ประเทศจีนเดินหน้าสร้างเครือข่ายการเข้ารหัสแบบควอนตัม

ภาพประกอบจาก www.winbeta.org
ภาพประกอบจาก www.winbeta.org

ในปัจจุบันนี้ที่อาชญากรรมบนโลกไซเบอร์เป็นเรื่องที่พบเห็นได้เป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีเล็กๆ เล่นๆ สนุกๆ ไปจนถึงจารกรรมข้อมูลของบริษัท ธนาคาร หรือแม้แต่ระดับประเทศก็ตาม เพื่อป้องกันแฮ็คเกอร์ที่นับวันจะมีลูกเล่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีใหม่ๆจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมา หนึ่งในนั้นที่น่าสนใจ คือ การเข้ารหัสเครือข่ายแบบควอนตัม (Quantum Encryption)

จากรายงานของ Malcolm Moore ประเทศจีนถือว่าเป็นผู้นำทางด้านการเข้ารหัสแบบควอนตัมในขณะนี้ เนื่องจากทางรัฐบาลจีนกำลังเดินหน้าโปรเจ็คท์เครือข่าย Fiber Obtic ระหว่างเมืองปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสแบบควอนตัม

“เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่เราใช้ในโปรเจ็คท์นี้นำเข้ามาจากต่างประเทศ เราจึงต้องเร่งทำโปรเจ็คท์นี้ให้เห็นผลชัดเจนอย่างเร็วที่สุด นอกจากนี้ วิธีการเข้ารหัสหลายรูปแบบในปัจจุบันก็ไม่ใช่สิ่งที่คิดขึ้นที่ประเทศจีน เราจึงต้องการพัฒนาวิธีการเข้ารหัสที่เป็นของเราเองขึ้นมา เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยจากชนชาติอื่น” — ศาสตราจารย์ Pan Jianwei นักฟิสิกส์ควอนตัมประจำ University of Science and Technology (TSTC) ได้ให้ข้อมูล

จุดเด่นของการเข้ารหัสแบบควอนตัมที่เหนือกว่าการเข้ารหัสที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน คือ กุญแจในการเข้ารหัสถูก Encode ในรูปของโฟตอน (ก้อนแสง) ซึ่งไม่มีทางที่คนอื่นจะดักฟังหรือดักจับข้อมูลได้ แต่ก็มีข้อเสีย คือ โฟตอนไม่สามารถเดินทางได้ในระยะทางไกลๆ ส่งผลให้ระยะทางระหว่างปักกิ่งถึงเซี่ยงไห้ (ประมาณ 1,000 กิโลเมตร) จำเป็นต้องเชื่อมต่อกันถึง 20 Nodes ซึ่งอาจเป็นจุดเสี่ยงที่จะถูกแฮ็คเกอร์โจมตีได้

quantum_encryption_2

แม้กระนั้น การเข้ารหัสแบบควอนตัมถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่แห่งอนาคต ซึ่งทางการจีนตัดสินใจลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว ถ้าผลการทดสอบประสบความสำเร็จ มีความเป็นไปได้สูงที่การเชื่อมต่อทุกอย่างในประเทศจีนจะใช้การเข้ารหัสแบบควอนตัมนี้

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ Pan Jianwei และทีมงานยังให้ความเห็นว่า การเข้ารหัสควอนตัมนี้ปลอดภัยสุดๆในทางทฤษฎีก็จริง แต่ความเป็นจริงนั้นไม่เสมอไป แฮ็คเกอร์จีนฝีมือดีหลายคนจึงถูกเชิญมาเพื่อทดสอบการเข้ารหัสดังกล่าว

โปรเจ็คท์เครือข่ายการเข้ารหัสควอนตัมนี้ถูกวางแผนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปี โดยมีการร่วมกับการทหาร และสถาบันการเงิน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาทางป้องกันการดักฟังข้อมูลที่ดีที่สุด โดยเฉพาะจากรัฐบาลประเทศอื่นๆ

หมายเหตุ จากการสืบค้นข้อมูลล่าสุด พบว่ามีไม่น้อยกว่า 6 องค์กรทั่วโลก รวมถึง DARPA และ NASA ที่ก็กำลังพัฒนาเครือข่ายการเข้ารหัสควอนตัมนี้อยู่เช่นเดียวกัน

ที่มา: http://www.net-security.org/secworld.php?id=17613

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Cohesity ผนึกกำลังพันธมิตรเสริมแกร่งความสามารถตอบสนองภัยคุกคาม

Cohesity Cyber Event Response Team (CERT) เพิ่มความร่วมมือกับ Third Party หลายราย เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการตอบสนองภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น ข้อมูลรั่วไหล แรนซัมแวร์ เป็นต้น

พบช่องโหว่ใน macOS อนุญาตให้แฮกเกอร์ติดตั้ง Kernel Driver ที่เป็นอันตรายได้

ทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Microsoft ค้นพบช่องโหว่ในระบบ System Integrity Protection ของ macOS ที่อาจถูกใช้ติดตั้งมัลแวร์ระดับ Kernel และหลบเลี่ยงการตรวจสอบความปลอดภัย