Black Hat Asia 2023

ผลการจัดอันดับ Supercomputer ล่าสุดออกแล้ว! IBM รั้ง 2 อันดับเร็วสุดในโลก ตามด้วยจีน

ผลการจัดอันดับ Supercomputer ของ TOP500 ครั้งที่ 53 ออกมาแล้วอย่างเป็นทางการ และถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ทุกระบบในการจัดอันดับนี้มีความเร็วเกินกว่า 1 Petaflops ทั้งหมด เข้าสู่ยุคของ Supercomputer ความเร็วระดับ Peteflops แล้ว โดยใน 10 อันดับแรกมีดังนี้

Credit: Oak Ridge National Laboratory
  1. Summit โดย IBM และ Department of Energy’s Oak Ridge National Laboratory (ORNL) มีความเร็ว 148.6 Petaflops ใช้ IBM Power9 และ NVIDIA V100 ร่วมกัน
  2. Sierra โดย IBM และ Department of Energy’s Lawrence Livermore National Laboratory มีความเร็ว 94.6 Petaflops ใช้ IBM Power9 และ NVIDIA V100 ร่วมกัน
  3. Sunway TaihuLight โดย China’s National Research Center of Parallel Computer Engineering & Technology (NRCPC) มีความเร็ว 93.0 Petaflops ใช้ SW26010 Processor Core จำนวนมากกว่า 10 ล้าน Core
  4. Tianhe-2A (Milky Way-2A) โดย China’s National University of Defense Technology (NUDT) มีความเร็ว 61.4 Petaflops ใช้ Intel Xeon และ Matrix-2000 ร่วมกัน
  5. Frontera ระบบใหม่รายเดียวใน Top 10 ครั้งนี้ โดย Dell มีความเร็ว 23.5 Petaflops ใช้ Intel Xeon Platinum 8280 บน Dell C6420
  6. Piz Daint โดย Cray (ปัจจุบัน HPE เข้าซื้อกิจการแล้ว) มีความเร็ว 21.2 Petaflops ใช้ Intel Xeon และ NVIDIA P100 ร่วมกันบน Cray XC50 ถือเป็นระบบที่เร็วที่สุดในยุโรปเวลานี้
  7. Trinity โดย Cray (ปัจจุบัน HPE เข้าซื้อกิจการแล้ว) มีความเร็ว 20.2 Petaflops ใช้ Intel Xeon และ Intel Xeon Phi ร่วมกันบน Cray XC40
  8. AI Bridging Cloud Infrastructure (ABCI) โดย Fujitsu มีความเร็ว 19.9 Petaflops ใช้ Intel Xeon Gold และ NVIDIA Tesla V100 ร่วมกัน
  9. SuperMUC-NG โดย Lenovo มีความเร็ว 19.5 Petaflops ใช้ Intel Xeon Platinum เชื่อมต่อด้วย Intel Omni-Path
  10. Lassen โดย IBM มีความเร็ว 18.2 Petaflops ใช้ IBM Power9 และ NVIDIA V100 ร่วมกัน

หากนับถึง 500 อันดับแรก จีนจะเป็นประเทศที่มี Supercomputer มากที่สุดด้วยการติดอันดับมากถึง 219 ระบบ ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาที่ 116 ระบบ, ญี่ปุ่น 29 ระบบ, ฝรั่งเศส 19 ระบบ, สหราชอาณาจักรอังกฤษ 118 ระบบ และเยอรมนี 14 ระบบ

หากนับที่ประสิทธิภาพของ 500 อันดับแรกรวมกัน สหรัฐอเมริกาจะเป็นอันดับหนึ่งที่สัดส่วน 38.4% (Summit และ Sierra ที่ครองสองอันดับแรกมีส่วนแบ่งรวมกัน 15.6%) ตามมาด้วยจีนที่ 29.9%

ในมุมของผู้ผลิต Lenovo นั้นเป็นอันดับหนึ่งที่ 173 ระบบ ตามมาด้วย Inspur 71 ระบบ, Sugon 63 ระบบ, HPE 40 ระบบ, Cray (ก่อนโดน HPE เข้าซื้อกิจการ) 39 ระบบ, Bull 21 ระบบ, Fujitsu 13 ระบบ, IBM 12 ระบบ

ทางด้านหน่วยประมวลผล Intel นั้นมีสัดส่วนการใช้งานมากถึง 95.6% ใน 500 อันดับแรก ตามมาด้วย IBM Power 7 ระบบ, AMD 3 ระบบ และ ARM 1 ระบบ ส่วนระบบที่มีการใช้งาน Accelerator หรือ Coprocesor นั้นมีจำนวน 133 ระบบ เป็น NVIDIA ทั้งสิ้น 125 ระบบ

สำหรับการเชื่อมต่อ Ethernet ยังคงได้รับความนิยมสูงสุดที่ 54.2% ใน 500 อันดับแรก ตามมาด้วย InfiniBand 25% และระบบ Proprietary 10.8% และ Intel Omni-Path 9.8% แต่หากนับเฉพาะ 50 อันดับแรก Proprietary จะมีส่วนแบ่งสูงสุดที่ 40% ตามมาด้วย InfiniBand 38%, Intel Omni-Path 10% และ Ethernet 2%

สำหรับรายชื่อแบบเต็มๆ สามารถตรวจสอบได้ที่ https://www.top500.org/lists/2019/06/ ครับ

ที่มา: https://www.top500.org/news/top500-becomes-a-petaflop-club-for-supercomputers/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

5 เทรนด์เทคโนโลยีธุรกิจห้ามพลาดแห่งปี 2023-2025

เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และเป็นตัวกำหนดความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการประสบการณ์ใหม่ๆ ในการดำเนินชีวิต, ความรวดเร็วในการบริการ, ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน และการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ธุรกิจต้องมีการปรับตัวและอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งในบทความนี้ ทีมงานขอพาผู้อ่านไปพบกับ 5 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 – …

รู้จัก HPE Zerto: โซลูชันสำรองข้อมูลยุค Hybrid Multi-Cloud ที่รองรับ RPO ได้ในหลักวินาที และ RTO ในเวลาเพียงไม่กี่นาที

การสำรองและกู้คืนข้อมูลนั้นได้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากแนวโน้มของการทำ Digital Transformation ที่เติบโตอย่างรวดเร็วจนทำให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจในแต่ละวันไปแล้ว ในขณะที่ภัยคุกคามใหม่ๆ ในปัจจุบันอย่างเช่น Ransomware นั้นก็มุ่งไปที่การทำลายข้อมูล หรือการขโมยข้อมูลของธุรกิจด้วยการเจาะโจมตีระบบอย่างซับซ้อนมากขึ้นในทุกๆ วัน