Amazon ขาดทุน 3,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลหุ้นร่วงกว่า 9% ผลจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

Amazon กำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นในการบริหารคลังสินค้า และการส่งมอบพัสดุ ส่งผลให้ตัวเลขผลประกอบการสำหรับไตรมาสล่าสุดดิ่งลง
Amazon รายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุด มีผลลัพธ์และแนวโน้มที่ค่อนข้างน่าผิดหวัง สาเหตุหลักมาจากปัญหาด้านตุ้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในด้านการบริหารคลังสินค้า และกระบวนการส่งมอบพัสดุ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากสงครามที่ยูเครน 
 
ปัญหาต้นทุนของ Amazon ที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากการจ่ายค่าจ้างที่สูงขึ้นเพื่อดึงดูดคนงาน ซึ่งเป็นนโยบาย “การลงทุนที่สำคัญ” ที่ทำให้ Amazon ติดอันดับ 1 สำหรับบริษัทที่น่าทำงานด้วยมากที่สุด ได้มีการปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงานและสนับสนุนการยกระดับทักษะให้ฟรี Amazon ได้อนุมัติเพิ่มฐานเงินเดือนระดับสูงสุดให้พนักงานมากกว่าสองเท่าตัว พร้อมกับเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการสนับสนุนค่าใช้จ่ายทางการศึกษา 100% เต็ม สำหรับพนักงานรายชั่วโมง เป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจที่ส่งผลดีต่อความรู้สึกในรูปแบบใหม่ของบริษัท นี่เพียงแค่หนึ่งในตัวอย่างของสวัสดิการดีๆ ที่เพิ่มเข้ามาเท่านั้น ซึ่งอยู่ในสามองค์ประกอบหลักของนโยบายที่ต้องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลแบบบูรณาการ และต้องเสริมเม็ดเงินในการขับเคลื่อน
 
 
ที่ผ่านมา แผนการปรับขึ้นราคาในส่วนของ Amazon Prime ที่จัดส่งแบบ fast-shipping ในไตรมาสก่อนหน้านี้ ไม่เพียงพอที่จะดันผลกำไรให้พุ่งสูงขึ้นได้ โดย Amazon คาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้จากการดำเนินงานมากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรืออาจจะทำรายรับได้มากที่สุด 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับผลกำไรที่เคยได้รับในปี 2564 ที่ 7,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงไตรมาสเดียวกัน ตัวเลขยังห่างกันมากกว่าครึ่ง 
 
รายงานยอดขายสุทธิ
Amazon มียอดขายสุทธิในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 อยู่ที่ 116,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
 
รายงานผลประกอบการ
Amazon รายงานผลประกอบการขาดทุนกว่า 3,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 7.56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหุ้น โดยปีที่ผ่านมามีผลกำไรอยู่ที่ 8,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 15.79 เหรียญสหรัฐฯ จากการขาดทุนในไตรมาสแรก ส่งผลให้หุ้นของ Amazon ร่วงลงกว่า 9%
 
ในด้านมืด ย่อมมีด้านสว่าง
Amazon Web Services เติบโตขึ้น 37% มีมูลค่ากว่า 18,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับตลาดใหญ่ที่สุดของ Amazon ในฝั่งอเมริกาเหนือ มียอดขายเพิ่มขึ้น 8% แต่ก็ทานต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหว โดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นมากถึง 16% คิดเป็น 71,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 
 
ปีนี้ Amazon มีตัวเลขของต้นทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังได้รับแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อมากถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมถึงภัยสงครามที่กระทบต่อต้นทุนด้านเชื้อเพลิงมากถึง 1.5 เท่า ภาพรวมแต่ละด้านของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหนักหนาเอาการ
 
แผนการลดต้นทุน เพื่อหวังเพิ่มระยะห่างจากผลกำไร เป็นเป้าหมายที่ Amazon ควรทำเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นความท้าทายที่ไม่ง่าย ที่ผ่านมาได้เห็นการปิดกิจการในบางกลุ่มผลิตภัณฑ์พร้อมๆ กัน 68 แห่ง เช่น ร้านหนังสือ ป๊อป-อัป และร้านขายของใช้สอยในบ้านเรือน เป็นต้น
 
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการก็เป็นอีกวิธีที่เห็นผลสำเร็จชัดเจน โดย Amazon ได้ลงทุนวางระบบอัตโนมัติเพื่อทดแทนการทำงานของแคชเชียร์ใน Whole Foods สองแห่ง ทำให้สามารถเพิ่มยอดขายได้ 17% หรือ 4,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าโมเดลนี้จะระบาดไปยังกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นของ Amazon อย่างแน่นอน
 
ที่มา :
 
 

About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

OpenAI เปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่สำหรับพัฒนา Voice Agent อัจฉริยะ

OpenAI ประกาศเปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้ง Speech-to-Text และ Text-to-Speech พร้อมให้นักพัฒนาทั่วโลกใช้งานผ่าน API เพื่อสร้าง Voice Agent ที่มีความสามารถในการโต้ตอบอย่างเป็นธรรมชาติ

สรุปข่าวเด่น Enterprise IT ประจำสัปดาห์ [17 – 21 มี.ค.2025]

สัปดาห์ที่มีงานใหญ่อย่าง NVIDIA GTC 2025 ที่ทำให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมไอทีที่ยังคงเดินหน้าไปในยุค Agentic AI อย่างต่อเนื่อง หากแต่มีสิ่งที่น่าจับตามองอย่างมาก คือ Humanoid Robot และ Quantum Computing …