AWS แจกเอกสาร Quick Start Reference Deployment สำหรับออกแบบระบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน PCI DSS

AWS แจกเอกสาร Quick Start Reference Deployment สำหรับการออกแบบระบบบน AWS เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน PCI DSS (Payment Card Industry Data Security Standard)

ในเอกสาร Standardized Architecture for PCI DSS on the AWS Cloud จะอ้างอิงตามมาตรฐาน PCI DSS 3.1 เป็นหลัก ซึ่งจะมีการแนะนำตั้งแต่การตั้งค่าระบบ, การปกป้องข้อมูล Cardholder, การตั้งค่า Access Control และอื่นๆ โดยจะมาพร้อม Template ของ AWS CloudFormation ให้ใช้งาน ซึ่งใน Template จะมีตัวอย่างการ Deploy Linuxed-based Web Application แบบ Multi-tiered ภายใน 30 นาที

aws-pci-dss-architecture

ใน Template จะประกอบไปด้วยตัวอย่างดังนี้

  • ตัวอย่างการปรับแต่ง IAM (Policies, Groups, Roles และ Instance profiles)
  • ตัวอย่างการใช้งาน S3 buckets (Encrypted web content, logging และ backup)
  • ตัวอย่างการใช้งาน Bastion host สำหรับไว้แก้ปัญหาและปรับแต่งระบบโดยเฉพาะ
  • ตัวอย่างการใช้งาน Encrypted RDS database
  • ตัวอย่างการทำ Logging, Monitoring และ Alert ผ่าน AWS CloudTrail, Amazon CloudWatch และ AWS Config Rules

โดยผู้ใช้งานสามารถนำ Template นี้ไปใช้ในการศึกษาเพื่อออกแบบระบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน PCI DSS ได้ทันที นอกจากนี้ AWS ยังปล่อยเอกสาร Security Controls Reference ซึ่งเป็นเอกสารอ้างอิงระหว่างมาตรฐาน PCI DSS แต่ละข้อกับฟีเจอร์ของ AWS มาไว้ใช้เป็นแนวทางอีกด้วย

aws-pci-dss-reference

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารตามลิ้งด้านล่าง

ที่มา : https://aws.amazon.com/blogs/aws/new-aws-quick-start-reference-deployment-standardized-architecture-for-pci-dss/

About เด็กฝึกงาน TechTalkThai หมายเลข 1

นักเขียนผู้มีความสนใจใน Enterprise IT ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีในไทย ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ที่ Cupertino, CA แต่ยังคงมุ่งมั่นในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีให้กับทุกคน

Check Also

Microsoft ออกแพตช์ประจำเดือนธันวาคม 2024 แก้ไขช่องโหว่ Zero-day และอีก 71 รายการ

Microsoft ปล่อยแพตช์ความปลอดภัยประจำเดือนธันวาคม 2024 แก้ไขช่องโหว่ทั้งหมด 71 รายการ รวมถึงช่องโหว่ Zero-day ที่กำลังถูกโจมตีอยู่ 1 รายการ

True IDC แนะนำ! เพิ่ม Productivity ให้สูงปรี๊ด ด้วย Gemini for Google Cloud

ทุกวันนี้ แทบทุกองค์กรต่างเร่งหา Generative AI หรือ AI มาเพิ่ม Productivity ให้ธุรกิจในหลากหลายรูปแบบ เช่น การให้บริการลูกค้า (Customer Service), การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software …