วันนี้ AWS ได้จัดแถลงข่าวแผนการขยาย Infrastructure ของตนเพิ่มขึ้นผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่เรียกว่า Local Zone จำนวน 32 แห่งตลอดปีนี้ ซึ่งใน APAC 10 แห่งมีรายชื่อของกรุงเทพมหานครด้วย

โครงการ Local Zone ก็คือ Cloud Service ที่ดูแลโดย AWS นั่นเอง คิดง่ายๆว่ามีบริการ AWS มาตั้งที่ไทยแล้ว แต่ความแตกต่างของ Local Zone กับ Regions คือบริการที่ให้ตามความเหมาะสมของประเทศนั้น ซึ่งจะไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับ Global Regions แต่แน่นอนว่า AWS ได้ทำตามข้อมูลอยู่แล้วว่าบริเวณไหนมีความต้องการอะไรที่คุ้มค่าก็การทำ Local Zone หรืออาจเพิ่มเข้ามาในอนาคต ด้วยเหตุนี้เององค์กรก็สามารถวางแผนเพื่อใช้งานให้เหมาะสมได้
ถือเป็นการตอบโจทย์ลูกค้าชาวไทยแล้วนะครับ ที่มีคำถามมาตลอดว่าการใช้งานทราฟฟิคต้องวิ่งไปนอกประเทศจะช้าไหม แรกเริ่มเดิมที่ AWS ก็แก้ปัญหาด้วย CloudFront (CDN) ต่อมาก็มีการนำเสนอ On-premise Hardware ที่ดูแลโดย AWS หรือ AWS Outposts ไปตั้งได้ที่องค์กร ซึ่งเพิ่งมีให้บริการในไทยเมื่อกลางปี 2020 เอง ทั้งนี้ Local Zone ก็คืออีกหนึ่งระดับที่สามารถใช้ผสมผสานเพื่อตอบโจทย์ทั้งเรื่อง Latency และ Data Localization ครับ (ภาพประกอบแสดงให้เห็นความพยายามของ AWS เพื่อรองรับการทำงานระดับ Edge) ส่วนบริการไหนที่พิเศษหรือผู้ใช้งานเป็นระดับ Global ก็ค่อยไปใช้บริการที่ Regions

ประโยชน์เรื่อง latency ต่ำ สามารถตอบโจทย์แอปพลิเคชันได้อีกมากมาย เช่น การทำไลฟ์สตรีมมิ่ง ทำงานผ่าน Virtual Workstation เกม AR/VR หรืองานใดๆที่ต้องการความหน่วงต่ำ นอกจากนี้เครื่องมือการทำงานก็เป็นแบบเดียวกับที่ท่านใช้งาน AWS อยู่แล้ว รวมถึงมี API เข้าใช้งานได้เช่นเคย กล่าวคือ AWS เตรียมพร้อมให้บริการท่านแล้วครับ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://aws.amazon.com/about-aws/global-infrastructure/localzones/