ปี 2565 เครือข่าย 5G กำลังจะแตะ 1 พันล้านการเชื่อมต่อ และน่าจะเพิ่มเป็นสองเท่าภายในปี 2568

จากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจด้านโทรศัพท์มือถือของ GSMA ได้มีการเปิดเผยข้อมูลสถิติเปรียบเทียบระหว่างระบบ 5G, 4G และ 3G ในช่วงระยะเวลาเดียวกันหลังจากเริ่มเปิดให้ใช้งานจริง ทำให้ตัวเลขสถิติที่ชัดเจนว่า 5G มีจำนวนการเข้าถึงมากกว่าถึง 1 พันล้านการเชื่อมต่อ และนับว่าเป็นครั้งแรกของสถิตินี้ และคาดการณ์ว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวภายในปี 2568

อัตราส่วนของสถานะการเชื่อมต่อ 5G มีจำนวน 1 ใน 5 ของการเชื่อมต่อมือถือทั่วโลก ปัจจุบันมีให้บริการเกือบ 200 เครือข่ายจาก 70 ประเทศ ปัจจัยที่ส่งผลให้ตัวเลขการเชื่อมต่อใช้งาน 5G เพิ่มขึ้นมากกว่า 3G และ 4G เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนวัตกรรม และความหลากหลายในการบริการวีดีโอสตรีมมิ่งแล้ว จำนวนยอดขายโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 5G ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

  • 5G มีอัตราการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นถึง 5.5%
  • 3G และ 4G มีอัตราการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นไม่ถึง 2.2% เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันกับ 5G หลังเปิดให้บริการ

ภายในปี 2568 GSMA ได้คาดการณ์ว่า จำนวนเกือบ 2 ใน 3 ของการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือเฉพาะในอเมริกาเหนือจะมีการใช้งาน 5G เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อหลัก นั่นหมายถึงการลงทุนที่สูงขึ้นอย่างแน่นอน สำหรับแผนการขยายการให้บริการสัญญาณ 5G ให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ คาดว่าน่าจะสูงถึง 98% ของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในช่วง 5 ปีต่อไปจากนี้


อุปสงค์และอุปทาน ที่มีความสมดุลกัน จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ซื้อและยอดขายโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 5G ได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ระยะเวลา ROI ของผู้ให้บริการกระชับให้เร็วขึ้นได้ ลงทุนแล้วก็ต้องมีผู้ใช้งาน


ที่ผ่านมา รูปแบบการปรับใช้งาน 5G ยังมีความคลุมเครือในการให้บริการคลื่นความถี่ของ 5G ระดับ Millimeter-Wave ที่สามารถรองรับปริมาณงานระดับ Gigabit throughput และ MIMO ขนาดใหญ่ได้ ด้วยการบูรณาการปรับใช้งาน Millimeter-wave ยังคงมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ


ย่านความถี่ของเครือข่าย 5G ทั้ง 3 ประเภท

1.ย่านความถี่ต่ำกว่า 1 GHz (Low Band) ได้แก่ คลื่นความถี่ 600-900 MHz, ระยะสัญญาณ ~3x, ปริมาณคลื่น 10 – 100 MHz, ความเร็ว 0.1x – 1x คุณสมบัติของย่านความถี่นี้สัญญาณครอบคลุม กระจายได้ในบริเวณกว้าง แต่มีราคาแพง

2.ย่านความถี่กลางระหว่าง 1 GHz – 6 GHz (Mid Band) ได้แก่ คลื่นความถี่ 1700-6000 MHz, ระยะสัญญาณ 1x, ปริมาณคลื่น 100 – 600 MHz, ความเร็ว 1x – 6x คุณสมบัติสัญญาณครอบคลุมและรองรับความจุ อยู่ในระดับกลางตามชื่อ ระยะครอบคลุมสัญญาณไม่ไกลเท่า Low Band มีปริมาณคลื่นและความเร็วเยอะกว่าระดับนึง

3.ย่านความถี่สูงกว่า 6 GHz (High Band) ได้แก่ mmWave (24.3 – 27 GHz) คุณสมบัติ ด้วยขนาดความถี่ (Bandwidth) กว้างมาก สามารถรองรับความจุในระดับสูงมาก (High capacity) แต่ความครอบคลุมไม่ไกล เหมาะจะติดตั้งเป็นจุดการใช้งานในพื้นที่มีปริมาณการใช้งานมาก มีความต้องการอัตราการรับส่งข้อมูลในระดับสูง ทุกคุณสมบัติจะตรงข้ามกับ Low Band

การประมูลคลื่นความถี่ 5G ของ FCC เพียงแค่ครั้งเดียว สามารถสร้างสถิติในสหรัฐอเมริกาสูงถึงกว่า 81,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสำหรับการประมูลในครั้งต่อๆ มานั้น มีการทำลายสถิติเพิ่มขึ้นมากกว่า 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ


ที่มา : 5G connections to hit 1 billion this year, and will double by 2025 | Network World


About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ฟอร์ติเน็ต จับมือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เซ็น MoU ร่วมมือเร่งปั้นบุคลากรรุ่นใหม่ แก้ไขปัญหาผู้เชี่ยวชาญพร้อมทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ขาดแคลน [Guest Post]

“รายงานฉบับใหม่ของฟอร์ติเน็ต ชี้ความเสี่ยงทางไซเบอร์ไต่ระดับสูงจากการขาดแคลนผู้มีความสามารถอย่างต่อเนื่อง หลายองค์กรยังโดนละเมิดช่องโหว่เพิ่มขึ้น คิดเป็นอัตราสูงถึง 53%” ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจร ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการแต่งตั้งให้มหาวิทยาลัยเป็นพันธมิตรทางวิชาการในโครงการ Academic Partner Program ของสถาบัน …