Black Hat Asia 2023

ผลจัดอันดับ Top 500 Supercomputers ครั้งที่ 54 ออกแล้ว IBM ยังคงครอง 2 ตำแหน่งแรก

เว็บไซต์ TOP500 ได้ประกาศผลการจัดอันดับ Superconputers ที่แรงที่สุดในโลกครั้งที่ 54 ผลปรากฎว่าทั้งสหรัฐฯ และจีนยังคงครองตำแหน่งผู้นำเป็นส่วนใหญ่ โดยอันดับ 1 และ 2 ตกเป็นของ IBM (สหรัฐฯ) ด้วยความเร็วสูงถึง 148.6 Petaflops ในขณะที่อันดับที่ 500 มีความเร็ว 1.14 Petaflops เพิ่มจากการจัดอันดับครั้งก่อนมา 0.12 Petaflops

Credit: Oak Ridge National Lab

1. Summit (IBM/สหรัฐฯ)

ใช้งานที่ Oak Ridge National Laboratory มีความเร็ว 148.6 Petaflops ใช้ IBM Power9 CPU และ NVIDIA Tesla V100 GPU ทำงานร่วมกัน

2. Sierra (IBM/สหรัฐฯ)

ใช้งานที่ Lawrence Livermore National Laboratory มีความเร็ว 94.6 Petaflops ช้ IBM Power9 CPU และ NVIDIA Tesla V100 GPU เช่นเดียวกับ Summit

3. Sunway TaihuLight (China’s National Research Center of Parallel Computer Engineering & Technology/จีน)

ใช้งานที่ National Supercomputing Center เมือง Wuxi มีความเร็ว 93.0 Petaflops ใช้ Sunway’s SW26010 Processors จำนวนมากกว่า 10 ล้าน Cores

4. Tianhe-2A (Milky Way-2A) (China’s National University of Defense Technology/จีน)

ใช้งานที่ National Supercomputer Center เมือง Guangzhou มีความเร็ว 61.4 Petaflops ใช้ Intel Xeon CPU และ Matrix-2000 ร่วมกัน

5. Frontera (Dell/สหรัฐฯ)

ใช้งานที่ Texas Advanced Computing Center ณ University of Texas ตั้งแต่ปี 2018 มีความเร็ว 23.5 Petaflops ใช้ Intel Xeon Platinum 8280 บน Dell C6420

6. Piz Daint (Cray/สหรัฐฯ)

ใช้งานที่ Swiss National Supercomputing Centre (CSCS) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีความเร็ว 21.2 Petaflops ใช้ Intel Xeon และ NVIDIA P100 ร่วมกันบน Cray XC50 ถือเป็นระบบที่เร็วที่สุดในยุโรปเวลานี้

7. Trinity (Cray/สหรัฐฯ)

ใช้งานที่ Los Alamos National Laboratory and Sandia National Laboratories มีความเร็ว 20.2 Petaflops ใช้ Intel Xeon และ Xeon Phi ร่วมกันบน Cray XC40

8. AI Bridging Cloud Infrastructure (ABCI) (Fujitsu/ญี่ปุ่น)

ใช้งานที่ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น มีความเร็ว 19.9 Petaflops ใช้ Intel Xeon Gold และ NVIDIA Tesla V100 GPU

9. SuperMUC-NG (Lenovo/จีน)

ใช้งานที่ Leibniz-Rechenzentrum (Leibniz Supercomputing Centre) ประเทศเยอรมนี มีความเร็ว 19.5 Petaflops ใช้ Intel Xeon Platinum เชื่อมต่อด้วย Intel Omni-Path

10. Lassen (IBM/สหรัฐฯ)

ใช้งานที่ Lawrence Livermore National Laboratory มีความเร็ว 18.2 Petaflops ใช้ IBM Power9 และ NVIDIA V100 GPU

สำหรับ Supercomputer ใหม่ที่ทรงพลังที่สุดที่เข้ามาใน Top 500 Supercomputers นี้คือ AiMOS (IBM/สหรัฐฯ) อันดับที่ 24 มีความเร็ว 8.0 Petaflops ถูกใช้งานที่ Rensselaer Polytechnic Institute Center for Computational Innovations (CCI) โดยใช้ IBM Power9 CPU และ NVIDIA V100 GPU

สถิติ Top 500 Supercomputers อื่นๆ ที่น่าสนใจ

  • Supercomputers จากจีนเข้ามาติดอันดับมากถึง 227 ระบบ เพิ่มขึ้นจากการจัดอันดับครั้งก่อนเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว 8 ระบบ
  • Supercomputers จากสหรัฐฯ ติดอันดับรวม 118 ระบบ แต่โดยรวมมีประสิทธิภาพสูงกว่า Supercomputers จากประเทศจีน
  • ประเทศญี่ปุ่นติดอันดับเป็นที่ 3 โดยมีจำนวน 29 ระบบ ตามมาด้วยฝรั่งเศส 18 ระบบและเยอรมนี 16 ระบบ
  • Vendor จากประเทศจีนครองแชมป์ Supercomputer ที่ติดอันดับมาที่สุด ได้แก่ Lenovo (174), Sugon (71) และ Inspur (65) ตามมาด้วย Cray และ HPE จากสหรัฐฯ (65 และ 36 ตามลำดับ ตอนนี้ Cray เป็นส่วนหนึ่งของ HPE แล้ว)
  • Intel เป็นหน่วยประมวลผลที่ถูกใช้งานใน Top 500 Supercomputers มากที่สุด คิดเป็น 470 จาก 500 ระบบ ส่วนใหญ่เป็น Xeon และ Xeon Phi
  • การเชื่อมต่อแบบ Ethernet ยังคงได้รับความนิยมสูงสุด คิดเป็น 52% ตามมาด้วย InfiniBand 28% อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากประสิทธิภาพแล้ว ระบบที่ใช้ InfiniBand จะมีอันดับสูงกว่า Ethernet มาก

ที่มา: https://www.top500.org/news/china-extends-lead-in-number-of-top500-supercomputers-us-holds-on-to-performance-advantage/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

พลิกมุมคิดการจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ตฉบับวีเอ็มแวร์ [Guest Post]

แม้คลาวด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตไปสู่การสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจหรือกลยุทธ์การแข่งขันใหม่ ด้วยคุณลักษณะที่คล่องตัว (Agility) ในการปรับความต้องการใช้งานโดยอัตโนมัติ (Auto-Scaling) ได้ด้วยตัวเอง (Self-Services) ทว่าหลายองค์กรซึ่งเลือกปฏิวัติระบบธุรกิจขึ้นสู่คลาวด์กลับประสบปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ยิบย่อยบนคลาวด์ไม่ไหว แถมหัวจะปวดกับภัยคุกคามที่ยุ่งยากในการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

เสริมแกร่งความมั่นคงปลอดภัยในที่ทำงานด้วยบริการไอทีฉลาดล้ำกว่าเคย

บทความโดย คุณธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอินโดจีน เลอโนโว ด้วยรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดและยืดหยุ่นในองค์กรหลายแห่ง บริษัทหลายแห่งต่างกำลังพยายามตอบสนองต่อความคาดหวังและลำดับความสำคัญของพนักงาน ฝั่งทีมไอทีเองก็ต้องรักษามาตรฐานการให้บริการจากทางไกลในระดับสูงเพื่อสนับสนุนให้พนักงานยังคงสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง การทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น บริษัทจะต้องสร้างระบบไอทีที่แข็งแกร่งทนทานยิ่งขึ้นพร้อมกับคงไว้ซึ่งแนวทางใหม่ในการทำงาน  อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือ สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดในทุกวันนี้ทำให้การจัดการจากระยะไกลนั้นซับซ้อนยุ่งยาก ระบบการจัดการทรัพยากรรุ่นเก่ายิ่งทำให้ผู้ดูแลระบบไอทีจัดการงานและภัยคุกคามเชิงรุกได้ยากกว่าเดิม …