เคมบริดจ์ – แมสซาชูเซตส์ – 22 กันยายน 2559 – อะคาไม เทคโนโลยีส์ ผู้ให้บริการเครือข่ายการส่งคอนเทนต์ ( CDN ) ชั้นนำของโลก เปิดเผยรายงานสถานการณ์อินเทอร์เน็ตและความมั่งคงทางไซเบอร์ ไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2559 ซึ่งเกิดจากการรวบรวมข้อมูลบนระบบ Akamai Intelligent Platform ( TM ) รายงานฉบับนี้สะท้อนภาพรวมด้านความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะแนวโน้มการโจมตีในรูปแบบ DDoS การโจมตีเว็บแอพพลิเคชั่น รวมทั้งทราฟฟิคประสงค์ร้ายที่มาจากโปรแกรมบอท

“แม้ว่าขนาดการโจมตีจะเล็กลง แต่เรายังคงเห็นจำนวนการโจมตีเพิ่มขึ้น เนื่องจากเครื่องมือโจมตีเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ทั้งยังใช้งานง่ายและทำเงินง่ายอีกด้วย” Martin McKeay บรรณาธิการบริหาร ผู้จัดทำรายงาน State of the Internet / Security Report กล่าว “เครื่องมือเหล่านี้มีหน้าตาคล้ายกันจนแยกไม่ออก ทำให้ภาคธุรกิจตกอยู่ในความเสี่ยงจากการโจมตีซึ่งเกิดขึ้นถี่จนภาคธุรกิจไม่สามารถรับมือเองได้ และเนื่องจากเรากำลังเข้าสู่เดือนแห่งการสร้างความตระหนักรู้ด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ( Cybersecurity Awareness Month ) ในเดือนตุลาคม องค์กรต่าง ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะการที่ผู้ประสงค์ร้ายขู่โจมตี DDoS เพื่อเรียกค่าไถ่ ซึ่งพบว่ากำลังเพิ่มขึ้นอยู่ในขณะนี้”
สาระสำคัญในรายงานสถานการณ์อินเทอร์เน็ตและความมั่งคงทางไซเบอร์ ไตรมาสที่ 2 ประจำปี2559 โดยอะคาไม ได้แก่
การโจมตีชนิด DDoS
- จำนวนการโจมตีชนิด DDoS ในไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2559 เพิ่มขึ้นร้อยละ 129 จากไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2558 โดยในไตรมาส 2 ที่ผ่านมานี้ อะคาไมป้องกัน DDoS ได้ทั้งสิ้น 4, 919 ครั้ง
- อะคาไมพบการโจมตีชนิด DDoS ขนาดใหญ่ที่สุดที่ระดับ 363 Gbps เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน โดยเป็นการโจมตีสื่อยุโรปรายหนึ่ง ส่วนขนาดเฉลี่ยของการโจมตีลดลงร้อยละ 36 มาอยู่ที่ 3.85 Gbps
- การโจมตี 12 ครั้งในช่วงไตรมาส 2 มีขนาดเกิน 100 Gbps และการโจมตี 2 ครั้งซึ่งมีขนาด 300 Gbps นั้นพุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิง
การโจมตีเว็บแอพพลิเคชั่น
- การโจมตีเว็บแอพพลิเคชั่นในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 เพิ่มขึ้นร้อยละ14 จากไตรมาสที่ 1/2559
- พบการโจมตีจากแหล่งที่มาในประเทศบราซิล เพิ่มขึ้นร้อยละ197 ทำให้บราซิลกลายเป็นประเทศต้นกำเนิดการโจมตีเว็บแอพพลิเคชั่นแห่งใหญ่ที่สุด
- สหรัฐ ซึ่งรั้งอันดับ 2 ประเทศที่พบการโจมตีเว็บแอพพลิเคชั่นมากที่สุด มีการโจมตีประเภทดังกล่าวลดลงร้อยละ13 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2559
- SQL Injection ( 44% ) และ Local File Inclusion ( 45% ) เป็น 2 รูปแบบการโจมตีที่พบมากที่สุดในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา
วิเคราะห์ทราฟฟิคที่มาจากโปรแกรมบอท
- ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โปรแกรมบอทคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ43 ของทราฟฟิคเว็บทั้งหมดที่พบใน Akamai Intelligent Platform ในรอบ 24 ชั่วโมง
- เครื่องมืออัตโนมัติและการดึงข้อมูลคิดเป็นร้อยละ63 ของทราฟฟิคจากโปรแกรมบอททั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ10 จาก ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 โดยโปรแกรมบอทเหล่านี้จะดึงข้อมูลจากเว็บไซต์หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่เฉพาะเจาะจง โดยไม่ระบุจุดประสงค์และจุดกำเนิด
ดาวน์โหลดรายงานสถานการณ์อินเทอร์เน็ตและความมั่งคงทางไซเบอร์ ไตรมาสที่2 ประจำปี 2559 ได้ที่ akamai.com/stateoftheinternet-security ดาวน์โหลดข้อมูลตัวเลขประกอบคำบรรยายได้ที่ http://akamai.me/2cxMcJb
เกี่ยวกับอะคาไม
ในฐานะผู้ให้บริการ Content Delivery Network ( CDN ) ชั้นนำของโลก อะคาไมช่วยให้อินเทอร์เน็ตของลูกค้าทำงานเร็ว เชื่อถือได้ และมีความปลอดภัย โซลูชั่นเพิ่มประสิทธิภาพเว็บ ประสิทธิภาพบนมือถือ ความปลอดภัยบนคลาวด์ และการส่งคอนเทนต์ที่ล้ำหน้าของบริษัทนั้นกำลังปฏิวัติแนวทางที่ภาคธุรกิจใช้ในการยกระดับประสบการณ์ผู้บริโภค องค์กร และความบันเทิงให้สามารถเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์ และจากทุกที่ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมว่าโซลูชั่นของ อะคาไม และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตของเราช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้อย่างไร โดยเข้าไปที่ www.akamai.com หรือ blogs.akamai.com และติดตาม @Akamai ได้ทางทวิตเตอร์