R&D ของตนเอง
  • ซื้อ – จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาทาง Cisco ได้เข้าซื้อบริษัทเป็นจำนวนมากเพื่อสามารถต่อยอดได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเริ่มจากศูนย์
  • จับมือ – เป็นการสร้างความร่วมมือกับเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น Google หรือ Microsoft เป็นต้น 
  • ลงทุน – สนับสนุนบริษัทต่างๆ ที่น่าสนใจเพื่อให้มีทุนดำเนินงานต่อไปได้

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นทีมงานภายใน บริษัทที่ถูกซื้อเข้ามา พาร์ทเนอร์ หรือบริษัทที่ได้ทุนสนับสนุนจะเข้ามาทำงานร่วมกันภายใต้ชื่อ ‘Cisco’ เพื่อสร้างเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ นั่นเอง

Innovation Use Case

วิทยากรโชว์อุปกรณ์ IoT ที่มี Certificate ภายใน

ในครั้งนี้ Cisco ยังได้จัดกลุ่มบรรยายถึงนวัตกรรมที่บริษัทกำลังทำอยู่แก่สื่อมวลชนอีกด้วย 4 โครงการดังนี้

1.Rotterdam Port 

ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปที่ Cisco ได้เข้าไปทำ PoC อยู่ตอนนี้เพื่อผลักดันการดำเนินงานให้เป็น ‘Autonomous’ ให้ได้ทั้งหมดภายในปี 2023 ตั้งแต่เรือ รถส่งของ เครนและรางส่ง ระดับน้ำและสภาพของน้ำ โดยคาดว่าจะต้องใช้เซนเซอร์ราว 1,000 ถึง 100,000 ตัวเลยทีเดียว ซึ่งไอเดียคือ Cisco ได้เป็นฐานของการส่งข้อมูลได้อย่างสเถียรจากเซนเซอร์ไปถึงหน่วยประมวลผล อย่างไรก็ตามปัญหาที่น่าสนใจก็คือ ‘เราจะเชื่อถืออุปกรณ์ IoT เหล่านั้นได้อย่างไร’ โดยทาง Cisco ได้แก้ปัญหาดังนี้

  • ร่วมกับผู้ผลิตอุปกรณ์ IoT เหล่านั้นเพื่อใส่ Certificate ไว้ในอุปกรณ์เพื่อการันตีว่าอุปกรณ์ IoT เหล่านั้นได้รับการรับรองไม่ใช่ใครจะนำอุปกรณ์ใดมาต่อก็ได้
  • เมื่อเชื่อมต่อเข้ามาแล้วอุปกรณ์จะถูก Enforce Policy จาก DNA IoT Management เพื่อจำกัดการทำงานในระดับที่เหมาะสม
  • ติดตามการทำงานของอุปกรณ์อย่างต่อเนื่องว่าสามารถทำงานได้ปกติเหมาะสมหรือไม่ (ในการสาธิตใช้ Kibana Monitor)

สำหรับการแก้ปัญหาจริงทางผู้บรรยายได้หยิบยกปัญหาของการควบคุมปริมาณน้ำว่าจะมีผลต่อการจัดคิวเรือในขนาดต่างๆ เช่น เรือใหญ่น้ำต้องสูงถึงจะดี เป็นต้น ซึ่งแก้ปัญหาด้วยการนำเซนเซอร์ไปติดตามจุดต่างๆ เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของน้ำในแต่ละจุดทำให้สามารถทำนายระดับน้ำล่วงหน้าได้ (จับมือกับ IBM ใช้ Watson AI มาช่วย) ซึ่งส่งผลต่อการจัดคิวให้เหมาะสมและลดต้นทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ

2.Future of Transportation

ปัญหาก็คือปัจจุบันมีประชากรกระจุกกันอย่างหนาแน่นซึ่งทาง Cisco ก็ได้สร้างความร่วมมือกับ University of New South Wales เพื่อแก้ปัญหานี้ โดยไอเดียก็คือร่วมกับหน่วยงานขนส่งใช้ Kinetic ดึงข้อมูล เช่น บัตรเดินทาง(ในต่างประเทศเวลาขึ้นขนส่งสาธารณะจะมีบัตรแตะได้ เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า รถราง เป็นต้น) มาทำการวิเคราะห์ว่าจุดขนส่งสาธารณะไหนที่มีคนรอเยอะ ป้ายไหนคนอยากลงมากเพื่อส่งกลับไปให้ขนส่งบริหารจัดการรถได้อย่างเหมาะสมและลดต้นทุนได้ซึ่งปัญหาของขนส่งสาธารณะทั่วโลกคือมักขาดทุนเสมอ

3.Blockchain

Cisco ได้นำ Blockchain เข้ามาแก้ปัญหาการติดตามโมดูล เช่น หัวโมดูล 10G หรือ 1G (หลายท่านคงคุ้นเลยว่าจะมีโมดูลที่ต้องเสียบกับ Switch มาให้และปัญหาคือหายง่ายมาก) โดยทุก Party เช่น ผู้รับเหมาหรือพาร์ทเนอร์จะมีโหนดของตัวเองเพื่อเข้าร่วมในเครือข่าย ดังนั้นจะสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าได้ซึ่ง Cisco ได้พัฒนาแพลตฟอร์มของ Blockchain และแอปพลิเคชันที่ชื่อ ‘Footprint’ สำหรับการใช้งานภายในขึ้นมาเองทั้งหมด

4.Future of Manufacturing

FANUC เป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยในกรณีนี้ทางบริษัทได้พยายามแก้ปัญหาเรื่องของ ‘Unplanned Downtime’ ที่ทำให้หุ่นยนต์เกิดความเสียหายและกระทบกับภาคการผลิตของโรงงานซึ่งมีมูลค่าสูงมาก โดย FANUC ได้ใช้อุปกรณ์ของ Cisco เพื่อเป็นฐานของการส่งข้อมูล (ข้อมูลตัวเลขเชิงไฟฟ้าและช่างกล) และคลาวด์ของ Cisco สำหรับการคำนวณวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ทำให้สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ได้ล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุเพื่อหยุดผลกระทบที่ไม่คาดคิดและลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีนัยสำคัญ

เปิดตัว Cisco Cybersecurity Center of Excellence (CCX)

Cisco Co-Innovation Space

ภายใต้ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยนี้จะมีส่วนประกอบย่อย 2 ส่วนคือ

  • Talos – ทีมงานนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยของ Cisco ที่ศึกษาเกี่ยวกับภัยคุกคามที่ค้นพบเพื่อสร้าง Intelligence ส่งกลับเข้าไปยังผลิตภัณฑ์ของ Cisco ที่ลูกค้าใช้เป็นข้อมูลสู้กับภัยคุกคาม
  • SoC – การร่วมมือกันระหว่าง Cisco และภาครัฐบาลของสิงค์โปร์เพื่อตอบสนองเหตุการณ์ภัยคุกคาม โดย SoC จะมีหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานภายในและแนะนำหน่วยงานรัฐบาลถึงการปฏิบัติตัวต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้น (เป็นแค่คำแนะนำ ดังนั้นจะถูกนำไปปฏิบัติจริงหรือไม่ Cisco ไม่มีส่วน)

โดยประโยชน์ที่สิงค์โปรจะได้รับคือความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยของ Cisco ที่มีอยู่เต็มเปี่ยม โดยปัจจุบันอัตราการค้นพบภัยคุกคามของ Cisco เฉลี่ยอยู่ที่ 4.6 ชั่วโมงซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ดีมากแต่ก็มุ่งหวังที่จะพัฒนาขึ้นกว่านี้ นอกจากนั้น CCX จะสามารถสร้างบุคคลกรที่มีทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยให้กับสิงค์โปร์ได้ด้วยกลยุทธ์ 3 ข้อคือ

  1. จัดทำ Workshop ให้กับรัฐบาลและพาร์ทเนอร์ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ
  2. แชร์ความรู้กับมหาวิทยาลัยให้อาจารย์และนักศึกษาได้นำไปวิจัยเพื่อแก้ปัญหาจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจริง
  3. ทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชนควบคู่กันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์สร้างฐานความรู้ที่แข็งแกร่ง

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Wikipedia บอกผู้พัฒนา AI หยุด Scrape ได้แล้ว เอาข้อมูลบทความไปเลย

มูลนิธิ Wikimedia ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่เบื้องหลังสารานุกรมเสรีที่ใหญ่ที่สุดบนอินเทอร์เน็ตอย่าง Wikipedia ได้เสนอชุดข้อมูลที่พร้อมสำหรับปัญญาประดิษฐ์บน Kaggle โดยมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งบริษัท AI และผู้ฝึกโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) จากการดึงข้อมูลจากเว็บไซต์โดยอัตโนมัติ (web scraping)

รู้แล้วสั่งเลย! IBM FlashSystem 5015 และ5045 โปรใหม่จาก Metro Systems ‘จุ-คุ้ม-แรง’

ข้อมูลก็ยังคงเป็นหัวใจสำคัญกับองค์กรเสมอ หากท่านกำลังมองหาทางเลือกในการขยายระบบ Storage หรือวางแผนโปรเจ็คใหม่ให้องค์กร วันนี้เรามีโปรโมชันดีๆจาก Metro Systems Corporation มาบอกต่อกับ IBM FlashSystem 5015 และ 5045 ที่มาพร้อมกับความจุกันแบบจุกๆ …