AIS พร้อมช่วยธุรกิจประกันทั่วไทยปรับตัวสู่ดิจิทัลพร้อมรองรับการทำงานแบบ Hybrid Work ได้อย่างมั่นใจและมั่นคงปลอดภัย ด้วยโซลูชัน Cloud ที่หลากหลายจาก Microsoft

ในงานสัมมนา AIS Secured Insurance Business ที่เพิ่งจัดไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมานี้ ทาง Microsoft ได้ร่วมกับ AIS นำเสนอในประเด็นถึงแนวทางการปรับตัวของธุรกิจประกันทั่วไทยให้ก้าวสู่การเป็น Digital Business อย่างเต็มตัวและมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันนี้ ซึ่งทีมงาน TechTalkThai ก็ขอนำสรุปในประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

 

The Beyond Platform for Insurance Business แพลตฟอร์มการทำงานแห่งอนาคตสำหรับธุรกิจประกัน โดย Microsoft

คุณ Wanthipa Wongsamut, Modern Work Business Group Lead, Microsoft Thailand ได้เริ่มต้นการนำเสนอด้วยการเล่าถึงแนวโน้มตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 เป็นต้นมา ว่า Microsoft พบกับโจทย์ใหม่จากธุรกิจองค์กรมากมาย ทั้งการปรับเปลี่ยนการทำงานให้เป็นแบบ Work from Home ไปจนถึงการย้าย Data Center ขึ้นสู่ Cloud ในชั่วข้ามคืน โดยสำหรับธุรกิจประกันนั้นจะมีแนวโน้มหลักๆ ด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่

 

  • ระบบสื่อสารออนไลน์สำหรับใช้ทำงานร่วมกันทั้งองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย โดยไม่ให้พนักงานนำระบบอื่นๆ หรือ Shadow IT มาใช้งานเอง
  • ปริมาณของภัยคุกคามและ Ransomware ที่มีมากขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งทุกธุรกิจต้องปรับตัวรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ให้ดี
  • การตอบรับต่อพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเลื่อนออกไปและจะบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2021 ซึ่งแต่ละองค์กรก็มีระดับความพร้อมที่แตกต่างกัน และโจทย์ที่ต่างกันไป โดยสำหรับธุรกิจประกันถือว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลปริมาณมาก และถือเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องจัดการ
  • การทำ Business Process Transformation ทั่วทั้งองค์กร เพราะไม่มีใครทราบว่าสถานการณ์ COVID-19 นี้จะจบลงเมื่อไหร่ และเมื่อจบลงแล้วทุกคนจะเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานไปโดยถาวรหรือไม่ ดังนั้นการปรับกระบวนการทำงานรอไว้ตั้งแต่ตอนนี้จึงเป็นทั้งการตอบโจทย์ระยะสั้นและระยะยาวไปพร้อมกัน

ซึ่งจากประสบการณ์ของทีมงาน 4 สิ่งที่ Microsoft แนะนำให้ธุรกิจประกันทั่วไทยเร่งทำเพื่อสร้างประสบการณ์แบบ Connected Insurance Experience ที่ใช้ข้อมูลเป็นหัวใจและมีพนักงานเป็นคนขับเคลื่อนท่ามกลางวิกฤตนี้ ให้ธุรกิจยังคงขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างมั่นคง มีดังนี้

  1. Employee Experience ทำให้พนักงานซึ่งทำงานแบบ Hybrid นี้ยังคงทำงานร่วมกันและมี Engagement ระหว่างกันได้ ทำให้ยังคงทำงานและสื่อสารร่วมกันได้ดี
  2. Operational Experience จะนำเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลาได้อย่างไร
  3. Cyber Security Protection ภัยคุกคามมีมากขึ้นและซับซ้อนยิ่งขึ้น การปกป้องพนักงานที่ทำงานจากทุกที่ทุกเวลาจึงเป็นโจทย์ที่สำคัญ
  4. Stay Compliant/PDPA การปรับการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปกับการปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงจากวิกฤตครั้งนี้

 

การปรับเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานของพนักงานสู่ยุคการทำงานแบบ Hybrid ด้วย Microsoft Teams

Microsoft Teams นั้นสามารถถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและการสื่อสารได้หลากหลายรูปแบบ เช่น

  • Microsoft Teams สามารถใช้ผูกกับเบอร์โทรศัพท์ของพนักงานได้ ทำให้สามารถทำงานจากที่บ้านได้ด้วยการรับสายจากเบอร์เดิม และยังคงให้บริการ Call Center ได้โดยพนักงานแต่ละคนอาจจะทำงานจากที่บ้าน
  • ส่วนในเชิงของการทำงานร่วมกัน ก็สามารถผูก Microsoft Teams เข้ากับ SharePoint เพื่อแบ่งปันไฟล์งานต่างๆ ระหว่างกันได้ และยังคงควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ ลดปริมาณการรับส่งอีเมล์ลง ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ในเชิงการทำงาน Microsoft Teams ก็สามารถผูกระบบเข้ากับ Workflow ของธุรกิจให้พนักงานเข้าถึงแบบฟอร์มและผู้บริหารทำการ Approve เอกสารได้เลย อีกทั้งยังสามารถทำงานร่วมกับ Chatbot เพื่อให้เกิดการโต้ตอบแบบอัตโนมัติอย่างรวดเร็วได้อีกด้วย
  • การใช้ Microsoft Teams นี้จะช่วยลดโอกาสที่ข้อมูลสำคัญของธุรกิจจะรั่วไหลออกไปภายนอกได้ ดีกว่าการใช้งาน Chat ภายนอกอื่นๆ ที่ธุรกิจองค์กรไม่สามารถตรวจสอบ ติดตาม หรือควบคุมอะไรได้เลย

ที่ผ่านมานี้ก็มีธุรกิจประกันในไทยที่นำ Microsoft Teams ไปใช้งานเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักทั้งในแง่ของการพูดคุย และการดำเนินกระบวนการทางธุรกิจหรือการจัดการเอกสารแบบฟอร์มต่างๆ มากมาย ซึ่งก็ได้รับประโยชน์ในแง่ที่พนักงานทุกคนนั้นสามารถทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา และมั่นใจได้ในความมั่นคงปลอดภัย

 

การปรับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากการสื่อสารทั่วๆ ไปแล้ว การปรับกระบวนการทำงานทุกส่วนให้เป็นแบบดิจิทัลเองก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่ง Microsoft ก็มีเครื่องมือและแนวทางหลากหลายที่ช่วยให้ธุรกิจประกันสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาเสริมต่อการทำงานได้

  • การสร้าง eBrochure ด้วย Microsoft Sway สามารถนำข้อมูลจาก Office 365 มาจัดหน้าเป็นรูปแบบเว็บให้สวยงามได้
  • Microsoft Bookings สามารถทำการจัดตารางนัดหมายลูกค้าได้ ช่วยให้ธุรกิจประกันสามารถจัดตารางนัดให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำระบบนัดออนไลน์ได้
  • Microsoft Forms สามารถสร้างแบบฟอร์มต่างๆ เพื่อใช้งานและนำข้อมูลเหล่านี้ไปเชื่อมต่อกับกระบวนการอื่นๆ หรือนำไปวิเคราะห์ได้มากมายด้วยโซลูชันของ Microsoft
  • Microsoft Power Platform ทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถพัฒนา App ได้เองแบบ Low-Code สร้างระบบมารองรับ Process ใหม่ๆ ได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง และไม่ต้องมี Software Developer มาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการทำ Digitization หรือก้าวสู่ Paperless ได้เร็วยิ่งขึ้น และทำ Automation เช่นการส่งเมล์หรือจัดการข้อมูลส่งต่อไปยังระบบอื่นๆ ต่อได้

 

การปรับการทำงานของพนักงาน Firstline ที่ต้องให้บริการลูกค้าโดยตรง

การช่วยให้พนักงานในธุรกิจประกันภัยสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างประทับใจภายใต้ภาวะการแพร่ระบาดของ COVID-19 นี้ก็ถือเป็นความท้าทาย เพราะธุรกิจองค์กรนั้นต้องมีการปรับปรุงประสบการณ์ทั้งในส่วนของการทำงานของพนักงานและการรับบริการของลูกค้าให้สอดคล้องกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกธุรกิจนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการปรับการทำงานทั้งหมดให้เป็นแบบดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องกับการทำ Social Distancing เช่น

  • การปรับกระบวนการ Onboard พนักงานใหม่ให้อยู่บนโลกออนไลน์ และใช้แนวทาง Self-Service เป็นหลักเพื่อให้พนักงานใหม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากที่บ้าน และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นได้ด้วยตนเอง
  • การปรับ Workflow ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำงาน ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้อย่างเป็นระบบ และทำงานแบบอัตโนมัติได้มากขึ้นเรื่อยๆ
  • การปรับให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและทำการวิเคราะห์ได้ด้วยตนเองแบบ Data-Driven ก็จะช่วยให้การทำงานและการตัดสินใจของพนักงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และใช้ข้อมูลในการทำงานทุกวันได้ด้วย Microsoft Power BI

 

Cyber Security ประเด็นสำคัญที่ธุรกิจประกันภัยจะละเลยไม่ได้

ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา Microsoft เห็นว่าพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนไปในการทำงาน และค้นหาแนวทางใหม่ ในการหลอกล่อให้คนคลิกหรือให้ข้อมูลจากความสนใจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ โดย Microsoft พบว่ามีอุปกรณ์ที่ติด Malware ทั่วโลกมากถึง 95 ล้านอุปกรณ์ โดยประเทศไทยมีด้วยกัน 1.5 ล้านอุปกรณ์เลยทีเดียว ซึ่งประกันก็เป็นอุตสาหกรรมที่ติด 5 อันดับแรกที่ตกเป็นเป้าหมายของผู้โจมตี

สาเหตุที่ธุรกิจประกันตกเป็นเป้านั้น ก็เนื่องจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากกรณีข้อมูลรั่วไหลนั้นสูงมากสำหรับธุรกิจกลุ่มนี้ และมีการโจมตีให้ประสบความสำเร็จได้หลากหลายแนวทาง นอกจากการทำ Phishing แล้ว ก็ยังมีการโจมตีผ่านช่องโหว่ของระบบ, การโจมตีระบบที่เปิด RDP, การขโมย Username/Password และทำการโจมตีต่อเนื่อง ไปจนถึง Ransomware ที่มีด้วยกันหลากหลายตระกูล

จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นตกเป็นเป้าของการโจมตีที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 2 เท่า ด้วยปัจจัยจากการที่ผู้คนมี Cyber Awareness ที่ต่ำ และมีการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนจำนวนมาก ทำให้ตกเป็นเป้าได้ง่าย

สิ่งที่ Microsoft ช่วยได้นั้นก็คือการที่ Microsoft มีการรวบรวมข้อมูลของภัยคุกคามจาก Data Center ทั่วโลก และนำข้อมูลเหล่านี้มาเสริมความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบทั้งหมดของ Microsoft เองและยังมีบริการคอยช่วยดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยให้กับลูกค้าได้

ทั้งนี้ทาง Microsoft ก็มีคำแนะนำให้ธุรกิจปรับนำแนวทาง Zero Trust มาใช้ในธุรกิจองค์กร เพื่อลดความเสี่ยงที่ผู้ใช้งานจะถูกโจมตี หรือเมื่อถูกโจมตีแล้วก็สามารถจำกัดวงความเสียหายได้ดี และ Microsoft ก็นำเสนอการทำ Conditional Access Control จำกัดการเข้าถึงระบบและข้อมูลได้ตามเงื่อนไขต่างๆ โดยอาศัยแนวทางที่หลากหลายนอกเหนือไปจาก Password เท่านั้น เช่น อุปกรณ์ปลอดภัยหรือไม่ เข้าถึงระบบจากประเทศอะไร ใช้แอปอะไรในการทำงาน เป็นต้น

 

การทำ Compliant/PDPA ที่ต้องทำควบคู่ไปกับทุกกิจกรรม และต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

ธุรกิจประกันนั้นมักเป็นธุรกิจอันดับต้นๆ ที่ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลความลับและข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ามากมาย ดังนั้นพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจประกัน และการรั่วไหลของข้อมูลเหล่านี้ก็ถือเป็นความเสี่ยงที่หากเกิดเหตุขึ้นแล้ว ก็อาจส่งผลร้ายต่อธุรกิจทั้งในแง่ของการเงิน ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ ไปจนถึงอาจต้องรับบทลงโทษตามกฎหมายด้วย

Microsoft แนะนำถึงก้าวแรกในการตอบรับต่อพรบ.ดังกล่าวนี้ ก็คือธุรกิจประกันนั้นต้องเริ่มค้นหาก่อนว่ามีข้อมูลสำคัญหรือข้อมูลส่วนตัวถูกจัดเก็บอยู่บนระบบใดบ้าง ซึ่ง Microsoft ก็มีเครื่องมือสำหรับใช้ตรวจสอบและวิเคราะห์ไฟล์ทั้งบน Office 365, File Server และระบบอื่นๆ ที่มีอยู่

เมื่อพบไฟล์เหล่านั้นแล้ว อันดับถัดมาก็ต้องทำการระบุให้ชัดว่าไฟล์ใดมีการเก็บข้อมูลความลับประเภทใดไว้ และมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน และถูกจัดเก็บอยู่ที่ใดบ้าง

เมื่อทราบแล้วว่าธุรกิจมีข้อมูลความลับที่สำคัญมากน้อยเพียงใดอยู่ที่ใดบ้าง ธุรกิจก็จะเริ่มเห็นภาพความเป็นจริงในการทำงานมากขึ้น และสามารถกำหนด Policy และควบคุมการเข้าถึง ใช้งาน แบ่งปันไฟล์และข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถจัดการกับประเด็นด้านข้อมูลความลับและข้อมูลส่วนบุคคลในระยะยาวได้ดีขึ้น สอดคล้องไปกับการปรับกระบวนการทำงานให้มีการเสริมขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อตอบรับต่อข้อกฎหมายไปด้วย

ทั้งนี้ทาง Microsoft ก็ได้จัดทำ Template สำหรับการทำ Compliance ตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA  เอาไว้ในระบบด้วย ดังนั้นธุรกิจจึงสามารถนำไปประยุกต์ปรับใช้ได้ทันทีตามต้องการ และยังช่วยให้ธุรกิจประเมินตนเองได้อย่างชัดเจนว่ายังขาดประเด็นใดไปบ้างในการปรับตัวให้สอดคล้องกับข้อกฎหมาย

เทคโนโลยีจาก Microsoft นั้นถือว่ามีความมั่นคงปลอดภัยที่สูง โดยในปี 2019 – 2020 ที่ผ่านมา Microsoft ได้ถูกรับเลือกให้เป็น Leader ใน Gartner’s Magic Quadrant ทางด้าน Security ด้วยกันมากถึง 5 รายการ ได้แก่ Access Management, Cloud Access Security Broker, Enterprise Information Archiving, Endpoint Protection Platforms และ Unified Endpoint Management Tools

 

AIS Business พร้อมให้บริการและให้คำปรึกษา และเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย 5G

AIS ในฐานะ Gold Partner ของ Microsoft นั้นพร้อมที่จะนำโซลูชันเพื่อองค์กร เช่น Modern workplace, Azure และ solutions สำหรับ IT Infrastructure อื่นๆ มาให้ธุรกิจประกันทั่วไทยสามารถเลือกใช้ เพื่อช่วยให้การบริหารจัดการองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมให้คำปรึกษาถึงการทำ Digital Transformation ในแต่ละส่วนด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมในงบประมาณที่คุ้มค่า เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจประกันนั้นจะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างเข้มแข็ง และปรับตัวได้อย่างยืดหยุ่นท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่บังคับให้ทุกธุรกิจต้องก้าวไปสู่การทำงานแบบ Hybrid Work อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในขณะเดียวกัน สำหรับธุรกิจประกันที่ต้องการการเชื่อมต่อเครือข่ายทุกที่ทุกเวลาด้วยคุณภาพที่ดี AIS Business ก็พร้อมให้บริการด้วยสัญญาณเครือข่าย 5G ที่ครอบคลุมทุก 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย และยังมีทีมเทคโนโลยีทางด้าน IoT และ Edge Computing ที่พร้อมเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจประกันภัยด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ทำงานร่วมกับ 5G ได้อย่างลงตัว

 

สนใจโซลูชันของ Microsoft ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

สำหรับธุรกิจองค์กรที่สนใจโซลูชันใดๆ ของ Microsoft ไม่ว่าจะเป็น License สำหรับการใช้งานแบบ On-Premises หรือบริการ Cloud สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของท่าน หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ https://business.ais.co.th/ หรือติดต่อทางอีเมล์ businesscloud@ais.co.th

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Linux Foundation ประกาศจับมือ Google, Microsoft, Opera หนุนทำเบราว์เซอร์อิง Chromium ให้ดีขึ้น

เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) คือช่องทางสำคัญในการเข้าถึงเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ซึ่ง Chromium เป็น Open Source ที่มีเบราว์เซอร์หลายเจ้านำไปต่อยอด ซึ่งล่าสุด Linux Foundation ได้ประกาศจับมือ Google, …

SoftBank และ Arm อาจเข้าซื้อกิจการ Ampere ผู้ผลิตชิปเซิร์ฟเวอร์

Reuters รายงานว่า SoftBank Group และ Arm Holdings กำลังอยู่ในช่วงเจรจาเพื่อเข้าซื้อกิจการ Ampere Computing ผู้ผลิตชิปหน่วยประมวลผลสำหรับเซิร์ฟเวอร์ หลังจากที่เคยแสดงความสนใจมาก่อนหน้านี้เมื่อ 2 ปีที่แล้วด้วยมูลค่า 8 …