Black Hat Asia 2023

AWS เผยความคืบหน้าของ Local Zone กรุงเทพฯ ที่เปิดให้บริการแล้ว

อย่างที่เราได้ทราบไปเมื่อไม่นานมานี้ว่า Local Zone ณ ประเทศไทยหรือกรุงเทพฯ ได้ฤกษ์เปิดตัวให้ธุรกิจสามารถเข้าใช้งานได้แล้ว ก็เพื่อตอบโจทย์ด้าน Latency และ ข้อมูลนั่นเอง วานนี้ AWS ยังได้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่สื่อมวลชนในรายละเอียดต่างๆ ทางทีมงานจึงขอสรุปมาให้ผู้สนใจทุกท่านได้รับทราบอีกครั้งครับ

Paul Chen, Head of Solution Architecture, ASEAN, AWS

Local Zone ในกรุงเทพฯ ที่ได้ประกาศพร้อมใช้งานนี้ทำให้ Local Zone ทั่วโลกของ AWS ที่ใช้งานได้แล้วมีจำนวนเป็น 29 แห่งจากแผนทั้งหมด 52 แห่ง โดยภาพรวมคือการตอบโจทย์การใช้งาน 2 เรื่องหลักๆคือวัตถุประสงค์ด้าน Latency เช่น เกม โซเชียลมีเดีย โทรคมนาคม โดยเฉพาะพวกผู้ผลิตคอนเท้นต์ต่างๆ อีกเรื่องคือ Data Residency ที่หลายหน่วยงานสำคัญมีนโยบายการเก็บข้อมูลในประเทศ ด้วยเหตุนี้เอง AWS Local Zone จะเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้โจทย์เหล่านั้นแล้ว

แต่ละ Local Zone นั้นจะมี Parent Region ซึ่ง ณ ตอนนี้สำหรับ Local Zone Bangkok เองจะเชื่อมโยงกับ Region ใหญ่ที่สิงค์โปร์ และบริการของ Local Zone ที่จะเปิดให้บริการตอนนี้ก็คือ EC2, EBS, ECS, EKS, VPC และ AWS Shield ทั้งนี้จากภาพทั้งหมดสีขาวคือส่วนในบางประเทศเช่น ลอส แอนเจลิส มีความต้องการมากจึงมีบริการมากกว่าและยังมี Local Zone ถึง 2 แห่งด้วย

ติดตามรายละเอียดบริการและราคาได้ที่ https://aws.amazon.com/th/about-aws/global-infrastructure/localzones/pricing/

ในมุมของ Bangkok Region ที่เพิ่งประกาศออกมาเมื่อปีก่อนยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดมากนักโดย AWS ชี้แจงในคำตอบว่าจะเป็นเรื่องที่ให้บริการควบคู่กันไป หากเปิดใช้งานในอนาคต นอกจากนี้เอง AWS ยังเผยถึงแผนด้าน Sustainability ในเรื่องการใช้พลังงานหมุนเวียนที่น่าจะทำได้เร็วกว่าเป้าหมายแรกจาก 2030 เป็นการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในปี 2025 รวมถึงแผนการพัฒนาทักษะบุคคลากรที่เป็นไปได้อย่างดีผ่านโครงการ AWS Skill Builder (มีคอร์สภาษาไทยมากกว่า 60 คอร์สแล้ว), AWS Educate และการพัฒนาบุคคลากรในระดับอาจารย์ผ่าน AWS Academy เป็นต้น


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

MFEC เตรียมเดินหน้าสร้างศูนย์ CSOC ด้วยเครื่องมือที่พร้อมและครบครันจาก IBM

การป้องกันภัยคุกคามไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่ตัวโซลูชันเพียงอย่างเดียว แต่การป้องกันที่ดียังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กลายเป็น Rule หรือมาตรการบางอย่างเพื่อใช้ป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในองค์กรขนาดใหญ่มักจะมีห้องรวมตัวสำหรับเหล่าผู้เชี่ยวชาญที่คอยติดตามภาวะภัยคุกคามที่รู้จักกันในชื่อ Cybersecurity Operation Center (CSOC) โดยมีหน้าที่หลายด้านที่ช่วยบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยเช่น มอนิเตอร์และตรวจสอบเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย ตอบสนองเหตุภัยคุกคาม บริหารจัดการช่องโหว่และภัยคุกคาม แต่ทั้งหมดต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จากบุคลากร นอกจากประเด็นเรื่องของบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยแล้ว …

Intel เปิดตัว NUC 13 Pro ใหม่ ใช้หน่วยประมวลผล 13th Gen Intel Core

Intel ได้ประกาศเปิดตัว Intel NUC 13 Pro (code-named Arena Canyon) ใหม่ ใช้หน่วยประมวลผล 13th Gen Intel Core …